ข้าวท้องถิ่น ในพื้นที่โครงการหลวง

ข้าว เป็นพืชที่มีความสำคัญ และถือเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ ในพื้นที่ทั่วทุกภาคและทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ต่างมีพันธุ์ข้าวที่มีความเหมาะสมแก่การปลูกไว้ เพื่อการบริโภคเป็นของตนเอง ด้วยเหตุที่พื้นที่ในความรับผิดชอบของมูลนิธิโครงการหลวง ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่สูง มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย มูลนิธิโครงการหลวง จึงได้ดำเนินการศึกษาวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) คัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่ดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มาจัดจำหน่ายและเป็นทางเลือกให้แก่ผู้สนใจ ประกอบด้วย
ข้าวกล้องเฮงาะเลอทิญ (HaaoLeTin Brown Rice) เป็นพันธุ์ข้าวเจ้าของชนเผ่าลั้วะหรือละว้า ซึ่งคำว่า “เฮงาะ” ในภาษาละว้าหมายถึง ข้าว ข้าวพันธุ์นี้มีลักษณะเมล็ดที่สั้นและใหญ่ มีความนุ่ม หุงขึ้นหมอ มีสารแกมมาออไรซานอล ช่วยต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินบี 1, วิตามิน บี 6 ช่วยบำรุงประสาท มีคุณสมบัติป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย มีโปรตีน ช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และมีธาตุสังกะสีที่ช่วยระบบการไหลเวียนของเลือดข้าวกล้องไก่ป่า (Hightland Kai-Pa Wild Rice) หรือ บือซอมี เป็นพันธุ์ข้าวของชนเผ่าปกาเกอะญอ ข้าวพันธุ์นี้มีลักษณะเมล็ดยาวเรียวคล้ายข้าวหอมมะลิ แต่มีใยอาหารสูงกว่าถึงเกือบเท่าตัว มีสารแกมมาออไรซานอล ช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีปริมาณธาตุเหล็กใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิ มีโปรตีน ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อีกทั้งยังมีวิตามินบี 6 ช่วยบำรุงประสาทข้าวกล้องเหลือง (Highland Yellow Wild Rice) หรือ บอบือ เป็นข้าวของชนเผ่าปกาเกอะญอและละว้า คำว่า “บือ” ในภาษากะเหรี่ยงหมายถึงข้าว ส่วนละว้า เรียกว่า “ข้าวเหลือง” มีลักษณะเมล็ดเรียวสั้น ข้าวนิ่ม หุงขึ้นหม้อ มีกลิ่นหอม อุดมไปด้วยสารที่มีประโยชน์ อาทิ มีสารแกมมาออไรซานอลต้านอนุมูลอิสระ มีธาตุโพแทสเซียม ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกาย ลดความดันโลหิต มีส่วนช่วยรักษาอาการภูมิแพ้ และมีธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
ข้าวกล้อง เล่าทูหยา (Hightland Lou Yu Ya ฺBrown Rice) ปลูกด้วยภูมิปัญญาของชาวไทใหญ่ โดยการใช้วีถีธรรมชาติ ทำให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพดี ปราศจากสารเคมี สัมผัสได้ถึงความหอมของข้าว เนื้อนุ่มหนึบ อีกทั้งข้าวเล่าทูหยายังเหมาะกับการรับประทานกับเมนูแกงต่าง ๆ

ร่วมแสดงความคิดเห็น