ยื่นข้อเรียกร้อง ยึด ! กฎรุกโบราณสถาน คาดนครเชียงใหม่ส่อจับปรับกันโกลาหล

กลุ่มอนุรักษ์เมืองเชียงใหม่ กล่าวว่า กระแสที่ภาคประชาสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเห็นต่างทางการเมือง ยื่นข้อเรียกร้อง
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บังคับใช้ พ.ร.บ.โบราณสถาน ฯ พ.ศ.2504 กรณีการบุกรุกโบราณสถานนั้น การหยิบยกกล่าวอ้าง บางมาตราขึ้นมา อาจสร้างความวุ่นวายในสังคมได้ เช่นในมาตรา32 ระบุว่า ผู้ใดบุกรุกโบราณสถาน หรือทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งโบราณสถาน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 7 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

” ถ้าการกระทำความผิดในแหล่งโบราณสถานขึ้นทะเบียนยิ่งมีโทษหนักคือ จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1
ล้านบาทปรับ หรือทั้งจำและปรับ”

หากจะเล็งประโยชน์เฉพาะมาตราใด มาตรหนึ่งไม่ยึดโยงมาตราอื่น ๆ ประกอบด้วย อาทิ มาตรา 7 ใน วรรค 2 ระบุ
ว่า ถ้าโบราณสถานนั้นมีเจ้าของ หรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้อธิบดีกรมศิลปากร มีอำนาจแจ้งเจ้าของ หรือผู้ครอบครองก่อนจะประกาศขึ้นทะเบียน และมาตรา 7 ทวิ ยังระบุข้อความ “ห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างอาคารตามกฎฆมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร ภายในเขตโบราณสถาน ซึ่งประกาศขึ้นทะเบียน เว้นแต่จะได้รับอนุญาต”

ซึ่งอาจจะคลายข้อสงสัยได้บ้างว่าเหตุใดบางแหล่งโบราณสถาน จึงมีผู้คนสร้างอาคารที่พักได้ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่งกำกับดูแลพื้นที่ แหล่งโบราณสถานในเชียงใหม่ แสดงความคิดเห็นว่า ถ้ายกตัวอย่างกรณีกำแพงเมือง เขตเมืองเก่า การขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร กำแพงเมือง-คูเมือง(ชั้นนอก) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 95 ตอนที่ 98 วันที่ประกาศ 19 กันยายน พ.ศ.2521 ส่วนกำแพงและคูเมืองเชียงใหม่ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 หน้า 3682 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478 ก่อนที่จะมี พ.ร.บ.โบราณสถานฯ 2504 ด้วยซ้ำ และการดูแลรักษา จะมีทั้งกรมศิลปากร, กรมธนารักษ์, เทศบาลนครเชียงใหม่

ดังนั้นการจะยึดโยง ไล่รื้อ กลุ่มบุกรุกแหล่งโบราณสถานออกไป ทั้ง ๆ ที่เห็นป้ายประกาศของกรมศิลปากร อยู่หน้าที่พักซึ่งสร้างบนแนวกำแพงดิน ต้องย้อนไปที่การออกเลขที่บ้าน การจัดหาบริการพื้นฐาน น้ำ ไฟ และสวัสดิการอื่น ๆ ตามระเบียบท้องถิ่นเกิดขึ้นได้อย่างไร ด้านราชพัสดุก็กำหนดระเบียบการเก็บค่าเช่าได้ตามภารกิจที่ได้รับมอบ เป็นต้น หน้าที่แต่ละหน่วยงาน มีกฎระเบียบต่าง ๆ รองรับ ไม่ใช่คิดจะทำอะไรได้ตามอำเภอใจ

” ในเมืองโบราณ ทุก ๆ แห่งจะมีปัญหา การอยู่อาศัย ทับซ้อนกับแหล่งโบราณสถานทั้งนั้น แม้กระทั่งเวียงกุมกาม ที่มี
การขุดค้นพบร่องรอยเมืองโบราณ ต้องจัดสรรงบประมาณ ส่วนหนึ่งซื้อที่ดินคืนจากเอกชน ผู้ครอบครองที่โบราณสถานหลายแหล่งวิธีการที่จะรักษาเมืองโบราณ แหล่งมรดกแผ่นดินไว้ คือการจัดระเบียบ ป้องกันการบุกรุกเพิ่ม และพื้นที่ ตามพ.ร.บ.โบราณสถานฯ พศ.2504 นั้น มีทั้งการใช้ประโยชน์ของส่วนราชการ, เอกชน, ชาวบ้าน และวัด
กลุ่มศาสนสถาน ที่เราพบเห็นภาพแนวกำแพงวัดเก่าแก่ มีอาคาร ที่พัก โรงแรม สร้างชิดติดวัด ต้องตรวจสอบว่าอยู่ในเงื่อนไข หลักเกณฑ์ใด “

ปัจจุบันสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) แจ้งว่าที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) มีมติเห็นชอบเกี่ยวกับการให้
เช่าที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ เพื่อสร้างอาคารพาณิชย์หรืออาคารอื่นใดเพื่อใช้แสวงหาผลประโยชน์ที่วัดจะพึงได้รับทั้งเงินบำรุงวัด ค่าเช่าอาคาร

” กระบวนการอนุญาตต้องรายงานคณะกรรมการ พศป. และ มส.ก่อน และจะดำเนินการได้ต่อเมื่อ มส.ให้ความเห็น
ชอบแล้วเท่านั้น ปรับแก้แนวทางจากเดิมที่หากเป็นสัญญาเช่าไม่เกิน 3 ปีให้เป็นอำนาจเจ้าอาวาสพิจารณาได้เลย ปัจจุบันมีขั้นตอนรัดกุม ไม่ให้ผู้ใดผู้หนึ่งตัดสินใจโดยไม่คำนึงถึงส่วนรวม แต่จะไม่ครอบคลุมย้อนอดีตที่ผ่านมา ”

การจะไปรื้อกลุ่มรุกแหล่งโบราณสถานในเมืองเก่า เฉพาะนครเชียงใหม่ คงโกลาหลจับปรับกันวุ่น เผลอ ๆ มีปัญหา
ด้านมวลชนบานปลายกันอีก สิ่งที่เห็นเชิงประจักษ์ต้องควบคุมใช้กฎกติกาที่แก้ไขเข้าไปจัดการ ไม่ให้ทุบทำลายเมืองเก่าอย่างโจ่งแจ้ง ต้องเน้นป้องกัน จำกัดการบุกรุก ทุกวันนี้ค่อนข้างทำได้ยาก จุดใด สถานที่ใด ถ้าสื่อสังคมติดตาม ตรวจสอบ มักจะได้รับการดูแลใส่ใจ จุดประกายขึ้นมาเป็นระลอก เช่น กรณีบุกรุกสนามหลวง ซึ่งทุกคนรับรู้ว่าเป็นเขตโบราณสถาน “

ร่วมแสดงความคิดเห็น