นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา สร้างผลงาน “เครื่องเตือนน้ำป่าไหลหลาก” ไว้แจ้งเตือนประชาชนแบบเรียลไทม์

นักศึกษา ปวส. 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา โชว์ผลงานนวัตกรรมเครื่องเตือนน้ำป่าไหลหลาก ราคาหลักหมื่นบาท จากปัญหาน้ำป่าไหลหลากน้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยตามชุมชนหมู่บ้าน สามารถใช้งานแจ้งเตือนประชาชนแบบเรียลไทม์ ผ่านแอปพลิเคชันในมือถือทุกช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ อยู่ระหว่างการต่อยอดพัฒนาให้มั่นคงแข็งแรงทนทานต่อสภาวะในแต่ละพื้นที่

อีกหนึ่งผลงานที่ชนะการประกวดของระดับจังหวัด ระดับภาคและประเทศ ของน้อง ๆ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา ตำบลป่าตัน อำเภอเมืองเชียงใหม่ ได้โจทย์อาจารย์ธาระการ ฐานที่ อาจารย์ประจำสาขาอิเล็กทรอนิกส์ ต้องการนวัตกรรมในการช่วยเหลือประชาชนจากปัญหาภัยพิบัติจากธรรมชาติ นายรัฐธรรมนูญ ศรีสอาด และนางสาวเมธาวี วิรุฬห์ศักดิ์สุกล ปวส. ปี 1 สาขาอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้คิดค้นการทำเครื่องเตือนภัยน้ำหลาก ซึ่งปัจจุบันในหลายพื้นที่กำลังประสบภัยน้ำป่าไหลหลากน้ำท่วมอย่างที่ผ่านมาในพื้นที่อำเภอจอมทอง อำเภอดอยสะเก็ด ให้ถนนเชียงใหม่-เชียงรายตัดขาด ซึ่งเครื่องเตือนภัยน้ำหลากมีต้นทุนการผลิตอยู่ 15,000 บาท เป็นเครื่องต้นแบบ

อาจารย์ธาระการ ฐานที่ อาจารย์ประจำสาขาอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่าเครื่องดังกล่าวมีการแจ้งเตือนถึง 7 ระดับ ซึ่งตัวเซ็นเซอร์ จะอยู่ที่ท่อพีวีซีอยู่ 7 ระดับ ซึ่งกล่องรับและประมวลผลส่งผ่านเข้ามือถือ ใช้ไฟฟ้าแบบแบบโซล่าเซลล์ กับแบตเตอรี่หากไม่ได้ชาร์จไฟจะสามารถทำงานได้ถึง 1 สัปดาห์ กรณีเกิดฝนตกจนไม่สามารถชาร์จไฟเข้ามาหาก ใช้โซล่าเซลล์ ผสมด้วยกันจะสามารถทำงานได้ตลอด ต่อเนื่อง ซึ่งการส่งขอมูลจะแบบเรียลไทม์ ผ่านแอปพลิเคชันในมือถือทุกช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ ซึ่งจะใช้ช่วยเหลือประชาชนที่ปลายน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งได้นำไปทดลองใช้ที่อำเภอแม่ริม ผ่านผู้นำชุมชน ก็สามารถใช้แจ้งเตือนประชาชนได้จริง เพราะจะสามารถไปแจ้งเตือนผ่านตู้สัญญาณเสียง และไฟสีให้กับประชาชนในพื้นที่ทราบว่าหากมีน้ำเพิ่มขึ้นผิดปกติ ตามระดับให้ค้นย้าย อพยพหนีไปที่ปอดภัย นอกจากนี้จะแจ้งเตือนระดับไฟของเครื่องให้ทราบได้อีกด้วยเพียงทุก 3-5 เดือนก็มาตรวจสอบอุปกรณ์ต่อครั้ง

อย่างไรก็ตามขณะนี้อยู่ระหว่างการต่อยอดพัฒนาให้มีความมั่นคงแข็งแรง มีความเที่ยงตรงรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะตัววัดปริมาณน้ำจะต้องถูกนำลงไปแช่ในน้ำ ลำน้ำต่างๆ เพื่อให้ทนทานต่อกระแสน้ำ การไหลหลาก ในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้จริงในทุกสภาวะของแต่ละพื้นที่ ที่สำคัญราคาไม่แพงทำให้ตามหมู่บ้าน ชุมชนเสี่ยงภัยสามารถนำไปใช้ได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น