จ.พะเยา ขับเคลื่อนลดภาวะอ้วน และน้ำหนักตัวที่เกินในเด็กประถมศึกษา อ.เมือง,อ.ดอกคำใต้

วันที่ 30 มิย 2563 เวลา 9.00 น. นายประถม เชื้อหมอ ผอ.สพป.พะเยา เขต 1 ผศ.ดร.กังสดาล กนกหงษ์ สาขาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร ม.แม่โจ้, น.ส.พวงทอง ว่องไว มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา สสจ. และสถานศึกษาในพื้นที่ อ.เมือง และ อ.ดอกคำใต้ 26 สถานศึกษา จำนวน 60 คน ร่วมหารือการเลือกบริโภคอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เน้นการบริโภคผักและผลไม้ เพื่อป้องกันและลดภาวะอ้วน เน้นการสร้างความร่วมมือผู้บริหาร และสนับสนุนให้เด็กนักเรียน เพื่อร่วมเรียนรู้กระบวนการลดภาวะอ้วน และน้ำหนักตัวที่เกินในเด็กประถมศึกษาขึ้น

ทั้งนี้สถานการณ์ภาวะโภชนาการของประเทศไทย ปัจจุบันพบว่ามีเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 6.7 % และมีภาวะทุพโภชนาการเรื้อรัง เตี้ย แคระ แกร็น ถึง 10.5 % พบมากที่สุดในภาคเหนือ ซึ่งในบางจังหวัดสูงถึง ร้อยละ 24.9 ส่วนภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันพบ 5.4 %2 แม้ว่าประเทศไทยจะ ดำเนินการขจัดปัญหาภาวะโภชนาการขาด และมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ แต่เด็กวัยเรียนที่มีภาวะ โภชนาการเกินและอ้วนกลับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปี พ.ศ. 2552 พบร้อยละ 9.7 และ 10 ปี ต่อมา พ.ศ. 2562 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.43

ซึ่งภาวะทุพโภชนาการในช่วงต้นของชีวิต มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพในระยะยาว หากไม่ดำเนินการแก้ไข จะส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ ให้เกิดโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังตามมาได้ ภาวะโรคอ้วน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ทางด้านร่างกาย ได้แก่ โรคข้อ และกระดูก โรคระบบทางเดินหายใจ ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ นำไปสู่การเกิด โรคเบาหวาน ประเภทที่ 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคความดันโลหิตสูง

ร่วมแสดงความคิดเห็น