จ.เชียงใหม่ ผู้สูงวัยพุ่ง ยากจน ถูกทอดทิ้งเริ่มลด วัย 60-65 ปี ปีนี้ตายเกือบ 6 แสนราย

สำนักงานสถิติ จ.เชียงใหม่ เปิดเผยผลสำรวจด้านสังคมว่า ปัจจุบันเชียงใหม่ถือเป็นสังคมผู้สูงอายุ ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาชาติแล้ว โดยในปี พ.ศ. 2562 นั้น มีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 333,692 คน หรือร้อยละ 18.8 จากจำนวนประชากรกว่า 1,779,254 คน ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพปีที่ผ่านมาราว ๆ 274,988 คน ผู้ป่วยที่ติดเตียง ป่วยเรื้อรังมี 1,397 คน ที่ต้องเร่ร่อน ขอทาน มี 36 คน ผู้พิการขาดแคลน 611 คน ผู้ที่ต้องหารายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวมี 148,904 คน กลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองสุขภาพ ทั้งร่างกายและจิตใจจะมีกว่า 235,983 คน อย่างไรก็ตาม ที่น่ากังวลคือ โครงสร้างการเปลี่ยนแปลงประชากรในเชียงใหม่ พบว่า ปีที่ผ่านมา เด็กเกิดน้อย มีจำนวน 248,946 คน ในขณะที่ผู้สูงวัยเพิ่มต่อเนื่องในอัตรา ร้อยละ 5.3

ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ จ.เชียงใหม่ พบว่า เมื่อพิจารณาครัวเรือนผู้สูงอายุอยู่กับเด็ก ๆ และอยู่ตามลำพังกับคู่สมรสเฉลี่ย 5,821-5,908 ครัวเรือน กลุ่มครอบครัว ยากจน พบมีเพียง 3,804 ราย ในปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าปัจจุบันคนรุ่นใหม่แต่งงานช้าลง ใช้ชีวิตเป็นโสดมากขึ้น และเมื่อแยกย้ายไปทำงาน มักจะชอบแยกตัวออกจากครอบครัว ทำให้ผู้สูงอายุ มีแนวโน้มอยู่ตามลำพังเพิ่มขึ้นด้วย

“ปีที่ผ่านมาพบมีผู้สูงอายุอยู่คนเดียวตามลำพัง ถูกทอดทิ้ง ไม่มีผู้ดูแล ราว ๆ 1,158 ราย ลดลงจากเดิม ประกอบกับสื่อสังคม มีส่วนช่วยสอดส่อง โอบอุ้ม สงเคราะห์กลุ่มผู้สูงวัยที่ยากจน ถูกทอดทิ้ง หาทางช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี พ้นจากความยากลำเค็ญในชีวิต”

ทีมข่าวตรวจสอบข้อมูล มอนิเตอร์ไทย ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดล ติดความเคลื่อนไหวด้านประชากรศาสตร์ รายวัน พบว่า ประชากรไทย วันนี้ (1 ก.ย. 2563) มีทั้งสิ้น 66,559,472 คน อายุ 60 ปีขึ้นไปในขณะนี้ 12,120,751 คน อายุ 65 ปีขึ้นไป 7,997,456 คน ตั้งแต่ต้นปี มีเด็กเกิด 461,280 คน มีคนตายไปแล้ว 364,164 คน และประชากรไทยเพิ่มขึ้นเพียง 97,116 คน

“ตั้งแต่ต้นปีนี้ ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เสียชีวิต 293,586 คน และอายุ 65 ปีขึ้นไป เสียชีวิต 260,059 คน มีการจดทะเบียนสมรส 222,988 ครั้ง จดทะเบียนหย่าแล้ว 90,655 ครั้ง”

ร่วมแสดงความคิดเห็น