ฝนคลายแล้ง หวั่นวิกฤติแล้งในไทยรุนแรงขึ้น

นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) แสดงความคิดเห็นผ่านเพจส่วนตัวว่าวันที่ 17 มิถุนายน 2563 เป็นวันต่อต้านปัญหาภัยแล้งและฝนแล้งของโลก ถูกกำหนดขึ้นตั้งแต่ปี 2533 โดยองค์การสหประชาชาติ เพื่อรณรงค์และปลุกจิตสำนึกให้ประชากรโลกให้หันกลับมาใส่ใจธรรมชาติบนโลกใบนี้มากขึ้น
“ผ่านมา 30 ปี ดูเหมือนปัญหาภัยแล้งจะทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะฤดูแล้งปีที่ผ่านมาในประเทศไทยบ้านเรา ที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม และความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนหลายล้านคน จึงขอถือโอกาสนี้มาชวนทุกคน ช่วยกันสอดส่องดูแล รักษาป่าต้นน้ำ และช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟูผืนป่าเพื่อให้เป็นโรงงานผลิตน้ำหล่อเลี้ยงคนไทยทั้งประเทศต่อไปในอนาคต มาปลูกต้นไม้ด้วยกันให้ครบ 100 ล้านต้น”

ด้านสำนักงานทรัพยากน้ำแห่งชาติ รายงานว่า  สภาพอากาศตั้งแต่ช่วงนี้กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า ฝนจะเริ่มตกทั่วทุกภาคสถานการณ์ฝน ช่วง 18-22 มิ.ย. 2563 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านไทย จะเริ่มอ่อนลงอาจมีฝนกระจาย แต่ก็ยังมีฝนตกหนักในบางพื้นที่
แหล่งน้ำต้นทุนปริมาณน้ำรวม 34,340 ล้าน ลบ.ม. (ราว ๆ 42%) น้ำใช้การได้ 10,280 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็นภาคเหนือ 8,493 ล้าน ลบ.ม.และแหล่งน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ 36 แห่งมีปริมาณน้ำ 30884 ล้าน ลบ.ม.หรือกว่า 43 % จะใช้การได้ประมาณ 7,328 ล้าน ลบ.ม. ( 15%)

 

ในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือน้ำในช่วงฤดูฝน และกักเก็บน้ำเพื่อแก้วิกฤติภัยแล้งในฤดูกาลต่อไปนั้น ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี  เมื่อ 7 มค.2563 ในการหาแหล่งน้ำแก้แล้งเพิ่ม  1,408 แห่ง (ภาคเหนือ 97 แห่ง ขุดเจาะบ่อบาดาล 27 แห่ง จัดหาแหล่งน้ำ
ผิวดิน 6 แห่ง ซ่อมแซมระบบประปา 63 แห่ง วางท่อน้ำดิบ 1 แห่ง)
ทั้งนี้เกษตรกร ผู้ปลูกลำไย อ.ป่าซาง จ.ลำพูน กล่าวว่า ปีนี้เป็นอีกรอบปีที่ฝนทิ้งช่วงนานมาก ต้องสูบน้ำบาดาล เพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียหาย และเมื่อฝนเริ่มตกก็มีทั้งลมพายุ ทำให้ลำไยที่ติดลูกบางส่วนร่วงหล่น “แต่ก็ถือว่าไม่เลวร้ายเกินไปที่ฝนเริ่มเข้ามาเป็นระยะ ๆ ในช่วงเดือนนี้ บางแห่งหนักจนท่วมขัง ที่ตกพอน้ำชุ่มดินก็ดี ไม่ต้องเพิ่มต้นทุนการสูบน้ำหล่อเลี้ยงต้นลำไยในสวนที่ติดผลรอเก็บ”

 

ในขณะที่ระทรวงเกษตรฯ แจ้งว่า ได้เตรียมมาตการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่อาจได้รับผลกะทบจากภัยแล้ง และน้ำท่วม ซึ่งปีนี้สถานการณ์ฝนทิ้งช่วง เป็นระยะนาน ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เพราะปลูกหลาย ๆ จังหวัดเสียหาย โดยเกษตรกรที่เดือดร้อนให้ติดต่อสำนักงานเกษตรในพื้นที่ เพื่อแจ้งขอรับความช่วยเหลือ
กระทรวงเกษตรฯ ได้ร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามและเร่งรัดให้ความช่วยเหลือการสนับสนุนพี่น้องเกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำโดยช่วงนี้เกิดฝนตกมีน้ำมาก แต่บางพื้นที่ไม่มีแหล่งเก็บกัก โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้งได้รับผลกระทบหนัก ก็เร่งสำรวจพื้นที่หาแหล่งเก็บกักน้ำ

“แต่ละจังหวัดจะมีคณะกรรมการบูรณาการระดับจังหวัด ปัญหาใดที่ชาวบ้านในพื้นที่เดือดร้อน ก็ต้องหารือร่วมกัน จัดทำแผนโครงการ นำเสนอคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ภายใต้กรอบนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 400,000 ล้านบาท ร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องน้ำให้กับเกษตรกร ชาวสวน ให้ได้มากที่สุด ซึ่งวิกฤติแล้งในไทย ต้องร่วมกันปลูกป่า รักษาแหล่งต้นน้ำ จัดการวัชพืชกีดขวางทางน้ำ ทำให้ประสิทธิภาพการรับน้ำน้อย ต้องเร่งแก้ปัญหา เพราะสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง ภัยแล้งมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น”

ร่วมแสดงความคิดเห็น