จ.แพร่เปิดโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจังหวัดแพร่ ระยะที่ 2

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 ที่ห้องนครา แกรนด์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมแพร่นครา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้มีพิธีเปิดโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจังหวัดแพร่ ระยะที่ 2 โดย มีนายอดุล เทพกอมศึกษาธิการจังหวัดแพร่ เป็นประธาน ดร.ประทีป บินชัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนแพร่ กล่าวรายงานว่า
ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบัน ความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการศึกษา เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วน จักต้องระดมสรรพกำลังช่วยกันทำให้เกิด ความเสมอภาคทางการศึกษาให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะเป็นปัจจัยรากฐานสำคัญที่จะช่วย ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยถือว่าเป็นปัญหาสำคัญที่สุด เรื่องหนึ่งของประเทศไทย เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา รวมไปจนถึงการพัฒนาทักษะทางด้านอาชีพ และการเสริมสร้างคุณภาพ และประสิทธิภาพแก่ครู และสถานศึกษาให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษาให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีคุณภาพ

โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของกลไกสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาระดับจังหวัด ในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายด้วยเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่
2. พัฒนาให้เกิดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวางแผนลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และติดตามช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย
3. พัฒนาระบบตัวอย่างเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาของกลุ่มเป้าหมายของเด็กปฐมวัย ในครอบครัวที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสที่เข้าศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา
ปีงบประมาณ 2562 ที่ผ่านมา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้ร่วมกับ 20 จังหวัดนำร่อง ในการดำเนินงานโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ระยะที่ 1 โดยจังหวัดแพร่ เป็นหนึ่งใน 20 จังหวัดนำร่อง ในการสำรวจเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาจังหวัดแพร่ ทำการสำรวจและคัดกรองเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา พื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอสูงเม่น จำนวน 4,219 คน เป้าหมายให้ความช่วยเหลือ 250 คน และได้ดำเนินส่งมอบเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาจังหวัดแพร่ พร้อมงบประมาณ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563
ในปีงบประมาณ 2563 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจังหวัดแพร่ ระยะที่ 2โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา พื้นที่ดำเนินการทุกอำเภอในจังหวัดแพร่ เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา มีอายุ 3-21 ปี จำนวน 6,059 คน เพื่อทำการคัดกรองและให้ความช่วยเหลือ จำนวน 1,000 คนหรือมากกว่า และเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 143 แห่ง มีเด็กปฐมวัย จำนวน 3,751 คน เพื่อทำการคัดกรองและให้ความช่วยเหลือ จำนวน 1,800 คน หรือมากกว่า ที่ผ่านระบบการติดตาม ประเมินผลคัดกรองแล้ว พร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการ และเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาตามแผนการช่วยเหลือ เพื่อสร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำทางการทางการศึกษา สู่โอกาสให้เด็กกล้าที่จะก้าวตามฝัน มีความหวังและเป็นอนาคตของชาติได้อย่างเต็มศักยภาพ
แนวทางการดำเนินงานตามโครงการมีการจัดตั้งคณะทำงานระดับจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมค้นหากลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ สร้างภาคีเครือข่าย วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการศึกษา ของจังหวัดแพร่ สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายพร้อมทั้งจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ถอดบทเรียน วิเคราะห์สถานการณ์ วิเคราะห์สภาพปัญหาของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา และคัดเลือกกลุ่มเพื่อสนับสนุนกระบวนการช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาตามแผนการช่วยเหลือ และสรุปผลการดำเนินงาน โดยมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2564
โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจังหวัดแพร่ ระยะที่ 2 ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจาก คุณนิสา แก้วแกมทอง รักษาการผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการเรียนรู้เชิงพื้นที่ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
นายอดุล เทพกอมศึกษาธิการจังหวุดแพร่ กล่าวกับผู้เข้าร่วมปนะชุมว่า เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา คือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสและความเสมอภาค ในด้านการเข้าถึงคุณภาพของการจัดการศึกษา เนื่องจากสภาวะความยากจน ปัญหาด้านสังคม เศรษฐกิจ และครอบครัว ทำให้นักเรียนบางส่วนต้องออกจากระบบการศึกษา ซึ่งพบว่ายังมีเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษาเฉลี่ยถึงร้อยละ 20 จากสถิติการเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาที่สูงถึงร้อยละ 88.3 ลดลงในระดับมัธยมศึกษาเหลือร้อยละ 68.2 ถึงแม้จะมีนโยบายเรียนฟรี แต่สภาวะความยากจน ปัญหาด้านสังคม ครอบครัวและจากเศรษฐกิจ ทำให้นักเรียนบางส่วน ต้องออกจากระบบการศึกษา ปัญหาเด็กที่ออกกลางคันหรือไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาทำให้ขาดโอกาส การพัฒนาทักษะการทำงานที่เหมาะสมสร้างผลกระทบต่อประเทศในด้านการพัฒนา เนื่องจากเกิดการสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าจากคนกลุ่มนี้ จึงทำให้เห็นความเป็นพลวัตและเชื่อมโยงของปัญหาที่มีผลต่อกันระหว่างปัญหา ด้านการศึกษากับความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศ จากเด็กด้อยโอกาสและไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษามีผลต่อศักยภาพด้านแรงงานและการมีงานทำของประเทศ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.2561 มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู และในปี 2563 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้ดำเนินโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
โดยมีเป้าหมายเพื่อให้จังหวัดมีขีดความสามารถที่จะดำเนินมาตรการจัดการศึกษาหรือสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาได้เองในระยะยาว ซึ่งจังหวัดแพร่ เป็นหนึ่งใน 20 จังหวัด ที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้
ขอบคุณ คุณนิสา แก้วแกมทอง รักษาการผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการเรียนรู้เชิงพื้นที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ที่ให้เกียรติมาชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ จัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจังหวัดแพร่ ระยะที่ 2 ในวันนี้
หลังเปิดการแระชุม
พบกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และแนวทางการสนับสนุนโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ฯ
โดย น.ส.นิสา แก้วแกมทอง รักษาการผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการเรียนรู้เชิงพื้นที่ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
นำเสนอผลงานและบทเรียนการดำเนินงานโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ฯ จังหวัดแพร่ ระยะที่ 1 และชี้แจงการดำเนินงานโครงการ ระยะที่ 2โดย ดร.ศุภกฤต กันต์ธีราทร ผู้รับผิดชอบโครงการ
การระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดเป้าหมายด้านการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่
เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจังหวัดแพร่
โดย ทีมวิทยากรกระบวนการ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ฯ จังหวัดแพร่ ระยะที่ 2 ร่วมกับคณะทำงานหลัก (Core Team) ของโครงการฯ

ร่วมแสดงความคิดเห็น