ตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดฝึกกู้ภัยป่าภูเขา แก่ ตำรวจภูธร ตชด. นปพ. และหน่วยกู้ภัยในพื้นที่ เพื่อนำไปปฏิบัติการได้จริงในพื้นที่

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน พลตำรวจตรี ธีรพล อินทรลิบ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดการฝึกอบรมโครงการกู้ชีพกู้ภัย ให้กับหน่วยกู้ภัยจากตำรวจภูธรจังหวัด ตชด.336, หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ภ.จว.มส.(นปพ.) และหน่วยกู้ชีพกู้ภัยจากภาครัฐเอกชนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 31 นาย

การฝึกครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ทั้งหน่วยบินตำรวจจังหวัดเชียงใหม่, กองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่, กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 336, โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ รวมทั้งหน่วยงานที่ส่งบุคลากรเข้าร่วมการฝึกอบรม โดยใช้ชีวิตการฝึก กิน นอน ร่วมกัน ตลอด 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 12-16 ดวง ประจำวันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563 ทั้งภาคทฤษฎีและภาคสนาม การละลายพฤติกรรม เงื่อนเชือกงานกู้ภัย วิธีตรวจเช็คอุปกรณ์และการบำรุงรักษา การปฐมพยาบาล ยกเคลื่อนย้ายและแพ็คเปล ไต่ขึ้น ไต่ลงด้วยอุปกรณ์ระบบรอก การโรยตัวกับภูมิประเทศพร้อมอุปกรณ์การช่วยเหลือและการฝึกการส่งกลับ การโรยตัวกับ ฮ.ทางดิ่ง พร้อมอุปกรณ์ช่วยเหลือ การจำลองสถานการณ์เสมือนจริงในการทดสอบแผนช่วยเหลือผู้ประสบสภัยในป่าภูเขา เป็นความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณประโยชน์ เพื่อที่จะนำเอาความรู้จากวิทยากร ครูฝึก ไปประสาน/บูรณาการในการปฏิบัติงานร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย พลตำรวจตรี ธีรพล อินทรลิบ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า เนื่องจากภูมิประเทศของจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพการคมนาคมที่ไม่เอื้ออำนวย มีอุบัติเหตุและภัยธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การช่วยเหลือมักจะล่าช้าตามสภาพพื้นที่ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จากการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ที่ผ่านมาพบปัญหาอุปสรรคในแต่ละพื้นที่ซึ่งแตกต่างกันไปตามสภาพ การคมนาคมที่ไม่เอื้ออำนวย มีอุบัติเหตุและภัยธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การช่วยเหลือมักจะล่าช้าตามสภาพพื้นที่ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่ จึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ให้มีความรู้ความเข้าใจ เชี่ยวชาญในการใช้อุปกรณ์และวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างรวดเร็ว ถูกต้องตามหลักการ มีความปลอดภัยสูงสุด ให้ความรู้จากวิทยากรที่ชำนาญการ มีประสบการณ์ ให้กับเจ้าหน้าที่กลุ่มเป้าหมายในท้องถิ่น ในการกู้ภัยตามสภาพป่าเขา สามารถนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติการได้อย่างแท้จริงเป็นรูปธรรม

ร่วมแสดงความคิดเห็น