Chilica-Pod นวัตกรรมอ่านค่าความเผ็ดร้อนของพริก ด้วยสมาร์ทโฟนโดยนักวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

สงขลานครินทร์ (ม.อ.)  โชว์ศักยภาพนักวิจัยและคณะทีมวิจัยคณะวิทยาศาสตร์สุดเจ๋ง ลุยวิจัยและพัฒนา “เครื่องวัดสารให้ความเผ็ดในพริกแบบพกพา” นวัตกรรมใหม่ตรวจปริมาณสารแคปไซซิน (Capsaicin) ที่อยู่ในพริกทุกชนิด วัดความเข้มข้นได้ถึง 0.37 μM ในตัวอย่างที่เจือจาง มีความแม่นยำสูง ราคาถูก ใช้งานง่ายเชื่อมต่อบนสมาร์ทโฟน หวังช่วยยกระดับอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยาและเฮลธ์เทค (Healthtech) ของประเทศไทย

นวัตกรรมชิ้นนี้เป็นผลงานวิจัยในของ รศ.ดร.วรากร ลิ่มบุตร นายอัสมี สอและ น.ส.กัสริน สายสหัส นายเกียรติศักดิ์ พรหมสุวรรณ์ รศ.ดร.เพริศพิชญ์  คณาธารณา และ รศ.ดร.ปณต ถาวรังกูร คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ในชื่อ อุปกรณ์สารให้ความเผ็ดในพริกแบบพกพา โดยงานวิจัยชิ้นนี้ จะเป็นเครื่องตรวจวัดปริมาณ แคปไซซิน (Capsaicin ) ที่อยู่ในพริก ซึ่งสารชนิดนี้จะทำเส้นประสาทของเราส่งสัญญาณเดียวกันนี้ไปยังสมอง คุณจึงรู้สึกเหมือนมีอะไรที่ร้อนๆในปาก ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นผลดีต่อคนที่ไม่รับประทานเผ็ด โดยคนที่แพ้แคปไซซิน อย่างรุนแรง อาจมีแผลพุพองในคอ อาเจียน และแม้กระทั่งอาการช็อกถ้ามีอาการแพ้อย่างรุนแรง  แต่ในอีกมุมหนึ่ง แคปไซซินในพริก ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการรวมถึงฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นต่อต้านสารก่อมะเร็ง แต่ต้องอยู่ปริมาณที่เหมาะสม

อุปกรณ์สารให้ความเผ็ดในพริกแบบพกพา พัฒนาออกมาในรูปแบบอุปกรณ์พกพาที่ใช้กับสมาร์ทโฟน โดยมีวิธีการใช้งานที่งาน แม่นยำ และราคาถูก โดยได้รับการตีพิมพ์จากวารสาร ACS Applied Nano Materials โดยได้พัฒนาออกมาเป็นรูปแบบเสมือนพริกขี้หนู โดยจากผลการทดลอง อุปกรณ์วัดความเข้มข้นของแคปไซซินได้อย่างแม่นยำและสามารถตรวจจับได้ถึง 0.37 μM ในตัวอย่างที่เจือจาง โดยงานวิจัยชิ้นนี้ ได้รับความสนใจจากสื่อต่างประเทศร่วม 30 สื่อที่ตีพิมพ์และประชาสัมพันธ์งานวิจัยชิ้นนี้ (อ้างอิง : https://acs.altmetric.com/details/90559375/news) ซึ่งเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ได้รับรางวัลการเขียนข้อเสนอโครงการ ระดับดีเด่น  สาขาการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร  ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 (Thailand Research Expo 2020) ที่ผ่านมาด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น