กดปุ่มเลือกตั้ง อบจ. รอ มท.1 ชี้แจง คาดเคาะ 13 ธ.ค.นี้ ! พร้อมรอความเห็นชอบจากครม.

นายซูการ์โน มะทา ประธานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และบริหารราชการรูปแบบ
พิเศษ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า แม้โดยส่วนตัวจะไม่มั่นใจว่าจะเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในปี 2563 นี้ เพราะยังไม่มีคำยืนยันหรือถ้อยแถลงใด ๆ ที่ชัดเจนจากรัฐมนตรีมหาดไทย (มท.1 )

“แต่ก็เชื่อได้ว่าจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน และกระแสสังคมน่าจะถึงเวลาที่ทุกอย่างต้องชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น โดยคณะกรรมาธิการฯได้ออกหนังสือเรียนเชิญนายกรัฐมนตรี หรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมายมาชี้แจง พร้อม มท.1 และประธานคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) เพื่อให้สามารถระบุไทม์ไลน์ วันเวลาที่จะจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น แต่ละรูปแบบ”กลุ่มนักวิชาการด้านกฎหมายการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น ระบุว่าจากการติดตามความเคลื่อนไหวประ
เด็นการเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งจะมีการเลือกตั้ง นายกอบจ. 76 ตำแหน่ง สมาชิกอบจ. อีก 2,316 ตำแหน่ง โดยอยู่ในระยะรักษาการพลาง ๆ ปฏิบัติหน้าที่ รับเงินเดือน มากว่า 8 ปี จะ 2 วาระแล้ว หากพิจารณาตามระยะเวลาที่มีการประกาศจากระดับนโยบายว่าจะทำให้มีการเลือกตั้งรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ในปีนี้ยังเหลือเวลาอีก 4 เดือน และเป็นช่วงดำเนินการ ร่างงบประมาณ 2564 แต่ละอปท.อยู่ ซึ่งมั่นใจว่า กำหนดเวลาที่เหมาะสมในการประกาศยุติบทบาท อบจ.ทุก ๆ แห่งทั้ง 76 จังหวัด ไม่นับรวมกรุงเทพมหานครที่เป็นการปกครองรูปแบบพิเศษ

“จึงน่าจะเคาะวันเลือกตั้ง อบจ.ได้ราว ๆ 13 ธ.ค. 2563 เพราะต้องมีความเห็นชอบจากครม. แล้วประกาศให้ทุกอบจ. ยุติการปฏิบัติหน้าที่ จะรวมถึง อปท. ทั้ง 7,850 แห่ง ที่มีเทศบาล2,469 แห่ง ( เทศบาลนคร 30 แห่ง เทศบาลเมือง 192 แห่ง เทศบาลตำบล 2,247 แห่ง ) องค์การบริหารส่วนตำบล 5,303 แห่ง องค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) หรือไม่นั้นต้องรอดูอีกที”ในขณะที่อ.ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการชื่อดัง และอดีตกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่  กล่าวว่า มีการนำเสนอข้อมูลผ่านเพจส่วนตัวมาตลอดว่า วันเลือกตั้งนายก อบจ.ทั่วประเทศ ที่เหมาะสม ลงตัวที่สุดคือ 13 ธ.ค. 2563 แน่นอน เพราะหากพ้นจากห้วงเวลาของปีนี้ไป จะต้องแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ คำนวณฐานประชากรที่เพิ่มหรือลดจากข้อมูลประจำปีอีก ทำให้เสียเวลาออกไปอีกหลายเดือน

“ดังนั้น โดยส่วนตัวมั่นใจว่าภายในตุลาคมนี้ น่าจะมีการประกาศให้มีการเลือกตั้ง อบจ. ออกมา เพื่อให้ผู้ที่ทำหน้าที่รักษาการ พ้นหน้าที่และจัดการเลือกตั้งได้ภายใน 60 วัน”ทั้งนี้จากการสอบถามความคิดเห็นผู้นำชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือ และนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ จากหลาย ๆ สถาบันการศึกษาดังในภาคเหนือ ระบุตรงกันว่า ปรากฎการณ์ในการเลือกตั้งท้องถิ่นทุกครั้งนั้น จะมีบรรดาซุ้มบ้านใหญ่ นักการเมืองกลุ่มที่เป็นขาประจำในท้องถิ่นนั้น ๆ แพ้การเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 40 % และบรรดาขาประจำ กลุ่มการเมืองที่บริหาร อปท. จะมีผลงานเป็นสิ่งชี้วัด ยิ่งปล่อยเวลาเนิ่นนาน ผลของการดำเนินกิจกรรมโครงการต่าง ๆ จะเป็นตัวฟ้องว่าสุจริต มีศักยภาพ โปร่งใส มากน้อยเพียงใด

“บรรดา อปท. จำนวนหนึ่งที่นิยมโครงการพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นสร้างถนน แล้วระยะเวลาไม่นานในช่วงรักษาการพลาง ๆ  ชำรุด แอสฟัลติกส์ร่อน โครงการจัดซื้อจัดจ้างมีปัญหาร้องเรียนความไม่โปร่งใส กลุ่มเหล่านี้ มีชนักติดหลัง รวมถึงกลุ่มที่มีคำสั่งให้ยุติการทำหน้าที่ อาจลงสมัครได้ ถ้าผลคำตัดสินออกมาว่าผิดตามนั้นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเลือกตั้ง ในแต่ละเขตที่ลงสมัคร”อดีตผู้บริหาร อบจ. ในพื้นที่ภาคเหนือ กล่าวว่า ความไม่มั่นใจไม่ลงตัวในเรื่องฐานเสียง ญานมวลชน น่าจะทำให้เกิดการประวิงเวลาเลือกตั้งท้องถิ่นออกไป โดยส่วนตัวเชื่อว่าปีนี้มีการเลือกตั้ง อบจ. ถ้าไม่เกิดอุบัติเหตุทางการเมือง ซึ่งยากที่จะเป็นไปได้ เพราะลากยาวมาได้ขนาดนี้ การเคลื่อนไหวมวลชนตามกระแส ยิ่งนานยิ่งต้องติดตาม ผนวกกับมีปัญหาน้ำท่วม เรื่องฟื้นฟูหลังโควิด-19 อีก ผู้คนส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่เรื่องปากท้อง การรับความช่วยเหลือ ซึ่งอาจจะเป็นข้ออ้างหนึ่่งได้

“แม้กระทั่งขณะนี้ น้ำท่วมหนัก ชาวบ้านเดือดร้อน ต้องช่วยเหลือผู้ประสบภัย ยังจะมาคิดเรื่องเลือกตั้งท้องถิ่นอยู่อีกแค่คำถามที่ไม่ต้องการคำตอบนี้ ทุกอย่างก็จบ ประวิงเวลาไปได้ถึงต้นปีหน้าได้เช่นกัน”

ร่วมแสดงความคิดเห็น