มทร.ล้านนา เริ่มกระบวนการสรรหาอธิการบดีแล้ว หลังจากปรับเปลี่ยนผู้บริหารเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งภายใน

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 63 ผศ.ดร.เปรมศักดิ์ อาษากิจ ผู้สมัครเพื่อสรรหาเป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เดินทางไปกราบเพื่อขอพรจากครูบาเจ้าศรีวิชัย และพระภูมิเทพนครราช ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่บุคคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ให้การเคารพมาช้านาน ต่อมากระทั่งเวลา 10.59 น. ซึ่งได้ฤกษ์ที่กำหนดไว้ จึงเดินเข้าไปสมัครเพื่อสรรหาเป็น อธิการบดี ณ ห้องสำนักอธิการบดี มหาวิทยาลัยฯ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยมีเจ้าหน้าที่มาตรวจเอาสารครบทุกประการ ซึ่งเป็นคนสมัครเป็นคนที่ 4 โดยมีพรรพวกคณาจารย์ให้กำลังใจจำนวนมาก

สำหรับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชการมงคลล้านนา มีเขตพื้นที่รับบริหารการศึกษาจำนวน 6 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดน่าน จังหวัดตาก และจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีบุคลากรและพนักงานราชการ จำนวน 2,000 คน มีจำนวนนักศึกษา จำนวนกว่า 20,000 คนเศษ โดยแบ่งออกเป็น 4 คณะ ประกอบด้วย คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ หลังจากที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนามีปัญหาในการบริหารจัดการจนต้องใช้ ม.44 เมื่อปี 2561 สมัยรัฐบาล (คสช.) ได้ปรับเปลี่ยนผู้บริหารเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งภายใน หลังจากเข้ามาบริหารและดำเนินการมายาวนานเกือบ 2 ปี กระทั่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2563 มหาวิทยาลัยฯ ได้ประกาศเพื่อให้มีการสรรหาอธิการบดีคนใหม่ โดยส่วนใหญ่ ผู้ที่เข้ามาสมัคร เพื่อรับการสรรหาอธิการบดีที่ผ่านมานั้น เป็นกลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัยในระดับต่าง ๆ เข้ามาวนเวียนสมัครกันเป็นเรื่องปกติ แต่ในการสมัครเพื่อสรรหาอธิการบดีในครั้งนี้ กลับมีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจสำคัญเกิดขึ้น ซึ่งมีผู้มาสมัครเข้าร่วมการสรรหาอธิการบดีที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมาก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นความหลากหลายของการเข้ามามีส่วนร่วมที่ต่างออกไปอย่างมาก เป็นนิมิตหมายที่ดีของการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย

ผศ.ดร.เปรมศักดิ์ อาษากิจ ผู้สมัครเพื่อสรรหาอธิการบดีในครั้งนี้ เปิดเผยว่า ถึงแม้จะไม่ได้เป็นผู้บริหาร หรือมีประสบการณ์ในการบริหารระดับสูงในมหาวิทยาลัยมาก่อน แต่ก็เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและศักยภาพ เนื่องจากเป็นนักวิชาการทางด้านการบริหารโดยตรง และยังมีดีกรีที่ปรึกษาองค์กรสำคัญระดับประเทศหลายแห่ง ทั้งยังมีเครือข่ายความร่วมมือในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศและระดับนานาชาติที่จะสามารถเข้ามาให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ยังมีแรงผลักดันสำคัญให้เข้าร่วมในการสมัคร คือ หลังจากที่มหาวิทยาลัยเกิดปัญหา กระผม ก็ได้เริ่มออกพบปะพูดคุย ระดมความคิด กับกลุ่มพี่น้องอาจารย์ เจ้าหน้าที่ ตลอดจนนักศึกษาในทุกเขตพื้นที่ ทุกคณะ ที่มีความคุ้นเคยกันและมีอุดมการณ์เดียวกัน เพื่อหาแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหา และพัฒนามหาวิทยาลัย โดยใช้เวลาถึงปัจจุบันกว่า 20 เดือน จึงได้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นปัญหาของมหาวิทยาลัย ประกอบกับได้รับการร้องขอให้ร่วมลงสมัครสรรหาอธิการบดีในครั้งนี้ด้วย

เนื่องจาก ผมซึ่งเป็นคนกลางที่ห่างไกลจากปัญหาเดิม ๆ มีความรู้ความและเข้าใจในสภาพปัญหา และมีศักยภาพที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับมหาวิทยาลัยฯ ได้ ได้การยอมรับนับถือจากมวลชนบุคลากร และนักศึกษา ชาวราชมงคลล้านนาส่วนใหญ่ จึงมีความเต็มใจที่จะรับอาสาเข้ามาเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย ให้สามารถก้าวผ่านอุปสรรค และผลักดันให้มหาวิทยาลัยได้ยืนอยู่อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ของการบริหารมหาวิทยาลัย หรือสถาบันระดับอุดมศึกษาที่กำลังมีปัญหาอยู่ในปัจจุบัน คงรอลุ้นกันต่อว่าจะมีใครที่มีความน่าสนใจมาร่วมสมัครเพื่อรับการสรรหาอธิการบดี มทร. ล้านนาเพิ่มเติมอีกหรือไม่อย่างไรต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น