แพร่ ส่งความรู้ให้เด็กและเยาวชน เรียนรู้และฝึกอาชีพสร้างงานรายได้ให้กับตนเอง

เวลา 10.00 น. วันที่ 15 มกราคม 2563 ที่โรงแรมแพร่นครา ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ นายวรญาณ บุญณราช รอง ผวจ.แพร่ ได้เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ เตรียมความพร้อมก่อนการศึกษาต่อ และการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกทักษะอาชีพและทักษะชีวิต และพิธีส่งมอบเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาจังหวัดแพร่ โดยมี ดร.ศุภกฤต กันต์ธีราทร ผู้รับผิดชอบโครงการฯ วิทยาลัยชุมชนแพร่ กล่าวรายงานว่า
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มอบหมายให้วิทยาลัยชุมชนแพร่ จัดทำโครงการจัดการศึกษาเชิง เพื่อที่ความเสมอภาคทางการศึกษาจังหวัดแพร่ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อสร้างหรือพัฒนากลไกสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาระดับจังหวัด 2. เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล การวางแผนลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รวมถึงระบบปฏิบัติการดูแลเด็กปฐมวัยในครอบครัวยากจน หรือด้อยโอกาส และเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา และพัฒนาระบบตัวอย่างในการสร้างโอกาสทางการศึกษา

โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เป็นเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาจังหวัดแพร่ พื้นที่ดำเนินการ ได้แก่อำเภอเมืองแพร่ และอำเภอสูงเม่น อายุ 3-21 ปี จำนวน 4,195 คน เพื่อคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย 250 คนหรือมากกว่า ที่ผ่านระบบการติดตามประเมินผลคัดกรองแล้ว พร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการ และเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาตามแผนการช่วยเหลือ เพื่อสร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำทางการทางการศึกษา สร้างโอกาสให้เด็กกล้าที่จะก้าวตามฝัน มีความหวังและเป็นอนาคตของชาติได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ วันที่ 28 มิถุนายน 2562 ถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2563 ผลจากการดำเนินงานสำรวจเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาจังหวัดแพร่ มีเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ ดังนี้

อำเภอเมืองแพร่ เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ที่มีประสงค์จะศึกษาต่อ และฝึกทักษะอาชีพและทักษะชีวิต จำนวน 220 คน จำแนกได้ ดังนี้ ศึกษาต่อ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 33 คน ศึกษาต่อ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 9 คน เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ที่มีความประสงค์จะฝึกทักษะอาชีพและทักษะชีวิต จำนวน 208 คน อำเภอสูงเม่น เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ที่มีประสงค์จะศึกษาต่อ และฝึกทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต จำนวน 30 คน จำแนกได้ ดังนี้

ศึกษาต่อ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 2 คน เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ที่มีความประสงค์จะฝึกทักษะอาชีพและทักษะชีวิต จำนวน 28 คน นายวรญาณ บุญณราช รอง ผวจ.แพร่ กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสและความเสมอภาค ในด้านการเข้าถึงคุณภาพของการจัดการศึกษา เนื่องจากสภาวะความยากจน ปัญหาด้านสังคม เศรษฐกิจ และครอบครัว ทำให้นักเรียนบางส่วนต้องออกจากระบบการศึกษา ซึ่งพบว่ายังมีเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษาเฉลี่ยถึงร้อยละ 20

จากสถิติการเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาที่สูงถึงร้อยละ 88.3 ลดลงในระดับมัธยมศึกษาเหลือร้อยละ 68.2 ถึงแม้จะมีนโยบายเรียนฟรี แต่สภาวะความยากจน ปัญหาด้านสังคม ครอบครัวและจากเศรษฐกิจ ทำให้นักเรียนบางส่วนต้องออกจากระบบการศึกษา ปัญหาเด็กที่ออกกลางคันหรือไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา ทำให้ขาดโอกาสการพัฒนาทักษะการทำงานที่เหมาะสม สร้างผลกระทบต่อประเทศในด้านการพัฒนา เนื่องจากเกิดการสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าจากคนกลุ่มนี้ จึงทำให้เห็นความเป็นพลวัต และเชื่อมโยงของปัญหาที่มีผลต่อกันระหว่างปัญหา ด้านการศึกษากับการความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศ จากเด็กด้อยโอกาสและไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา มีผลต่อศักยภาพด้านแรงงานและการมีงานทำของประเทศกองทุน เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติกองทุน เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู และในปี 2562 กองทุน เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้ดำเนินโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้จังหวัดมีขีดความสามารถที่จะดำเนินมาตรการ จัดการศึกษาหรือสร้างความเสมอภาค ทางการศึกษาได้เองในระยะยาว ซึ่งจังหวัดแพร่ เป็นหนึ่งใน 20 จังหวัด ที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ขอขอบคุณองค์กรภาคีความร่วมมือทุกภาคส่วน ที่ให้ความร่วมมือในการจัดทำโครงการ จัดการศึกษาเชิงพื้นที่ เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจังหวัดแพร่ ในครั้งนี้ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างหรือพัฒนากลไกล สร้างความเสมอภาคทางการศึกษาระดับจังหวัด พัฒนาระบบฐานข้อมูล เพื่อการวางแผนลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รวมถึงระบบปฏิบัติการดูแลเด็กปฐมวัยในครอบครัวยากจน หรือด้อยโอกาสและเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา

ร่วมแสดงความคิดเห็น