จ.แพร่ เอาด้วย!ขยายปิดสถานที่ชั่วคราว ห้ามจำหน่ายสุรา ออกไปถึงวันที่ 30 เม.ย.63

ผู้สื่อข่าวรายงานมาจากจ.แพร่มาเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563 ว่า จ.แพร่ ได้มีการขยายคำสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ห้ามจำหน่ายสุราและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ออกไป จากวันที่ 20 เมษายน จนไปถึงสิ้นเดือน เมษายน วันที่ 30 เมษายน 2563 ตาม คำสั่งจังหวัดแพร่ที่ 1043/2563 เรื่อง ขยายระยะเวลาสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ฉบับที่ 15) ตามที่ จังหวัดแพรโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดแพร่ ได้มีคำสั่งจังหวัดแพร่ ที่ 14/2563 ลงวันที่ 9 เมษายน 2563 เรื่อง การยกระดับมาตรการการเฝ้าระวังควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 จังหวัดแพร่ (เพิ่มเติม) ปิดสถานที่หรือพื้นที่จำหน่ายสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2563 ถึง วันที่ 20 เมษายน 2563 นั้น
เพื่อให้การป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรติดชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโศวิด 19ของจังหวัดแพร่ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และคำนึงถึงโอกาสเสี่ยงในการติดโรคและความจำเป็นของประชาชนอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 มาตรา 34 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบกับข้อกำหนดซึ่งออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราขการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1 )ข้อ 2 ข้อ 5 และข้อ 10 วรรคสองและวรรคสาม คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดแพร่ ในคราวประชุม ครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันที่ 14เมษายน 2563 ไต้มีมติเห็นชอบให้ ขยายระยะเวลาปิดสถานที่หรือพื้นที่จำหน่ายสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ โดยให้ร้านค้าหรือสถานประกอบการขายสุรา ประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ที่ได้รับใบอนุญาตให้จำหน่ายสุราตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2563 และ ร้านที่ประกอบการขายสุราหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ที่ไม่ได้ขออนุญาตตามกฏหมายข้างต้น ห้ามจำหน่าย จ่ายแจก หรือให้ สุราหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแฮลกอฮอล์แก่บุคคลได้ เว้นแต่ การจำหน่าย จ่ายแจก หรือให้สินค้าอื่น ออกไปจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 เวลา 24.00 น.
อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หากปล่อยให้เนิ่นช้ำไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชน หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา 30
วรรคสอง (3) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ผู้ไดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามต้องรับโทษตมมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ ท.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นตันไป จนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 สั่ง ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ค. 2563นางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดแพร่ ผู้กำกับการบริหารราชกรในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดแพร่

ร่วมแสดงความคิดเห็น