รับความเร็ว 120 กม./ชม. ทล.เร่งสร้างทางลอดอุโมงค์ ถนนไฮเวย์เอเชีย

สำนักทางหลวงที่ 1 เชียงใหม่ กรมทางหลวง( ทล.) แจ้งว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ระบุเรื่องใช้ความเร็ว 120 กม./ชั่วโมง ขณะนี้อยู่ระหว่างประกาศเป็นกฎกระทรวง เรื่องอยู่ที่กฤษฎีกาพิจารณา เมื่อส่งเรื่องกลับมาแล้วจะเร่งลงนามทันที


” เบื้องต้นได้นำถนนสายเอเชียระยะทางประมาณ 50 กม.มาดำเนินการก่อน ซึ่งได้สั่งให้กรมทางหลวง(ทล.)ไปตรวจสอบให้มีกายภาพที่ปลอดภัย มีความพร้อมเพื่อรองรับอันตราย ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเปิดใช้พร้อมกันหรือทั่วทั้งประเทศ ”

ทั้งนี้นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่าเส้นทางที่กำหนดไว้ ยังไม่สามารถติดตั้งป้ายกำหนดความเร็ว 120 กม./ชั่วโมงได้ เนื่องจากยังไม่มีการประกาศกฎกระทรวงที่มีผลบังคับใช้ เส้นทางนำร่อง 150 กม.มีแผนขยายถึง จ.นครสวรรค์ อีก 150 กม.

เบื้องต้นพบว่ามีจุดกลับรถราว 30 จุด โดยได้รับงบประมาณปี 2564 ไปดำเนินการจัดทำจุดกลับรถทั้งหมดจากรูปแบบปัจจุบัน เป็นจุดกลับรถพื้นราบจะออกแบบเป็นอุโมงค์ทางลอด หรือเกือกม้าเพื่อให้เข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้รองรับความเร็ว 120 กม./ชั่วโมง คือ เกาะกลางเป็นบาริเออร์ ถนนขนาด 4 ช่องจราจร ไม่มีจุดกลับรถพื้นราบ เป็นต้น
วัตถุประสงค์ดังกล่าว ไม่ได้ดำเนินการเพื่อรองรับ 120 กม./ชั่วโมงเท่านั้น การทำอุโมงค์ทางลอดหรือเกือกม้ายังมีแผนดำเนินการ ในหลายจุดหลายเส้นทาง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ซึ่งสายเอเชียมีประมาณ 3 จุดใหญ่ นอกจากนั้น ยังจะพัฒนาในเส้นทางอื่นๆที่มีความพร้อมอีกด้วย โดยเฉพาะเส้นทางสายใหม่ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา

” ถนนจะใช้ความเร็ว 120 กม./ จะเริ่มระยะทาง 50 กม. แล้วขยายเพิ่มต่อเนื่องกันไปเพื่อให้เห็นข้อบกพร่องต่างๆที่จะแก้ไขให้ดีทั้งเรื่องความสะดวก ปลอดภัย หลังจากนั้นค่อยประเมิน 3 เดือนว่ามีอุบัติเหตุลดลงหรือไม่ ”
ล่าสุดได้ส่งหนังสือถึง 14 หน่วยโดยเป็นสถาบันการศึกษาต่างๆ 12 แห่งเพื่อร่วมพิจารณาในรายละเอียดต่างๆ กรณีที่จะมีการปรับแก้ไขแบบต่างๆในเส้นทางว่าเป็นไปตามหลักวิศวกรรมเหมาะสมกับสภาพพื้นที่หรือไม่ เป็นต้น หลังจากนั้นช่วง พ.ย.-ธ.ค.จะเร่งนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อไป

สำหรับการเพิ่มงบประมาณมีอยู่ 4 ประเด็นหลัก คือ1. บางตอนอาจเพิ่มรายละเอียดโดยแบบที่จะใช้ประกวดราคาเป็นของปี 2559 ปัจจุบัน บางตอนสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป 2.เกิดจากทางด้านหลักทางวิศวกรรม เช่น พื้นช่วงที่เจาะดินแน่น หรือมีหินผุหรือไม่ หากออกแบบเป็นดินถมซึ่งมีน้ำหนักอาจไม่เหมาะ โดยอาจทำเป็นเสาเข็มแทน จึงต้องปรับแบบให้เหมาะกับสภาพทางธรณีวิทยา

3.การเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทำทางขนานหรือรูปแบบอื่นไว้ เมื่อลงพื้นที่สำรวจแล้วเห็นว่าไม่เหมาะสม จะต้องทำแบบอื่นและ 4. จุดที่ผ่าน เช่น คลองชลประทาน ที่จะมีสะพานข้ามคลอง อาจออกแบบสะพานสูงไม่พอ จะออกแบบใหม่ให้สูงขึ้นอาจจะเพิ่มโครงสร้างยาวขึ้นกว่าเดิม เบื้องต้นทล.ส่งข้อมูลไปที่สำนักงบประมาณตั้งแต่ปี 2562 จึงต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้เป็นปัจจุบัน

ทั้งนี้ทล.เสนอ 17 ตอนโดยจะเสนอเข้าครม.ทีละตอนต่อเนื่องกันไป สำหรับภาพรวมงานโยธาทั้งสิ้นประมาณ 7 หมื่นล้านบาท แต่ขณะประกวดราคาตามแบบของปี 2559 มีวงเงินประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ดังนั้นกรอบงบประมาณที่ครม.อนุมัติเมื่อปี 2558 จึงเหลือประมาณ 1 หมื่นล้านบาท หากมีงบประมาณเพิ่มทางรัฐบาลจะต้องจ่ายงบเพิ่มปัจจุบันความคืบหน้าตามสัญญากว่า 90% แล้ว

ในประเทศไทย ถนนสายเอเชีย( เอเอช.1) จะเริ่มต้นที่ ทางหลวง(ทล.)หมายเลข 33 ด่านศุลกากร อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว มุ่งสู่ จ.ปราจีนบุรี, นครนายก เข้าสู่ทล. 1 ที่ จ.สระบุรี ไป จ.ลพบุรี แยกไปทล. 311 เข้าสู่ทล. 32 ที่ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา มุ่งสู่ สิงห์บุรี, ชัยนาท รวมกับทล. 1 ไปยัง นครสวรรค์, กำแพงเพชร และสิ้นสุดเส้นทางในไทยที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ที่ทล. 12ข้ามแม่น้ำเมย ไปยังเมืองเมียวดี ประเทศเมียนมา รวมระยะทาง 716 กม.
ถนนสายเอเชีย เอเอช.2 จะเริ่มต้นที่ ทล. 4 ถนนเพชรเกษม ด่านศุลกากร อ.สะเดา จ.สงขลา, พัทลุง วิ่งไปยังทล. 41 เข้า นครศรีธรรมราช, สุราษฏร์ธานี รวมกับทล. 4 ที่ จ.ชุมพร ผ่าน ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, ราชบุรี, นครปฐม มุ่งสู่ กรุงเทพ แยกไปทางถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตก ที่เขตบางแค ออกไปทาง อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ไปยัง อ.บางปะอิน ก่อนที่จะบรรจบกับทางหลวงสายเอเชีย เอเอช.1 ที่ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา มุ่งสู่ อ่างทอง, สิงห์บุรี, ชัยนาท รวมกับทล. 1 ไปยัง จ.นครสวรรค์, กำแพงเพชร, ตาก, ลำปาง, พะเยา ก่อนที่จะเข้าสู่ตัว จ.เชียงราย และไปสิ้นสุดเส้นทางในไทยที่ ด่านศุลกากร อ.แม่สาย และข้ามไปยังเมืองท่าขี้เหล็ก ของเมียนมา รวมระยะทาง 1,916 กม.

เครือข่ายลดอุบัติเหตุภาคเหนือ ( เชียงใหม่ ) ระบุว่า องค์ประกอบการเกิดอุบัติเหตุ มี 3 ส่วนคือ ถนน ,รถและคน หากจะไฟเขียวให้ถนนสายหลักๆ ประเภท มอเตอร์เวย์, ไฮเวย์สายสำคัญๆ ใช้ความเร็ว 120 กม./ ชม. ก็จะมีผลรับ 2 ด้านคือ ผู้ใช้รถ ใช้ถนนทุกวันนี้ก็ทำความเร็วระดับนั้นเป็นส่วนมาก ก็จะไม่ถูกจับปรับเรื่องความเร็วเกินกำหนด ลดปัญหากระทบกระทั่งด้านการจราจรระหว่างเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายกับผู้ขับขี่ได้

แต่ก็จะมีปัญหาอีกด้านคือความรุนแรงจากอุบัติเหตุ ที่พบว่า ความเร็วสูงคือหนึ่งในปัจจัยที่สร้างความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง ประกอบกับสมรรถนะยานยนต์ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพ ในการขับขี่เร็วกว่ากฎหมายกำหนดทั้งนั้น พฤติกรรมการขับขี่ถนนว่างโล่งๆก็ขับขี่มากกว่า 100 กม./ชม. ทั้งนั้น ต้องพิจารณาให้รอบคอบว่า สภาพพื้นผิวถนนในบ้านเรา เหมาะสมที่จะรองรับความเร็ว 120 ก/ชมและปลอดภัยมากน้อยเพียงใด

ร่วมแสดงความคิดเห็น