จ.แพร่รณรงค์ ไถกลบและผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อป้องกันหมอกควันในพื้นที่การเกษตร

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ แปลงนา บ้านถิ่น หมู่ 2 บวกเก้าเสี้ยว ตําบลบ้านถิ่น อําเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ นายเสถียร ธรรมยืน ผอ.สถานีพัฒนาที่ดินจ.แพร่ นายนภัสกร อภัยกาวี นายกเทศมนตรีตำบลบ้านถิ่น นายภาสกร หม้อกรอง กำนันตำบลบ้านถิ่น หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนตำบลบ้านถิ่น ในการต้อนรับ นายวรญาณ บุญณราช รองผวจ.แพร่ เป็นประธานในพิธีเปิดงานโครงการรณรงค์ไถกลบ และผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อป้องกันหมอกและควันไฟ ในพื้นที่เกษตร ภาคเหนือ ประจําปีงบประมาณ 2563 ในครั้งนี้

เมื่อนายวรญาณ บุญณราช รองผวจ.แพร่ เดินทางถึง นายภาสกร หม้อกรอง กำนันตำบลบ้านถิ่น ได้กล่าวต้อนรับ พร้อมกับแนะนำตำบลบ้านถิ่น ซึ่งประกอบไปด้วย ชาวไตลื้อ 8 หมู่บ้าน ไทยยวน 3 หมู่บ้าน และได้นำเรียนความต้องการจองชาวบ้านในการแก้ไขปัญญหาภัยแล้ง ตำบลบ้านถิ่น มีอ่างเก็บน้ำ จำนวน 3 อ่าง แต่ก็ยังไม่พอใช้น้ำขาดแคลน ต้องการบ่อบาดาล บ่อน้ำตื้น จึงอยากให้ทางราชการได้ช่วยเหลือ จากนั้นมีการแสดงของลูกหลานไตลื้อ ในชุดวิถีชีวิตไตลื้อบ้านถิ่น

จากนั้นนายเสถียร ธรรมยืน ผอ.สถานีพัฒนาที่ดิน ได้กล่าวรายงานว่ว่า จากปัญหาหมอกควันในหลายพื้นที่ของประเทศ ซึ่งสาเหตุสําคัญ ประการหนึ่งคือการเผาในพื้นที่การเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่สําหรับการ เพาะปลูก รวมทั้งการเผาเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร ก่อให้เกิด มลพิษทางอากาศส่งผลเสียต่อสุขภาพ เกิดอุบัติเหตุ และทําลายสิ่งมีชีวิต และจุลินทรีย์ในดิน สําหรับในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรในไร่นา เป็นการทําลายอินทรียวัตถุและธาตุอาหารที่ จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ทําลายจุลินทรีย์ในดินที่ไปช่วยย่อย สลายอินทรียวัตถุและทําให้ความชื้นในดินระเหยไปหมด ทําให้ความอุดม สมบูรณ์ ของดินโดยรวมลดลง อีกทั้งการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตร ยัง ก่อให้เกิดหมอกควัน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทํา ให้เกิดภาวะโลกร้อน

สถานีพัฒนาที่ดินแพร่เป็นหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งส่งเสริมให้ เกษตรกร ลด ละ เลิก การเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จึงได้มีการ จัดงานโครงการรณรงค์ไถกลบตอซังเพื่อป้องกันหมอกและควันไฟ ใน | พื้นที่เกษตรภาคเหนือ ประจําปีงบประมาณ 2563 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกษตรกร ลด ละ เลิก การเผา และปรับเปลี่ยนวิธีเกษตรกรรมโดยดําเนินการไกลบเศษวัสดุทาง การเกษตรแทน 2) เพื่อส่งเสริมและบริหารจัดการเศษวัสดุทางการเกษตร นํามา ทําปุ๋ยอินทรีย์ 3) เพื่อปรับปรุงบํารุงดินและเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน 4) เพื่อลดการเกิดภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการเผาตอซัง ซึ่งทํา ให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น รวมทั้งลดหมอกควัน ซึ่งเป็นปัญหาสําคัญและ เร่งด่วนของชาติและภาคเหนือตอนบน

ในจังหวัดแพร่ได้รับพื้นที่เป้าหมายโครงการรณรงค์ไถกลบ และ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อป้องกันหมอกและควันไฟ ในพื้นที่เกษตรภาคเหนือ ประจําปีงบประมาณ 2563 พื้นที่เป้าหมายจํานวน 7,800 ไร่ และผลิต ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน) จํานวน400 ตัน การจัดงานในวันนี้เป็นกิจกรรมการสาธิตการไถกลบและผลิตปุ๋ย อินทรีย์ ในพื้นที่ บ้านดิน หมู่ 2 ตําบลบ้านถิ่น อําเภอเมืองแพร่ จังหวัด แพร่ พื้นที่เป้าหมายจํานวน 505 ไร่ และผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 26 ตัน โดย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรณรงค์ไถกลบ เพื่อป้องกันหมอกและควันไฟ ในพื้นที่เกษตรภาคเหนือ ประจําปีงบประมาณ 2563 และส่งเสริมปรับปรุงบํารุงดินด้วยพืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) มีนิทรรศการของหน่วยงานใน ส่วนราชการและภาคเอกชน

ในวันนี้ได้รับเกียรติจาก หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน หมอดินอาสา ซึ่งเป็นเครือข่ายของ กรมพัฒนาที่ดิน และพี่น้องเกษตรกรตําบลบ้านถิ่น มาร่วมงาน จํานวน 200 ราย ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการรณรงค์ในวันนี้คือ ผู้เข้าร่วมงาน ได้รับความรู้ และเล็งเห็นความสําคัญของการไถกลบ และนําไปปฏิบัติ และเผยแพร่อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งจะเป็นการลดปัญหาหมอก ควันและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับทรัพยากรดิน และเศษวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรนํามาผลิตเป็นปุ๋ยหมักเพื่อลดใช้สารเคมีทางการเกษตรด้วย

ทุกวันนี้เกษตรกรไทยในหลายพื้นที่ เมื่อทําการเพาะปลูกและ เก็บเกี่ยวแล้ว มักจะเผาตอซังฟางข้าวในไร่นาทิ้ง เพราะเห็นว่าเป็นวิธี ที่สะดวก รวดเร็วในการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกครั้งต่อไป แต่ในความ เป็นจริงแล้ว การเผาตอซัง ฟางข้าว จะส่งผลทําให้ดินเสื่อม ก่อให้เกิด ปัญหาด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเกิดหมอกควัน ที่เป็นปัญหา ต่อสภาพแวดล้อม ดังนั้น การรณรงค์ปลูกจิตสํานึกให้เกษตรกร งดเผา ตอซัง และส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรไถกลบตอซัง เพื่อเป็น ประโยชน์ต่อสภาวะสิ่งแวดล้อม และพื้นที่ทําการเกษตรของตนเอง นายวรญาณ บุญณราช รองผวจ.แพร่ ประธานในพิธีกล่าวว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายสําคัญต่าง ๆ ให้ส่วนราชการนําไป ดําเนินการขับเคลื่อนให้ถึงพี่น้องเกษตรกร ในส่วนของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ มีโครงการที่สําคัญเร่งด่วน ได้แก่ การลดต้นทุน การผลิตด้านการเกษตร ซึ่งการดําเนินงานจะต้องมีการถ่ายทอด ความรู้การประชาสัมพันธ์ ให้เกษตรกรได้รับทราบอย่างทั่วถึงรวมทั้ง เป็นการบูรณาการงานในหน่วยงานต่าง ๆ

เพื่อเป็นการประหยัดเวลาการเข้าร่วมงาน ของเกษตรกร และ ยังส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพื้นที่เกษตรกร เป็นโอกาสอันดี ที่จะ ส่งเสริม เผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้เกษตรกร และ ผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงปัญหา และเล็งเห็นความสําคัญงดเผาตอซังและ หันมาไถกลบแทน เพราะการไถกลบตอซังเป็นวิธีหนึ่งในการฟื้นฟูและ บํารุงดิน เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและใช้ประโยชน์ที่ดินอย่าง ยั่งยืน ซึ่งถือเป็นการเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดิน ควบคู่ไปกับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จากนั้นประธานได้มอบพันธุ์เมล็ดปอเทือง ดิน ส่งมอบบ่อน้ำ ชมการไถกลบและนิทรรศการและเดินทางกลับ

ร่วมแสดงความคิดเห็น