กรมอุตุฯ แจ้งคาดการณ์ปริมาณฝนช่วงครึ่งปีแรก 63 มีปริมาณน้อย โอกาสมีพายุเข้าไทยน้อยมาก

ลักษณะอากาศของประเทศไทยในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2563 ระหว่างเดือนมกราคม ถึงมิถุนายน 2563 คาดว่าปริมาณฝนจะยังคงมีน้อยต่อเนื่องจากปี 2562 ซึ่งมีปริมาณฝนรวมตลอดทั้งปีของประเทศไทย น้อยเป็นอันดับ 2 จากที่เคยตรวจวัดมา โดยวัดได้ 1344.3 มิลลิเมตร สําหรับสถิติฝนน้อยที่สุดของประเทศไทย คือ ปี 2522 มีปริมาณฝน 1332.3 มม. ซึ่งส่วนใหญ่แล้วปริมาณฝนรวมเฉลี่ยตลอดทั้งปีของประเทศไทย (ค่าเฉลี่ยคาบ 30 ปี พ.ศ. 2524-2553) คือ 1587.7 มิลลิเมตร โดยในปี 2562 มีพื้นที่ฝนแล้งส่วนใหญ่ปรากฏอยู่ บริเวณประเทศไทยตอนบนและตอนบนของภาคใต้ โดยมีฝนแล้งจัดในบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี อ่างทอง นครราชสีมา บุรีรัมย์ สระแก้ว อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย พะเยา และเชียงราย

สําหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนน้อยโดยมีปริมาณฝน รวมประมาณ 400-600 มิลลิเมตรเท่านั้น และโอกาสที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงครึ่ง แรกของปีมีน้อยมาก อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนมีนาคมถึงต้นพฤษภาคม ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูร้อน มักจะเกิดพายุฤดู ร้อนในหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงรวมทั้งอาจมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ซึ่งสภาวะดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนผลผลิตทางการเกษตรได้ ส่วนปริมาณฝนที่ตกนั้น ยังคงมีไม่เพียงพอกับความต้องการในหลายพื้นที่ ทั้งด้านอุปโภค บริโภค การรักษาระบบ นิเวศน์และด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ดังนั้นประชาชนจึงควรใช้ น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด และเกษตรกรควรเตรียมพร้อมป้องกันความเสียหายจากการขาด แคลนน้ำไว้ล่วงหน้าด้วย

ส่วนภาคใต้แม้ว่าในครึ่งแรกของปี 2563 จะมีฝนตกเป็นระยะ ๆ โดยฝั่งตะวันออกของภาคจะมี ปริมาณฝนรวม 450-550 มิลลิเมตร และมีโอกาสฝนแล้งในบริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ส่วนทางฝั่งตะวันตกของภาคซึ่งเข้าสู่ช่วงฤดูฝนก่อนภาคอื่น ๆ จะมีปริมาณฝนรวม 900-1000 มิลลิเมตร

ท่านสามารถติดตามรายละเอียดการคาดหมายลักษณะอากาศของประเทศไทยรายฤดู ราย 3 เดือน รายเดือน และติดตามสถานการณ์ประจําวัน ได้จากเว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา www.tmd.go.th แอปพลิเคชัน Thai weather และสามารถสอบถามข่าวพยากรณ์อากาศจากนักอุตุนิยมวิทยาได้โดยตรงที่สายด่วน 1182 ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ร่วมแสดงความคิดเห็น