สกสว.ชู 4 ผลงานวิจัยเมือง เร่งต่อยอดพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการภารกิจ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์และกรอบงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผย ว่า สกสว. ร่วมกับสำนักงานประสานงานและสังเคราะห์โครงการบูรณาการด้านการพัฒนาเมือง นำโดย ดร.ปิยะนุช ธูปถมพงศ์ หัวหน้าโครงการ จัดเวทีการนำเสนอผลงานวิจัยที่ได้ทุนสนับสนุนจาก สกสว. ภายใต้แผนงานวิจัย TRF Flagship Research Program (TRP) ปี 2562 เรื่องการจัดทำแผนบูรณาการจังหวัด ออกแบบ และพัฒนาเมือง เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัดของ 4 เมือง ได้แก่ สระบุรี นครนายก พิษณุโลก และแม่ฮ่องสอนทั้งนี้ ได้จัดการประชุมนำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 6 เดือน ไปเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา สำหรับกระบวนการครั้งนี้ จะเกี่ยวข้องกับแผนใหญ่ของการพัฒนาเมือง ซึ่งในมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน พอที่จะมองไปได้ว่าเนื้องานจะขับเคลื่อนไปทางไหน โดยหลักใหญ่ยังอ้างอิงในพื้นที่ที่มีความตั้งใจจะพัฒนาพื้นที่นั้นๆ แต่มี 3 เป้าประสงค์ใหญ่ คือ 1. ภาพสุดท้ายที่อยากเห็นคือกลไกที่แต่ละเมืองดำเนินการนำไปสู่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงเมืองอย่างไร 2. การใช้ความรู้หรือข้อมูลที่แต่ละเมืองมีอยู่ผ่านกลไกต่าง ๆ และ 3. เป็นการพัฒนาบุคลากรที่อยู่ในงานวิจัย“เป้าหมาย คือ ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้อย่างไรบ้าง คีย์ซัคเซสที่เกิดขึ้นจะเห็นได้จากความก้าวหน้าแต่ละแผนงาน มีความต่อเนื่องอย่างไร วันนี้เห็นความก้าวหน้าในหลายแผนงานจึงเป็นโอกาสดีที่ได้มานำเสนอพร้อมรับฟังความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำไปปรับปรุงแผนงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้จริง ซึ่งในงานครั้งต่อไปจะมีการร่วมหารือกับหลายภาคส่วนเพื่อให้ก้าวสู่เป้าหมายได้อย่างตรงตามความต้องการจริง ๆ กรอบงานขอให้เข้าเป้าเท่านั้น ก่อให้เกิดการเรียนรู้จากคนอื่น ๆ ด้วย”
คัด 8 โมเดลออกแบบตลาดแก่งคอย สำหรับโครงการวิจัย “การฟื้นฟูตลาดเก่าแก่งคอยเพื่อการก้าวสู่เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน” ของจังหวัดสระบุรีที่มีนายนพดล ธรรมวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการ ร่วมกับสถาบันบัณฑิตย์พัฒนบริหารศาสตร์และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นั้น พบว่ากิจกรรมที่จัดขึ้นได้รับความสนใจจากเด็กและผู้ใหญ่หลากหลายกลุ่ม พร้อมนำเสนอความเห็นสิ่งที่อยากได้อยากจะเป็นและเห็นถึงการพัฒนาในอนาคตของเมืองแก่งคอย ได้พาคณะเดินทางไปดูงานที่จังหวัดชลบุรี และระยอง จึงเห็นถึงการบริหารจัดการพื้นที่ในหลากหลายมิติโดยเป้าหมายหลักคือการฟื้นฟูตลาดเก่าแก่งคอย สามารถทำได้อย่างไรบ้าง อีกทั้งจะออกแบบพื้นที่ทางสังคมของเมืองได้อย่างไร โดยมีการสอบถามข้อมูลจากภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ พร้อมจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อรวบรวมความคิดรูปแบบ Design Thinking ถึงแนวโน้มความต้องการในอีก 10 ปีว่าจะออกมาเป็นอย่างไรจึงได้มา 8 รูปแบบเบื้องต้น โดยส่งให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ออกแบบดีไซน์ตามความต้องการของประชาชน”
ทั้งนี้ตามความเห็นผู้ทรงคุณวุฒิเสนอว่า คีย์ออฟซัคเซสอยู่ตรงไหน เปลี่ยนมายเซ็ทของคนในพื้นที่อย่างไรบ้าง ทำอย่างไรให้เห็นว่ามีองค์ความรู้อะไรในการขับเคลื่อน ต้องการให้ไม่มองแค่เพียงว่าหัวใจตลาดเป็นมากกว่าแหล่งการซื้อสินค้า ให้เป็นพับบลิคสเปซน่าสนใจได้อย่างไร ฟื้นฟูตลาดอย่างไร มองตลาดให้เป็นโซเซียลสเปซ และมองอนาคตจะมีทิศทางการพัฒนาอย่างไร มีแผนการศึกษาวิจัยของคนสามวัยอย่างไร อีกทั้งยังไม่วิเคราะห์ปัญหาจริง ๆ ของแก่งคอย แต่เอาข้อมูลอ้างอิงจากที่อื่นมาเปรียบเทียบ และจะสร้างชุมชนใหม่อย่างไรจับตาเมืองย่านวัฒนธรรม

ผศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม กล่าวอีกว่า ในส่วนโครงการ “การพัฒนาชุดข้อมูลและภาคีเพื่อการพัฒนาจังหวัดนครนายก” ที่มี ผศ.ดร.สนธยา สีละมาด ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถ.รังสิต-นครนายก คลอง 16 เป็นหัวหน้าโครงการนั้นแม้ว่าในมุมมองของหัวหน้าโครงการได้มองนครนายกเป็นหลังบ้านของกลุ่มอีอีซีสำหรับมุมมองผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าให้ความสำคัญต่อการจัดการปัญหาขยะชุมชน ปัญหาสุขภาพของชุมชน ด้านเศรษฐกิจ เป็นจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในภาคตะวันออก แต่มีรายได้อันดับ 3 ดังนั้นต้นทุนท่องเที่ยวจึงสูงกว่าจังหวัดอื่น ๆ ช่วง 1 ปีทำรายได้ 3-4 เดือนเท่านั้น

ดังนั้นไฮไลท์ชุดข้อมูลนี้จึงจะสามารถต่อยอดไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างไรบ้าง และตอบโจทย์ความต้องการจังหวัดอย่างไร”ส่วนผลการวิจัยโครงการ “การสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับเมือง ด้วยการพัฒนาย่านวัฒนธรรม ชุมชนตลาดใต้” จังหวัดพิษณุโลก นั้นมีนายธนวัฒน์ ขวัญบุญ เป็นหัวหน้าโครงการ ได้สืบค้นประวัติศาสตร์จากคนรุ่นเก่า 60-70 ปี และ 95 ปีพบว่าพื้นที่อุดมไปด้วยทรัพยากรการท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวก สามารถนำไปทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ การพัฒนาพื้นที่ มีสิ่งอำนวยความสะดวก จึงสามารถนำเสนอัตลักษณ์ในสิ่งที่มีอยู่ในพื้นที่ได้ทันที ประการสำคัญประชาชนมีความผูกพันตลาด ศาลเจ้า ชุมชนชาวจีนและอีกหลายเชื้อชาติจึงเป็นที่มาของคำว่าตลาดใต้ไม่เคยหลับไหล จัดเป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมทางสังคม และสิ่งบันเทิงของคนในพื้นที่ ” ผศ.ดร.ปุ่น กล่าวและว่าดังนั้นในความเห็นผู้ทรงคุณวุฒิจึงเทียบแผนที่ในอดีต-ปัจจุบันว่าผลการวิจัยจะนำไปต่อยอดอย่างไรบ้าง ให้เกิดความสอดคล้องกับพื้นที่เดิม มองในองค์รวมพบว่าตลาดใต้ในพื้นที่ริมแม่น้ำน่านสามารถพัฒนาเป็นฟิตเนสและห้องรับแขกเพื่อทุกคนได้ ดังนั้นเมื่อผลวิจัยสำเร็จจึงพร้อมคืนข้อมูลให้กับชุมชน นำไปพัฒนาและอนุรักษ์แหล่งประวัติศาสตร์นี้ต่อไป
ด้าน ผลการวิจัยโครงการ “การพัฒนากลไกเพื่อการเป็นเมืองอัจฉริยะเชิงวัฒนธรรม และการประยุกต์ใช้แนวทางพิพิธภัณฑ์มีชีวิตในการจัดการเมืองในเมืองแม่ฮ่องสอน” มีนายกานต์ ปราณีตศิลป์ เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งได้สำรวจสังคมเมือง จากสังคมส่วนใหญ่ที่เป็นชนบท

“พบว่าตลอด 6 เดือน มีข้อค้นพบหลายประการ ซึ่งในมุมมองผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าว่าเทสต์โปรเซสนี้ด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่ชัดเจนได้อย่างไร ผลงานนี้จึงน่าจะเป็นชุดแรกที่ทำจากคนแม่ฮ่องสอนจริง ๆ ร่วมกับสถาบันการศึกษาท้องถิ่น จึงควรนำความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิไปปรับปรุงในระยะเวลาที่เหลือต่อไป”

ร่วมแสดงความคิดเห็น