USAID และ NASA จับมือนักคิดแก้ฝุ่นควัน FOR IMMEDIATE RELEASE

องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASA) จับมือนักคิดแก้ฝุ่นควันFOR IMMEDIATE RELEASE

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563  องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) องค์การนาซ่า (NASA) โครงการเซอร์เวียร์แม่โขง (SERVIR-Mekong)  โครงการ Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) และกรมควบคุมมลพิษแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดงาน “Smogathon Thailand 2020” เพื่อต่อสู้กับปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ในวันที่ 8 ถึง 10 กุมภาพันธ์ ณ เชียงใหม่แอนด์โค (Chiangmai&Co) จังหวัดเชียงใหม่

กิจกรรม “Hackathon” (เกิดจากคำว่า “Hack” และ “Marathon”) ได้เชิญชวนเหล่าคนวัยทำงานรุ่นใหม่ นักเรียน นักศึกษา และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาชาวิชาชีพ มาร่วมกันคิดหาหนทางแก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นในจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีและข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่พัฒนาขึ้นด้วยความร่วมมือกันของหน่วยงานต่าง ๆ อันได้แก่ SERVIR-Mekong, องค์การ NASA, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) และกรมควบคุมมลพิษ ในการสังเกตการณ์ ติดตามตรวจสอบ และพยากรณ์คุณภาพอากาศ

“หน่วยงานจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาต่างมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้จัดกิจกรรมดีๆ นี้ขึ้นด้วยความร่วมมือกับทางรัฐบาลไทย” กล่าวโดยนายฌอน โอนีลล์ กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ “กิจกรรมนี้ยังเปิดโอกาสให้เหล่าผู้เข้าร่วมได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง Geospatial Data หรือข้อมูลเชิงพื้นที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาความแม่นยำในการสังเกตการณ์และตรวจเฝ้าระวังคุณภาพของอากาศ และผมเองก็อยากจะแสดงความยินดีเป็นพิเศษ สำหรับทีมเพื่อช่วยกันหาหนทางแก้ไขปัญหา”

หลังจากการเก็บตัวและร่วมใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเข้มข้นมาตลอดระยะเวลาสามวัน เข้มข้น 48 ชั่วโมง กิจกรรม Hackathon ก็ได้ทีมผู้ชนะ นั่นก็คือทีม “No grant SMOG” โดยมีสมาชิกในทีมทั้งหมด 6 คน รวมตัวกันจาก 3 สถาบันดัง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยพายัพ. สมาชิกทั้ง 6 คน ประกอบด้วย

  1. ปิยะพงษ์ ตานะกุล
  2. เผด็จ สุขพัฒนาเจริญ
  3. นส. จุรีรัตน์ สมบูรณ์
  4. นายเปนไท อ่องไพบูลย์
  5. นายวรเดช ชัยยะ
  6. นายโชติธเนศน์ สุนทรนิธินันท์  

โดยนำเสนอผลงาน การออกแบบสื่อให้กลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถม โดยการนำเสนอสื่อในรูปแบบของนิทาน โดยแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับฝุ่นควัน การเกิดฝุ่นควัน การป้องกันตัวจากฝุ่นควัน เพื่อปลุกจิตสำนึก โดยผ่าน Active learning ผ่าน Board game เพื่อได้สร้างความรู้ความเข้าใจ และใส่ใจปัญหาฝุ่นควันมากขึ้น เพราะเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มที่จะปลุกจิตสำนึกเกี่ยวกับปัญหาฝุ่นควันได้ง่าย เมื่อนักเรียนเข้าใจ นักเรียนจะเป็นตัวกลางในการเผยแพร่ข้อมูลช่าวสารสู่ครอบครัว และยกระดับเป็นหมู่บ้าน เป็นตำบล อำเภอ จึงคิดค้นการทำหนังสือการ์ตูน และทำ Board game ขึ้นมา

ทีมผู้ชนะ จะได้มีโอกาสพัฒนา Prototype หรือผลงานต้นแบบที่นำเสนอต่อคณะกรรมการจนสำเร็จลุล่วงต่อไป ด้วยการให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดจาก SERVIR-Mekong และ NASA ที่ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Prepaedness Center – ADPC) เพื่ประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ในการพัฒนาความแม่นยำของการตรวจเฝ้าระวังคุณภาพของอากาศ

“การรับมือกับมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นอยู่นี้อาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ภาคส่วน” นางจูนิเปอร์ นีลล์ รองผู้อำนวยการแห่งองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) สำนักงานผู้แทนภูมิภาคเอเชีย “เราหวังว่ากิจกรรมนี้จะเป็นกิจกรรมต้นแบบที่จุดประกายความร่วมมือทางนวัตกรรมใหม่ ๆ ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และเยาวชนชาวไทยจากทุก ๆ ภูมิภาค”

งาน Smogathon ในครั้งนี้ถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จจากงานครั้งแรก ซึ่งจัดขึ้นด้วยความร่วมมือกันของสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาและโครงการ YSEALI เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2562 โดยงาน Smogathon ในครั้งแรกนั้นก็เป็นแหล่งกำเนิดของแนวคิดอันก้าวล้ำมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เตาเผาแบบไร้ควัน หรือการจัดทำเว็บไซต์สำหรับแจ้งเตือนแก่ประชาชนเมื่อเกิดการเผาไหม้ในที่โล่ง

ร่วมแสดงความคิดเห็น