เรียงร้อยงานศิลปะหัตถกรรมจาก 7 ชนเผ่า ลานส้มสุก อุทยานหลวงราชพฤกษ์

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2563 โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์หัตถกรรมของชนเผ่าบนพื้นที่สูง ร่วมกับ โครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนบนพื้นที่สูง จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่ภูมิปัญญาด้านงานหัตถกรรมแบบดั้งเดิมของชนเผ่า เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ภูมิปัญญาในด้านงานหัตถกรรมแบบดั้งเดิมของชนเผา สร้างจิตสำนึกให้แก่เยาวชน ประชาชน และนักท่องเที่ยวตระหนักองค์ความรู้ในงานศิลปะหัตถกรรมแห่งภูมิปัญญาจากบรรพชน

กลุ่มชาติพันธุ์ 7 ชนเผ่า อาข่า(Akha) , ดาราอั้ง(Dara-Ang), ลาหู่(Lahu), ลีซู(Lisu), ปกาเกญอล(Karen), เมียน(Mien) และม้ง(Hmong) ภายในงานมีกิจกรรมการสาธิตงานหัตถกรรมในพื้นที่โครงการหลวง 7 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่ง,ห้วยลึก,ห้วยน้ำขุ่น,พระบาทห้วยต้ม,แม่ปูนหลวง,ขุนแปะ และ ปังค่า โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง 3 แห่ง ได้แก่ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางแดใน,ปางมะโอ และ ถ้ำเวียงแก
เวลา 09.00 น. พิธีกรดำเนินรายการ โดย นางสาวชลชิชา แฮคำลือ(พิม) ชมกิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรม ของเยาวชนจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่ง การแสดงจากกลุ่มแม่บ้านศูนย์พัฒนาห้วยน้ำขุ่น 4 ชุด 1)การแสดงจากชนเผ่าอาข่า ชื่อ “บอชองตุ๊” เป็นการแสดงต้อนรับแขกผู้มาเยือน 2)การชนเผ่าลาหู่ ชื่อ “ปวอยเตเว” เป็นการแสดงที่ใช้ในเทศการกินวอ(ปีใหม่ลาหู่)ที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตของชนเผ่าลาหู่ 3)การแสดงของเยาวชน จากชนเผ่าลาหู่ เป็นการแสดงประกอบเพลง “สาวดอยสอยดาว” “เทพธิดาดอย” และ “พระราชาในนิทาน” บรรยากาศภายในงานนักท่องเที่ยวให้ความสนใจในผลงานหัตถกรรมชนเผ่า ร่วมเต้นรำในการระเล่นของชนเผ่า ซึ่งงานได้จัดเพียงวันเดียว พลาดปีนี้…ต้องรอใหม่ปีหน้า ณ ลานส้มสุก อุทยานหลวงราชพฤกษ์

ร่วมแสดงความคิดเห็น