พบวิธีย่อยสลายพลาสติก ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้เวลาแค่ 6 วัน โดย นักวิทยาศาสตร์สิงคโปร

นักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์พบวิธีย่อยสลายพลาสติก
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้เวลาแค่ 6 วัน

ทุกคนทราบดีว่าการย่อยสลายพลาสติกต้องใช้เวลานานมาก ประมาณ 500 ปี แถมพลาสติกส่วนใหญ่ไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เนื่องจากมีพันธะคาร์บอน ซึ่งต้องใช้อุณหภูมิสูงมากในการย่อยสลายพันธะคาร์บอนนั้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พลาสติก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พลาสติก

แต่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Soo Han Sen และทีมนักเคมีจาก School of Physical and Mathematical Sciences จาก Nanyang Technological University, Singapore (NTU) ได้เขียนรายงานในวารสาร “Advanced Science” ว่า ได้ทำการค้นคว้าการเร่งปฏิกิริยาในตัวทำละลาย จนในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ เปลี่ยนพลาสติกให้กลายเป็นสารเคมีที่นำไปสร้างประโยชน์ได้ด้วยแสงอาทิตย์ ภายในระยะเวลา 6 วัน จากเดิมที่ต้องใช้เวลานานนับร้อยปีเพื่อย่อยสลายตัวเอง ซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงมาก

Webbanner SPMS Photocatalyst.jpg
ภาพจาก : https://media.ntu.edu.sg/NewsReleases/Pages/newsdetail.aspx?news=99a1dc09-8853-4c14-a026-fb79901faaed

วิธีนั้นก็คือการอาศัยพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์เป็นตัวทำปฏิกิริยาในขั้นตอนการย่อยสลาย ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาวาเนเดียม (Vanadium) ที่ไม่เป็นพิษ เปลี่ยนพลาสติกให้กลายเป็นกรดฟอร์มิก (Fomic Acid) ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วาเนเดียม คลิกที่นี้

ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้คือ “วาเนเดียม” ซึ่งผลิตจากกลุ่มสารอินทรีย์จากนั้นใช้พลังงานแสงในการขับเคลื่อนปฏิกิริยาเคมีซึ่งรู้จักกันในชื่อ “โฟโตแคทาลิส” นั่นเอง โดยโฟโตแคทาลิสมีข้อดีคือต้นทุนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

โดยพลาสติกที่สามารถย่อยในกระบวนการนี้ได้ก็คือพลาสติก Polyethylene (PE) ที่มีลักษณะโปร่งใส และเมื่อมันถูกเปลี่ยนเป็นกรดฟอร์มิกแล้ว เราสามารถนำพวกมันไปใช้เป็นสารกันบูด สารยับยั้งแบคทีเรียที่มักพบได้ในอาหารและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั่วไป และยังสามารถนำไปใช้ในการผลิตพลังงานในโรงงานไฟฟ้าและรถยนต์พลังงานไฮโดรเจน เช่น รถบัสโดยสาร และรถไฟ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ซูฮันเซนกล่าวว่า “นี่ถือเป็นครั้งแรกที่มีการใช้เคมีในการย่อยสลายอนุภาคของสารอนินทรีย์ที่เป็นพลาสติกประเภท PE ได้อย่างหมดจด โดยใช้แค่แสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา”

ซึ่งวิธีนี้จะปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ดีกว่าการเผาที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่เป็นอันตรายในชั้นบรรยากาศโลก รวมทั้งการฝังที่ทำให้ดินเป็นพิษ ปนเปื้อนไปในน้ำและลงสู่ทะเล

ศาสตราจารย์ซูฮันเซนยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ทางทีมวิจัยกำลังค้นหาวิธีการสร้างตัวเร่งปฏิกิริยาที่มั่นคงและเสถียรมากขึ้นเพื่อการนำมาใช้งานได้ง่ายและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานจะมีการนำผลงานวิจัยมาใช้งานจริงในการกำจัดขยะพลาสติกเพื่อให้สามารถย่อยพลาสติกได้ในเวลาอันรวดเร็ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ อีกทั้งไม่ต้องฝังกลบ-เผาให้เป็นมลพิษอีกต่อไป

สามารถ ศึกษาข้อมูลรายละเอียกอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่
– https://media.ntu.edu.sg/NewsReleases/Pages/newsdetail.aspx?news=99a1dc09-8853-4c14-a026-fb79901faaed
– Facebook : igreen
– Facebook : Environman

ร่วมแสดงความคิดเห็น