ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดแพร่ ร่วมกับประมงแพร่ พัฒนาเกษตรกรสู่ Smart Farmer

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน หมู่ 2 หน้าวัดถิ่นนอก ต.บ้านถิ่น อ.เมือง จ.แพร่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดแพร่ ร่วมกับ สำนักงานประมงจังหวัดแพร่ ได้จัดอบรมให้กับเกษตรกรตามโครงการฝึกอบรมพัฒนาเกษตรกรสู่ Smart Farmer ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยเกษตรที่เข้ารับการอบรมในวันนี้ มาจาก ต.น้ำเลา อ.ร้องกวาง ต.เหมืองหม้อ ต.บ้านถิ่น ซึ่งเป็นเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 60 คน โดยมีวิทยากรจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดแพร่ และสำนักงานประมงจังหวัดแพร่

โดยช่วงแรก นางรุจิรา เรืองศรี ประมงอำเภอเมืองแพร่ ให้ความรู้เกี่ยวกับ Smart Farmer หมายถึง บุคคลที่มีความภูมิใจในการเป็นเกษตรกร มีความรอบรู้ในระบบการผลิตด้านการเกษตรแต่ละสาขา มีความสามารถในการวิเคราะห์ เชื่อมโยงและบริหารจัดการการผลิต และการตลาด โดยใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ คำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม

Existing Smart Farmer หมายถึง เกษตรกรที่เป็น Smart Farmer อยู่แล้ว เนื่องจากผลจากการคัดกรองสามารถผ่านคุณสมบัติด้านรายได้ที่ไม่ต่ำกว่า 180,000 บาท/ครัวเรือน/ปี

Developing Smart Farmer หมายถึง เกษตรกรที่ยังไม่เป็น Smart Farmer เนื่องจากผลจากการคัดกรองยังไม่สามารถผ่านคุณสมบัติทั้งด้านรายได้ที่ไม่ต่ำกว่า 180,000 บาท/ครัวเรือน/ปี และผ่านคุณสมบัติพื้นฐานไม่ครบทั้ง 6 ข้อ ซึ่งเป็นเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เพิ่มเติมตามความต้องการของเกษตรกรแต่ละราย

Smart Farmer ต้นแบบ หมายถึง เกษตรกรที่ผ่านการพิจารณาเป็น Existing Smart Farmer แล้ว และผ่านคุณสมบัติของ Smart Farmer ต้นแบบในแต่ละสาขา จำนวน 10 สาขาหลัก ได้แก่ ข้าว ปาล์ม น้ำมัน ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ประมง ปศุสัตว์ เกษตรผสมผสาน Young Smart Farmer และสาขาอื่น ๆ มีความโดดเด่นในการทำการเกษตรในสาขานั้นของแต่ละพื้นที่ และสามารถเป็นต้นแบบและเป็นบทเรียนให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ ได้

Officer หมายถึง บุคลากรของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ปฏิบัติงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นเป้าหมายในการพัฒนาให้เป็น Smart Officer ที่มีความรักเกษตรกรเหมือนญาติ มีความรอบรู้ทางวิชาการและนโยบาย ใช้เทคโนโลยีมาช่วยเหลือเกษตรกร สร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร มุ่งนำเกษตรกรสู่ Green Economy และ Zero waste agriculture มีความภาคภูมิใจในองค์กรและความเป็นข้าราชการ

Smart Officer ต้นแบบ หมายถึง บุคลากรที่ผ่านการประเมินคุณสมบัติเป็น Smart Officer แล้ว และผ่านคุณสมบัติของ Smart Officer ต้นแบบที่กำหนดเพิ่มเติมโดยคณะทำงานระดับกรมและ คณะทำงานระดับจังหวัด ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านการเกษตรในแต่ละสาขา มีประสบการณ์ในการทำงานมีผลงานหรือการปฏิบัติราชการเป็นที่ประจักษ์หรือได้รับการยอมรับในหน่วยงาน และยังได้เชิญเกษตรผู้ประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงปลามาแลกเปลี่ยนความรู้ และจะดำเนินคัดเลือก Smart Farmer ของตำบลถิ่นในเร็ว ๆ นี้

ร่วมแสดงความคิดเห็น