น่านเปิดกิจกรรมเวทีรับฟังความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์อาคารศาลากลางจังหวัดน่าน

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 เวลา 14.00 น. ที่ ลานหน้าศาลากลางจังหวัดน่าน หลังเก่า ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นายวรกิตติ  ศรีทิพากร ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน   เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมเวทีรับฟังความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์อาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่าและพื้นที่โดยรอบเพื่อเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนโดยมี นายสุขสันต์ เพ็งดิษฐ์ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 6 กล่าวรายงานโครงการ ซึ่งในการเปิดเสวนาในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงแรก


การเสวนา เรื่อง การบริหารจัดการอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน (หลังเก่า) เพื่อเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก “ศูนย์การเรียนรู้ที่มีชีวิตด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอด องค์ความรู้และบรรยากาศของเมืองเก่าน่าน” โดย1. นายวรกิตติ ศรีทิพากร ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
1. ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รองผู้อำนวยการ อพท. รักษาการแทนผู้อำนวยการ อพท.
2. นายนรินทร์ เหล่าอารยะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน
3. ดร.อดิศร เรือลม ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังเมือง แผนกลยุทธ์ โลจีสติกส์เพื่อการ
ท่องเที่ยว จากกรมโยธาธิการและผังเมือง
4. นายสุริยน ประภาสะวัต อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ รองเลขานุการอัยการสูงสุด

ช่วงที่ 2 ในการเสวนาเรื่อง “มุมมองของคนรุ่นใหม่ในการใช้ประโยชน์เชิงสร้างสรรค์หอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก” โดย1. นายจาตุรนต์ โลหะโชติ เจ้าของ Cafe Amazon บ้านคุณหลวง2. อาจารย์ยุทธภูมิ สุประการ ผู้อำนวยการหออัตลักษ์น่าน3. นายสิทธิธัช ธิติกุลเกษมศักดิ์ อาจารย์ประจำโรงเรียนน่านนคร (ประธานกลุ่มฮักศิลป์น่าน)4. นายธนากร แสนคำสอ ที่ปรึกษากองทุนพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเยาวชนจังหวัดน่าน5. พระมหาธนพล ธมฺมพโล เจ้าอาวาสวัดแสงดาว ประธานกลุ่มพุทธศิลป์น่าน

นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต  รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน , หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดน่าน , ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น , ผู้แทนภาคประชาชน , ผู้แทนองค์กรเอกชน ให้การต้อนรับ และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับโครงการในครั้งนี้

ทั้งนี้ เมืองน่าน เป็นเมืองที่มีคุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมายาวน่าน เชื่อกันว่าเป็นเมืองคู่แฝดกับเมืองหลวงพระบางของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งปัจจุบันได้รับการประกาศจาก UNESCO ให้เป็นเมืองมรดกโลกด้านวัฒนธรรม แต่เมืองน่านก็มิได้มีความวิจิตรอลังกาของสถาปัตยกรรมที่ด้อยไปกว่าเมืองหลวงพระบางแต่อย่างใด
จากพลังความร่วมมือร่วมใจของประชาชนชาวจังหวัดน่าน ที่จะดำรงรักษาพื้นที่ประวัติศาสตร์บริเวณ “ใจ๋เมืองน่าน” และ “เวียงพระธาตุแช่แห้ง” นำมาซึ่งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2548 ประกาศให้พื้นที่บริเวณดังกล่าว เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นเมืองเก่าลำดับที่ 2 ต่อจากกรุงรัตนโกสินทร์ พร้อมให้ความเห็นชอบแผนแม่บทและผังแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ตามผลการศึกษาของสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ แผนแม่บทดังกล่าว กำหนดแนวทางในการพัฒนาเมืองเก่าน่าน ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก ที่สืบทอดประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนเป็นศูนย์การศึกษา ค้นคว้า วิจัย รวบรวมวิทยากรด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกทุกแขนง ในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต (Living Museum)ภายหลังส่วนราชการต่างๆ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน ย้ายไปยังศูนย์ราชการแห่งใหม่เรียบร้อยแล้ว คณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน พยายามที่จะขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์อาคารศาลากลางจังหวัดน่าน หลังเก่า ซึ่งตั้งอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้ ให้เป็นไปตามแผนแม่บทและผังแม่บทฯ ดังกล่าว ทั้งในการจัดหางบประมาณ รูปแบบรายละเอียด และการบริหารจัดการ ที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนท้องถิ่น แต่ด้วยความตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของอาคารแห่งนี้ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคาร พร้อมพระราชทานพระพุทธ  นวราชบพิตร ด้วยพระองค์เอง ประกอบกับยังมีความเห็นต่างในแนวทางการใช้ประโยชน์จากบางภาคส่วน จึงต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบกฎหมาย สอดคล้องกับเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของเมืองเก่าน่าน และความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ เหนือสิ่งอื่นใด คือ ต้องให้สมพระเกียรติยศ


นายวรกิตติ  ศรีทิพากร ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน  เปิดเผยว่า  บัดนี้ คณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ได้เห็นชอบแบบรูปรายการปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่าและพื้นที่โดยรอบ เพื่อเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก และได้รับการจัดสรรงบประมาณ ผ่านองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เพื่อนำมาดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว โดยจะเริ่มดำเนินการปรับปรุงตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เป็นต้นไป คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้ใช้ประโยชน์ได้ในปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ในฐานะประธานอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน จึงดำริให้มีการจัดกิจกรรมในวันนี้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินงาน และสร้างการมีส่วนร่วมที่จะนำไปสู่การบริหารจัดการและใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนสืบไป โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ดำเนินการขับเคลื่อนแผนงานโครงการพัฒนาหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก จนมีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม ทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมกิจกรรม เรื่องราวต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในเวทีแห่งนี้ จะเป็นย่างก้าวที่สำคัญในความสำเร็จที่จะดำรงรักษาและรังสรรค์ให้ น่าน เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน สืบไป ดังที่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำรัสต่อพสกนิกรชาวจังหวัดน่าน เมื่อปี พ.ศ. 2547 ความว่า “อยากให้จังหวัดน่านรักษาวัฒนธรรมอย่างนี้ไว้”
บัดนี้ ได้เวลาที่ทุกท่านได้มาพร้อมที่จะสืบสานลมให้ใจให้น่าน ยังคงเป็นเมืองเก่าที่มีชีวิตอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนแล้ว ผมขอเปิดกิจกรรมเวทีรับฟังความเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์อาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่าและพื้นที่โดยรอบเพื่อเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน และขออวยพรการดำเนินกิจกรรมประผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายทุกประการ


ด้าน นายสุขสันต์สันต์ เพ็งดิษฐ์ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 6  ได้เปิดเผยว่าข้อมูลโครงการปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน หลังเก่า เพื่อเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2547 ผู้เข้าร่วมสัมมนา เรื่อง แผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่าน ณโรงแรมซิตี้ปาร์ค จังหวัดน่าน จากทุกภาคส่วน ทั้งส่วนราชการ ภาคเอกชน ประชาชน และองค์กรท้องถิ่น ได้แสงถึงพลังแห่งความตั้งใจและปรารถนาให้เมืองน่านดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของเมืองโบราณล้านนาตะวันออก รวมทั้งความร่วมมือร่วมใจ พร้อมที่จะนำแผนงานโครงการต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ และพัฒนาเมืองเก่าน่าน เพื่อให้เป็นเมืองน่าอยู่ตลอดไปและในที่ประชุมหารือคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2548 มีมติเห็นชอบแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ตามที่คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าเสนอ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการและวางแผนการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่เมืองเก่าน่าน 4 ด้าน1. ด้านการบริหารจัดการ : จัดตั้งองค์กรการบริหารงานอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่านและคณะกรรมการบริหารการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่านที่เป็นเอกภาพ2. ด้านกายภาพ : อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ โดยยึดหลักความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวิวัฒนาการของเมืองและชุมชน เพื่อรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของเมืองเก่าน่าน รวมทั้งมีรูปแบบการพัฒนาที่เป็นไปในลักษณะที่สอดคล้องและสมดุล มีภูมิทัศน์ของเมืองที่เสริมคุณค่าทางประวัติศสตร์ โบราณคดี อนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศน์ รังสรรค์ให้น่านเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน3. ด้านสังคม : พัฒนาเมืองเก่าน่านให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก ที่สืบทอดประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนเป็นศูนย์การศึกษา ค้นคว้า วิจัย รวบรวมวิทยากรด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกทุกแขนง ในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต (Living Museum)4. ด้านเศรษฐกิจ : พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขตพื้นที่เมืองเก่าน่านให้เชื่อมโยงและสมดุลกันระหว่างทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศกับการรักษาสภาพแวดล้อมเมืองเก่า ทั้งในด้านการผลิต การค้า และการท่องเที่ยว จัดตั้งศูนย์เสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้านเศรษฐกิจ


ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2558 เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองเก่าน่าน พร้อมรับทราบแผนปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองเก่าน่าน ตามที่คณะกรรมการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเสนอ ซึ่งแผนปฏิบัติการดังกล่าว องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 17 หน่วยงานตามแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน จัดทำขึ้น โดยผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมประชาคมน่านและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมทั้ง คณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงวัฒนธรรม แผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองเก่าน่าน กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน หลังเก่า และพื้นที่โดยรอบ ให้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก ตามเป้าหมายการพัฒนาของแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน (มติ ครม. 20 ก.ย. 2548)


ในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ภายหลังส่วนราชการต่างๆ ของจังหวัดน่านและองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน ย้ายสำนักงานไปยังศูนย์ราชการจังหวัดน่านแห่งใหม่บริเวณพื้นที่ตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เรียบร้อยแล้ว องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. สนับสนุนงบประมาณจำนวน 5,000,000 บาท แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน เพื่อดำเนินการออกแบบการปรับปรุงอาคารและพื้นที่โดยรอบอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน หลังเก่า เพื่อเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นการใช้ประโยชน์อาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่าจากทุกภาคส่วนในจังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำข้อกำหนดการจ้าง (TOR)  และว่าจ้างดำเนินการออกแบบการปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน หลังเก่าน และพื้นที่โดยรอบ ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาภาคพายัพ (เชียงใหม่) รับเป็นที่ปรึกษาดำเนินการออกแบบ ส่งมอบแบบรูปรายละเอียดการปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน หลังเก่า และพื้นที่โดยรอบ แล้วเสร็จเมื่อ ปีงบประมาณ 2562 อพท. โดยมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน รับเป็นหน่วยประสานขอรับการจัดสรรงบประมาณผูกพัน 4 ปี เริ่มในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 – 2567วงเงิน 203,000,000 บาท จากแผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว เพื่อดำเนินการปรับปรุงอาคารและพื้นที่โดยรอบศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่า ให้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก เนื่องจากเกินขีดความสามารถขององค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน ที่จะขอรับการจัดสรรงบประมาณจากคณะกรรมการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ จังหวัดน่านโดยการเสนอของอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน มีคำสั่งจังหวัดน่านที่ 10172/2563 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2563 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ล้านนาตะวันออก โดยผู้ว่าราชการจังหวัดน่านเป็นประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้


1) กำหนดนโยบายในการบริหารจัดการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ล้านนาตะวันออก 2) กำกับ ติดตาม การบริหารและการจัดการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ล้านนาตะวันออก 3) อื่นๆ ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน หรือคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่านมอบหมาย


การจัดกิจกรรมเวทีรับฟังความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์อาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่าและพื้นที่โดยรอบเพื่อเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน เป็นไปตามดำริของนายวรกิตติ ศรีทิพากร ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ในฐานะประธานคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน และนายวิบูรณ์ แววบัณฑิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลงานด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน ที่ต้องการให้ประชาชนจังหวัดน่าน สื่อมวลชน และบุคคลทั่วไป ได้รับทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับการปรับปรุงอาคารและพื้นที่โดยรอบศาลากลางหลังเก่า ผลการศึกษาออกแบบรายละเอียดการปรับปรุงอาคารและพื้นที่โดยรอบอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน หลังเก่า ให้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก สร้างการมีส่วนร่วมจากภาคีพัฒนาในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์อาคารและพื้นที่ศาลากลางจังหวัดน่าน หลังเก่า ให้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน ภายหลังได้รับการปรับปรุง รวมทั้ง แนวทางการขับเคลื่อนย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์เมืองเก่าน่าน ในฐานะเครือข่ายย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างจังหวัดน่าน ประกอบด้วย สำนักงานจังหวัดน่าน อพท. สำนักงานพาณิชย์จังหวัดน่าน อุตสาหกรรมจังหวัดน่าน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดน่าน และเทศบาลเมืองน่าน กับ สำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้เกิดผลสำเร็จในการเป็นพื้นที่เพื่อการส่งเสริมธุรกิจและบริการเชิงสร้างสรรค์ ที่เชื่อมโยงเรื่องราวของเมืองเก่าน่าน ชุมชน และมรดกทางวัฒนธรรมด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ทั้งด้านธุรกิจและบุคลากร ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองน่านไปสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ให้บรรลุผลสำเร็จในปี 2564 และเกิดผลสำเร็จในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่านให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีมาตรฐานระดับสากล รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้แก่ชุมชนที่เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน


ซึ่ง อพท. ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทในการประสาน ส่งเสริม และสนับสนุน ให้เมืองเก่าน่านและพื้นที่โดยรอบ ไปสู่การเป็น “ต้นแบบ” พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม ที่สามารถนำแผนพัฒนาไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นและภาคีพัฒนาทุกภาคส่วน รับมอบหมายจากจังหวัดน่านให้ดำเนินกิจกรรมเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมในการในการบริหารจัดการอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน หลังเก่า เพื่อเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน ทั้งนี้ จากเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการประกาศพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน การประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองเก่าน่าน การขับเคลื่อนเมืองเก่าน่านให้เป็นเป็นเครือข่ายย่านเศรษฐกิจกสร้างสรรค์ประเทศไทย และการขับเคลื่อนจังหวัดน่านให้เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO อพท. พิจารณาเห็นว่า ปัจจัยความสำเร็จ คือ การสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ตามหลัก Co – Creation (ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์) และการดำเนินการตามเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) ผ่านรูปแบบการท่องเที่ยวอย่างหลากหลาย ทั้ง การท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร และการจัดตั้งเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมด้านการท่องเที่ยว ภายใต้การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ที่มีเป้าหมาย เพิ่มมูลค่าและคุณค่าแก่แหล่งท่องเที่ยว (เลิกเสียทีการท่องเที่ยวราคาถูก) กระจายรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม (หยุดรวยกระจุกจนกระจาย) พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากทุนทางทรพัยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม (เดินหน้าสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์) พัฒนาบุคลากรให้มีขีดความสามารถด้านการแข่งขัน (แน่นอนต้องพัฒนาคน) และสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (พูดคุยกันมากขึ้น) ทั้งนี้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา อพท. โดยการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคม ดำเนินกิจกรรมตามแนวทางดังกล่าวจนเป็นผลสำเร็จ

เช่น การจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์อาคารเก่าเมืองน่าน การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และสืบสานเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น การปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ศาสนสถานในเขตเมืองเก่าน่าน สร้างตนแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม พัฒนานักสื่อความหมาย ยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานและมีเอกลักษณ์ สร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ส่งเสริมการขายและเชื่อมโยงตลาดท่องเที่ยว การจัดตั้งกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเพื่อทำหน้ารที่บริหารจัดการท่องเที่ยวในชุมชนท้องถิ่นตน เพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวด้วยการส่งเสริมให้แหล่งท่องเที่ยวได้รับรางวัลด้านการท่องเที่ยวในระดับสากล ต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น