“ม่อนแจ่ม” รออวสาน ใช้ ม. 25 ร่วมแผน คทช.แก้ปัญหา “ที่ดิน ที่อยู่ ที่ทำกิน “

คณะทำงาน โครงการจัดการที่ดินชุมชน (คทช. ) เชียงใหม่ กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบาย
ที่ดินแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มอบหมายแนวทาง การจัดการที่ดินของรัฐ 6 กลุ่ม ซึ่งจะเป็น         ป่าสงวนแห่งชาติ (ร้อยละ 90 ของพื้นที่) ดำเนินการตามโครงการ ฯ นอกนั้นจะเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน           ที่ดินสาธารณประโยชน์ ที่ราชพัสดุ ที่ดินสงวนเพื่อกิจการนิคมในนิคมสร้างตนเอง และป่าชายแลน โดยตาม         เป้าหมายนั้นในเชียงใหม่ซึ่งเป็นป่าสงวน ฯ เป็นส่วนใหญ่ เช่น ป่าขุนแม่ทา เนื้อที่กว่า 7,282 ไร่ 2,693 แปลง   บริหารจัดการคน 1,374 ราย ,ป่าจอมทอง ราวๆ 12,192 ไร่ 2,291 แปลง บริหารจัดการคน 1,500 ราย
ป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง 2,308 ไร่ 569 แปลง จัดการคน 428 ราย และชุมชนหัวฝาย พื้นที่กว่า 1,836 ไร่ 394 แปลง     จัดการคน 294 ราย เป็นต้น

ทั้งนี้ผู้ตรวจราชการกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ภาคเหนือ กลุ่ม 1 ระบุว่า การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน
ทั่วประเทศนั้น เป็นไปตามตามยุทธศาสตร์ชาติการลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ กระจาย          การถือครองที่ดิน และการเข้าถึงทรัพยากร โดยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างเขตพื้นที่ป่าทับซ้อน รวมถึง        การปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเป็นธรรม
โดยนโยบายการจัดที่ดินที่อยู่ที่ทำกินให้ชุมชนของ คทช. ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายนั้น มีทั้งรูปแบบจัดที่ดิน  ให้ผู้ยากไร้ โดยไม่ให้กรรมสิทธิ์แต่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐเป็นกลุ่มหรือชุมชน ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่เหมาะสม ” ที่ดินของรัฐทุกประเภท ต้องป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกเด็ดขาด โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำ 1 และ 2 ซึ่งในหลักการต้องให้ผู้บุกรุกออกจากพื้นที่ และให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาหาแนวทางแก้ไขให้เหมาะสม ต้องเร่งแก้ไขปัญหา ชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการอยู่อาศัยและทำกินในเขตป่าโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลานาน โดยยึดหลักกฎหมาย และการมีส่วนร่วมรับฟังความคิดเห็น หาทางออกของปัญหาชุมชนร่วมกัน”


อย่างไรก็ตาม คณะทำงาน จัดระเบียบพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ริม จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่าบริเวณท้องที่         บ้านปางไฮ หมู่ 5 บ้านหนองหอยเก่า, หมู่ 7 บ้านหนองหอยใหม่, หมู่11 ต.แม่แรม และ บ้านโป่งแยงนอก หมู่ 2 ต.โป่งแยง ซึ่งทั้งหมดอยู่ใน อ.แม่ริม และเรียกกันว่า ม่อนแจ่มนั้น “เขตพื้นที่อยู่ภายใต้มติคณะรัฐมนตรี 30 มิ.ย. 2541 พบว่า ปัจจุบันมีการประกอบธุรกิจโรงแรม หรือบ้านพัก, ที่พักตากอากาศหลากรูปแบบ หรือร้านอาหาร ร้ากาแฟ ทั้งที่มีลักษณะสร้างถาวร และชั่วคราว เป็นจำนวนมาก ไม่เป็นไปตามกฎหมายโรงแรม, ผังเมือง,และการควบคุมอาคาร”
จนกระทั่งต่อมามีการสำรวจตรวจสอบ จนนำไปสู่ประกาศป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ปกครอง ท้องที่ กระทรวงมหาดไทยฉบับต่างๆ เพื่อจัดระเบียบ กว่าร้อยแห่งและถูกดำเนินคดีร่วม 30 แห่ง ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ม.25 ตามพรบ.ป่าสงวน ฯ ในการรื้อถอน ให้คืนสภาพ แต่ก็ยังมีการดื้อแพ่ง ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ยกตัวอย่าง กรณีไร่นาย เดิม เป็นที่ดินของราษฎรในพื้นที่ ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีการปลูกพืชผักเมืองหนาวกว่า 50 ไร่ และผู้ประกอบการไร่นาย ดำเนินการ ในพื้นที่ร่วม ๆ 5 ไร่ ไม่มีเอกสารหลักฐานตามประมวลกฎหมายที่ดิน
เมื่อมีนโยบายจัดระเบียบม่อนแจ่ม และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 เชียงใหม่ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ              ตามโครงการ “ติดตาม ตรวจสอบ พบการกระทำความผิด ตามพรบ. ป่าไม้ 2484 มาตรา 54 และ 55  พรบ.ป่าสงวน
ตลอดระยะเวลาที่ มีการเปิดโอกาสให้ผู้ดูแล ไร่นาย ดำเนินการตามขั้นตอน ท้ายที่สุดก็ต้องมีการรื้อถอน ซึ่งในพื้นที่ต้องดำเนินคดีทั้งหมด ตามที่รับทราบกันนั้น ไม่ได้มีเจตนา สร้างผลกระทบต่อภาคบริการ ภาคการท่องเที่ยว เพราะขั้นตอนที่ดำเนินการมานั้น มีทั้งพิสูจน์ทราบ ให้โอกาสชี้แจง มีการอุทธรณ์ จนถึงต้องบังคับใช้กฎหมายมีกรอบเวลากำหนดไว้ แต่ละสถานที่ไม่เหมือนกัน บางรายส่งเอกสารชี้แจงเพิ่มเติม บางส่วนร้องค้าน บางกลุ่มเรื่องยุติแล้ว รอรื้อถอนก็มี ต่อไปภาพการผุดที่พัก เปิดบริการรูปแบบต่าง ๆ ในเขตป่าสงวน จะไม่มีในเชียงใหม่ โดยม่อนแจ่ม จะเป็นหนึ่งในบทเรียนให้ กลุ่มทุนตระหนัก รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมร่วมกัน รวมถึงชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวด้วย ซึ่งกระแสสังคมเริ่มไม่ยอมรับกิจการที่พักที่บุกรุกป่ากันเพิ่มมากขึ้น เต๊นท์ที่กางกันตามแนวดอยต้องไม่มีสภาพอย่างที่เห็น ถ้าเป็นที่เอกชนก็ทำไป ถ้าเขตป่าสงวน ฯ ต้องทำเท่าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ตามสิทธิ เงื่อนไขในโครงการแรกเริ่ม ไม่ใช่ทำอะไรได้ตามอำเภอใจ ”

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น