ปิดการฝึกโครงการพระราชทาน “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง”เรือนจำแม่ฮ่องสอน ประยุกต์ใช้ทฤษฏีใหม่แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง ทำนา สร้างต้นแบบเกษตรทฤษฏีใหม่ตามแนวพระราชทาน

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563 นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้แทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ปิดการฝึกอบรมโครงการโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง ที่เรือนจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมกับมอบเกียรติบัตรให้กับผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 98 คน ที่ผ่านการฝึกอบรม ซึ่งจัดขึ้นโดย นายบัณฑิตย์ เชื้อม่วง ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนนายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กล่าวถึงโครงการพระราชทานโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวังเรือนจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน สำเร็จผลอย่างน่าชื่นชม ผู้สำเร็จการอบรมถือได้ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่จะนำไปใช้ประกอบอาชีพการงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์ความเจริญมั่นคงให้แก่ชาติบ้านเมือง ดำเนินชีวิตและประกอบสัมมาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานไว้สำหรับโครงการพระราชทานโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวังเรือนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้มีการฝึกโครงการพระราชทาน โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวังในเรือนจำ เป็นการประยุกต์ใช้ทฤษฏีใหม่แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง ทำนา เพื่อสร้างต้นแบบเกษตรทฤษฏีใหม่ในพื้นที่ขนาดเล็ก โดยสามารถดำเนอินการได้ในทุกเงื่อนไขของพื้นที่ และมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพื้นฐานความคิดการฝีกวินัย การลงมือปฏิบัติ ตลอดจนการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริงเพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นที่ได้รับความเดือดร้อนได้เมื่อพ้นโทษออกไปภายนอก

โครงการพระราชทาน โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวังเรือนจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีผู้ต้องขังเข้ารับการฝึก เป็นผู้ต้องขังคนไทย 91 คน ผู้ต้องขังชาวต่างชาติ 7 คน รวม 98 คน โดยฝึกปฏิบัติเป็นเวลา 14 วัน ระหว่างวันที่ 1-14 ก.ย.63 ที่ผ่านมา แบ่งการฝึกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การอบรมพึ่งตนเองด้วยทฤษฏีใหม่เศรษฐกิจพอเพียง และการแปลงทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย การออกแบบแนวคิด การบริหารจัดการพื้นที่ขนาดเล็ก การประยุกต์ทฤษฏีใหม่แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง ทำนา ตามภูมิสังคมลงบนกระดาน การสร้างพื้นที่จำลอง และวางแผนการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อพอกิต พออยู่ พอใช้ และพอร่มเย็น

ร่วมแสดงความคิดเห็น