“ผักปลอดสาร” ที่สวนพุทธธรรมลำพูน

ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา กระแสการบริโภคพืชผักเพื่อสุขภาพได้รับความสนใจจากผู้คนจำนวนมาก เนื่องจากเห็นว่า “สุขภาพกาย” นั้นมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า “สุขภาพใจ” กายที่แข็งแรงล้วนนำมาซึ่งใจที่เข้มแข็ง ดังนั้นในระยะหลังเราจะเห็นว่าผักเพื่อสุขภาพ ได้เข้ามามีส่วนสำคัญต่อวิถีการบริโภคของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจต่อสุขภาพสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านอาหารที่ต้องผลิตอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตอาหารส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญด้านปริมาณมากกว่าคุณภาพ กระบวนการผลิตทุกขั้นตอนต้องแข่งกับเวลาเพื่อให้ทันต่อความต้องการกับโลกสมัยใหม่ ซึ่งนับวันความเป็นวิถีเกษตรแบบดั้งเดิมของบ้านเราได้ถูกแทนที่ด้วยการทำเกษตรแบบทุนนิยม เป็นเกษตรแบบพันธสัญญา เกษตรกรต้องเป็น
หนี้ตั้งแต่เริ่มต้น ต้องใช้พื้นที่มาก และใช้สารเคมีอันตราย เช่น ปุ๋ยเคมี, สารกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชในปริมาณมากขึ้นทุกปี ๆ ซึ่งสารเคมีอันตรายดังกล่าวได้มีผลต่อสุขภาพของผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภค ตลอดจนถึงสิ่งแวดล้อมในวงกว้างที่ถูกทำลายไปด้วย ซึ่งหากมองย้อนกลับไปในอดีตแล้ว วิถีเกษตรกรรมของเราเป็นแบบพอเพียง เป็นรากฐานของสังคมขั้นพื้นฐานที่มีความสามัคคีกันช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน หลายปีที่ผ่านมามีความพยายามทั้งภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรให้ตระหนักถึงภัยอันตรายอันเกิดจากสารเคมีอันตราย โดยการลดปริมาณการใช้ลงและเลิกใช้ในที่สุด ด้วยหันมาทำการเกษตรกรรมแบบมาตรฐานสากลคือ “เกษตรอินทรีย์” (Organic) ที่ทั่วโลกให้การยอมรับว่าเป็นการเกษตรที่มีความปลอดภัยสูงสุดโครงการดังกล่าวฯ มีเป้าหลักเพื่อพัฒนาสู่ “สัมมาอาชีวะ” เป็นการประกอบกิจการงานอันชอบธรรมไม่ผิดกับหลักของศีลธรรมที่พระพุทธองค์ทรงห้าม (มิจฉาวาณิชชา) 5 ประการ คือ
1.การขายอาวุธ (สิ่งที่ก่อให้เกิดการทำลายล้างกัน)
2.การค้าขายมนุษย์ (ตลอดจนการใช้แรงงานอย่างทารุณ)
3.การค้าขายสัตว์เพื่อเป็นอาหาร
4.การค้าขายน้ำเมา ตลอดจนสารเสพติดทุกชนิด
5.การค้าขายยาพิษ(สารพิษที่เป็นอันตรายต่อชีวิต)
ดังนั้น การดำรงชีวิตตามฐานะพุทธบุตรประจำศูนย์ฯแห่งนี้ ส่วนใหญ่เป็นผู้มุ่งประพฤติปฏิบัติตนตามหลักของอริยวัฑฒิ 5 ประการ คือ ทาน ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เพื่อพัฒนาตนสู่ความเป็นอริย
ชนตามลำดับ จึงอาจเรียกได้ว่า การทำงานของสวนพุทธธรรมถือเป็นการปฏิบัติธรรมปัจจุบันโครงการสัมมากิจเกษตรอินทรีย์ วิถีพุทธธรรม ของมูลนิธิฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อินทรีย์ TAS:2629 (Organic Thailand) จากกรมวิชาการเกษตรมาตั้งแต่ปี 2551 โดยมีพืชที่ได้รับการรับรอง อาทิเช่น ผักสลัด 9 ชนิด (เร็ดโอ๊ค, กรีนโอ๊ค, สลัดแก้ว, สลัดคอส ฯลฯ) , มะเขือเทศ, กวางตุ้ง
ฯลฯ และยังมีการปลูกข้าวอินทรีย์หอมมะลิ 105 และข้าวเหนียว กข 6 อีกด้วย นอกจากนี้ทางมูลนิธิฯ ยังได้ร่วมมือกับสมาคมเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดลำพูน เรื่องความมั่นคงด้านอาหารที่ยั่งยืน และร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและแผ่นดิน ทั้งนี้ได้วางแผนที่จะผลิตพืชผักสมุนไพรเพิ่มขึ้นอีกหลายชนิด เพื่อให้ผู้บริโภคที่รักสุขภาพได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ผู้ที่สนใจสนับสนุนผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของมูลนิธิฯ สามารถหาซื้อได้ที่ห้างแม็คโครฯ สาขาเชียงใหม่, สาขาหางดง, สาขาแม่ริม, สาขาลำพูนและบางสาขาในกรุงเทพฯ, ปริมณฑล และทั่วประเทศ สำหรับทุกท่านที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ “วิถีพุทธธรรม” นอกจากจะได้อาหารกายคือได้รับประทานผักที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว ยังได้อาหารใจคือความสุขใจที่ได้ร่วมทำบุญกับมูลนิธิสวน
พุทธธรรมอีกด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น