จุดเปลี่ยนค่าเงินบาทพุ่งสูงสุดในเอเชีย คืออะไร ?

จุดเปลี่ยนค่าเงินบาท มีจุดเริ่มต้นจาก สงครามการค้า (Trade war) ระหว่าง สหรัฐฯ และจีน ซึ่งถือว่าเป็นประเทศขนาดใหญ่และตลาดใหญ่ของโลกเลยก็ว่าได้ เรื่องดังกล่าวได้สร้างความวิตกกังวลไปทั่วโลก และทำให้การส่งออกของไทยหดตัวลง และส่งผลให้ค่าเงินบาทปรับแข็งค่าที่สุดในเอเชีย จริงหรือไม่อย่างไร ? แล้วอะไรบ้างที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทพุ่งไปแตะที่ 31.33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าที่สุดในรอบ 3 เดือน
สงครามการค้า (Trade war) ระหว่างสหรัฐ-จีน ที่เริ่มต้นไม่ค่อยสวย และการเจรจาทางการค้าที่ไม่ชัดเจนทำให้ทั่วโลกเริ่มหวั่นวิตก และเริ่มกังวลว่าเศรษฐกิจ และการค้าในตลาดโลกจะแย่ลง ในส่วนประเทศไทยได้รับผลกระทบเต็มแรง ทั้งในเรื่องของการส่งออกที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง 5 เดือน จนค่าเงินบาทแตะอยู่ที่ 31.33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (4 มิ.ย. 2019) ในเวลาแค่วันเดียวเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1.02% จากค่าเงินบาทอยู่ที่ 31.65 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (31 พ.ค. 2019)
ค่าเงินบาท ที่พุ่งขึ้นไปแตะที่ 31.33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าแข็งค่าที่สุดในเอเชีย โดยแข็งค่า 39% เมื่อเทียบกับต้นปี 2019 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ค่าเงินบาทยังแข็งค่าเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ทั่วโลก โดยสงครามการค้า (Trade war) ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่า ศูนย์วิจัยกสิกรได้มีการวิเคราะห์ไว้ว่าเกิดจากปัจจัยดังนี้
สงครามการค้า (Trade war) ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นทำให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์ในสหรัฐ เช่น ขายหุ้น ขายพันธบัตร ขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ถืออยู่แล้วเข้าซื้อ Safe Haven เช่น สกุลเงินต่างประเทศ ทองคำ
โดยราคาทองคำโลก เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. อยู่ที่ 1,325 ดอลลาร์สหรัฐ และพุ่งขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 1,280 ดอลลาร์สหรัฐ ภายใน 3 วัน เรื่องดังกล่าวทำให้ค่าเงินในเอเชียปรับตัวแข็งค่าขึ้น เนื่องจากนักลงทุนต้องซื้อทองผ่านสกุลเงินเอเชีย
สงครามการค้า (Trade war) ทำให้การค้าทั่วโลกชะลอตัวในภาพรวม ส่งผลให้ความต้องการในการใช้น้ำมันของภาคธุรกิจลดลงทั่วโลก ทำให้ราคาน้ำมันขยับอยู่ที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 10% จากสัปดาห์ก่อน (27 พ.ค. 2019) ที่ราคาน้ำมันอยู่ที่ 69-70 ดอลลารสหรัฐต่อบาเรล
เมื่อราคาน้ำมันลดลง ทำให้มูลค่าการนำเข้าน้ำมันของไทยลดลง และอาจจะทำให้ประเทศไทยกลับมาเกินดุลการค้าและส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
หากสงครามการค้า (Trade war) ยังหาข้อยุติความลงไม่ได้ เชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐ (FED) จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงทันที ทำให้ปัจจุบันผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี ร่วงลงแตะระดับ 2.09% ถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 20 เดือน
อย่างไรก็ตามสาเหตุหลักที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่า นั้นมาจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่เป็นสกุลหลักของโลกอ่อนค่าลงอย่างหนัก และ ประเทศไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัด โดยจะสังเกตดัชนีดอลลาร์เทียบสกุลเงินหลัก (Dollar Index) ปรับตัวลงมาที่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ เพราะทั่วโลกกังวลกับทิศทางเศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐที่อาจแย่ลง ทำให้ดัชนี S&P500 เหลือผลตอบแทนเพียง 9.5% ตั้งแต่ต้นปี ถือว่าผลตอบแทนไม่ได้ดีกว่าตลาดหุ้นอื่น ๆ ในโลก
“ในระยะสั้นเชื่อว่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าเร็วเกินไป และมีความผันผวนสูงทำให้ระหว่างวันจะชะลอการแข็งค่าลง แต่ในระยะยาวคาดว่าค่าเงินบาทยังมีปัจจัยกดดันต่อเนื่อง คาดว่าค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าแตะ 32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้น้อยลง” จิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย กล่าว
“จากนี้ต้องจับตาการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐ และท่าทีของ FED ถ้าคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟดเห็นด้วยกับการ “ลดดอกเบี้ย” มากขึ้น ก็เป็นไปได้ที่จะเห็นเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าต่อภายในสัปดาห์นี้ (4-7 มิ.ย.) คาดว่าค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.25 -32.75 บาทต่อดอลลาร์”
อย่างไรก็ตามหาก FED ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาศที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐกลับมาแข็งค่าขึ้น เรื่องดังกล่าว ส่งผลให้นักลงทุนในตลาดปิดรับความเสี่ยงเทขายหุ้นทั่วโลก และเลือกถือสกุลเงินที่เป็น Safe Haven
ทั้งนี้คาดว่าค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 31.20-31.55 ต่อดอลลาร์ เพราะมีนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้น 17,600 ล้านบาท และซื้อสุทธิพันธบัตรไทย 4,600 ล้านบาท
ค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไปแต่ที่ 30.330 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี อยู่ที่ 7% เมื่อเทียบกับค่าเงินอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย
โดยธนาคารแห่งประเทศไทย มองว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจไทยมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีการอ่อนค่าตามการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่หลังจากนั้นค่าเงินบาทก็ได้แข็งค่าขึ้นตามค่าเงินเยนและราคาทองคำซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำ
ทำให้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของธุรกิจ และความสามารถในการชำระหนี้ การปรับลดอัตราจ้างงานล่วงเวลา หากกระทบในวงกว้างอาจส่งผลต่อกำลังซื้อของครัวเรือน ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจมีปัญหา
 ในมุมมองของกสิกรไทย มองว่าแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายการเงินของ ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังล่าช้าเนื่องจาก ช่องว่างของนโยบายการเงิน (Policy Space) ที่มีอย่างจำกัดจะสนับสนุนเงินทุนไหลเข้า ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่า ในขณะที่ความกังวลต่อแนวโน้มการชะลอลงของเศรษฐกิจไทย ที่กำลังหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยรอบด้านที่ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่อง
โดยปัจจัยเรื่องค่าเงินบาทยังเป็นแรงกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจต้องหามาตรการที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้แนะนำให้ผู้ประกอบการของไทยทำประกันความเสี่ยงค่าเงินไว้ด้วย
ล่าสุดค่าเงินบาทอ่อนค่าลง มาอยู่ที่31.73 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนหนึ่งที่ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง นั้นอาจเกิดจากกการที่ ค่าเงินหยวนและสกุลเงินเอเชียอื่น ๆ อ่อนตัวลงสาเหตุจากความกังวลจากผลกระทบของไวรัส COVID-19 โดยทำสถิติอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 8 เดือน
ความกังวลต่อสัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย และสถานะขายสุทธิในหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ สวนทางกับค่าเงินดอลลาร์ฯ ที่ได้รับแรงหนุนในระหว่างสัปดาห์จากมุมมองต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และค่าเงินบาทยังเผชิญแรงกดดันจากแรงขายตามปัจจัย ทางเทคนิคหลังจากที่อ่อนค่าทะลุ 31.50 บาทต่อดอลลาร์ นี่คือมุมมองของธนาคารกสิกรไทย จากปัจจัยการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท
โดย…บ่าวหัวเสือ

ร่วมแสดงความคิดเห็น