จังหวัดน่าน ร่วมกับสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2562 เวลา 09.30 น. ที่โรงแรมน้ำทองจังหวัดน่าน นายสัมฤทธิ์ สวามิภักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดเวทีเปลี่ยนเรียนรู้ เงิน เงิน เงิน การจัดการการเงินและการลงทุนแบบชาวบ้าน โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวทางพระราชดำริ ให้การต้อนรับ ตามที่สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ร่วมกับจังหวัดน่าน ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบบูรณาการแก้ไขปัญหา และพัฒนาพื้นที่จังหวัดน่านตามพระราชดำริ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ในพื้นที่ต้นแบบ ทั้ง 3 อำเภอ คือ อำเภอวังท่าวังผา อำเภอสองแคว และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ รวม 20 หมู่บ้าน มีวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎร โดยใช้ระบบกระบวนการเข้าถึง พัฒนาประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางทฤษฎีใหม่ ในการพัฒนาให้ชุมชนมีความอยู่รอดระดับครัวเรือน ส่งเสริมการรวมกลุ่มพึ่งพาตนเองในระดับชุมชน และเชื่อมกับตลาดและแหล่งทุนภายนอก
ในการนี้ สถาบันฯ จึงจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่เกษตรกรในพื้นที่ต้นแบบและพื้นที่ขยายผลโครงการ ในส่วนของจังหวัดน่าน ซึ่งจากการศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญเรื่องหนี้สินลดน้อยลง เพราะมีการกระตุ้นการซื้อแบบผ่อนส่ง และไม่มีดอกเบี้ย นอกจากนี้ยังมีการซื้อของทางอินเทอร์เน็ตกันตลอดเวลา ทำให้ง่ายต่อการเป็นหนี้สินเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบการเป็นหนี้ครัวเรือนของไทยใกล้จุดอันตราย สำหรับพื้นที่จังหวัดน่าน สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในปี 2561 มี จำนวน 201,99.1 บาท ต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 มีจำนวน 188,161 บาท ต่อครัวเรือน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.35 ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน จากเดิม ปี 2558 จำนวน 17,598 บาทต่อครัวเรือน เป็น 19,591 บาทต่อครัวเรือน ในปี 2561 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.36 ส่วนรายได้ค่าเฉลี่ยต่อครัวเรือนไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แม้สถานการณ์ในภาพรวมของจังหวัดน่าน ยังไม่รุนแรงมากนัก แต่ก็มีแนวโน้มสูงเพิ่มขึ้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น