ประชุมเสวนาวิชาการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรม

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.30.น.ที่ โรงแรมน่านตรึงใจ ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นายสัมฤทธิ์ พงษ์วิรัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดการประชุมเสวนาวิชาการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรม ด้วยพลังในการมีส่วนร่วมของเครื่อข่ายในพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 โดยมีนางสาวมนัสวีร์ มณีแสง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมเครือข่ายสภาวัฒนธรรมส่วนภูมิภาค และสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทยกล่าวรายงานมีผู้เข้าร่วมประชุมฯ จำนวน 40 คน

การเปิดโครงการ ในวันนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานกลางในการวางแผน ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน และประสานงานความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจองค์กรเอกชน ประชาชน และสถาบันต่าง ๆ ในด้านการดำเนินงานวัฒนธรรมของชาติทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ เพื่อที่จะรักษาและดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงาม รวมทั้ง

ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรม จึงได้ดำเนินการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการขยายเครือข่ายการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมในพื้นที่ในลักษณะการกระจายอำนาจทางวัฒนธรรม มุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และชับเคลื่อนการดำเนินงานวัฒนธรรมในท้องถิ่นตนเอง ในรูปแบบต่าง ๆที่สามารถสร้างกระแสการรับรู้ทางด้นวัฒนธรรมไปสู่ชุมชนท้องถิ่นได้อย่างกว้างขวางในการนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน ได้ดำเนินการจัดประชุมเสวนาวิชาการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมด้วยพลังการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนจากสภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดน่าน สภาหอการค้าจังหวัดน่าน องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน กลุ่มสตรีจังหวัดน่าน กลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดน่าน กลุ่มเครื่องทอเมืองน่าน กลุ่มเครื่องเงินเมืองนำนกลุ่มนักธุรกิจจังหวัดน่าน กลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวจังหวัดน่าน สื่อมวลขนจังหวัดน่านและสถาบันการศึกษาในจังหวัดน่าน กิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายพิเศษนำเสนอนโยบายการดำเนินงานวัฒนธรรม/ที่มาและความสำคัญของสภาวัฒนธรรมต่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมในพื้นที่ การนำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน แนวทางการบริหารจัดการองค์กรที่ประสบความสำเร็จและเข้มแข็งด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน การระดมความคิดเห็น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรม และการนำนโยบายไปขับเคลื่อนในพื้นที่ รวมถึงปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการดำเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ และเพื่อระดมทรัพยากร บุคลากร และสรรพกำลังต่างๆ จากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อการดำเนินงานวัฒนธรรม อีกด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น