รุกใช้ประโยชน์ป่าสงวน ทำกินในที่ดินสหกรณ์ต้องเสียภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง

จ.เชียงใหม่แจ้งว่าตามที่ อ.แม่ริม ได้รับรายงานจาก อบต.สะลวง ขอหารือแนวทางปฏิบัติในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กรณีมาตรา 8 ที่ระบุให้ที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สิน ได้รับการยกเว้นตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งมี 12 อนุมาตรา แต่ไม่มีมาตราใดบัญญัติกรณีที่ดินป่าสงวน ฯ ที่มีบุคคลบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ และกรณีที่ดินนิคมสหกรณ์ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษี ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติ ทาง จ.เชียงใหม่ จึงได้ส่งประเด็นข้อหารือไปยังกระทรวงมหาดไทย ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นด้วยกับรายละเอียดที่คณะกรรมการภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง จ.เชียงใหม่

โดยกรณีที่ดินป่าสงวนฯที่มีบุคคลบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ ผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว มีหน้าที่เสียภาษี ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างได้ให้คำปรึกษา คำแนะนำ พร้อมแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ถือปฏิบัติ ตามหนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทย เมื่อ 16 มิ.ย. 2563 และในมาตรา 5 ของ พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดว่า ผู้เสียภาษี หมายความถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง หรือเป็นผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ ประกอบกับมาตรา 6 และ 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 กำหนดว่า ให้รัฐบาลมีอำนาจจัดการที่ดินของรัฐ

“การจัดการทีดินในรูปแบบนิคมสหกรณ์ ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข ที่ได้รับอนุญาตจึง เป็นผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามกฎหมายด้วย” ทั้งนี้ข้อมูลสำมะโนเกษตร จ.เชียงใหม่ ระบุว่า ใน 25 อำเภอ          มีเนื้อที่ถือครองที่ดินทำการเกษตรทั้งสิ้น 1,211,249 ไร่ เป็นพื้นที่มีผู้ถือครองทำการเกษตร 6 หมื่นกว่าไร่ เนื้อที่ไม่ใช่ของตนเองกว่า 5 หมื่นไร่ ซึ่งมีทั้งที่ป่าเสื่อมโทรม กว่า 4 หมื่นไร่ ในจำนวนกว่า 1.2 ล้านไร่นั้น มีหนังสือกรรมสิทธิ์ถือครองทั้งโฉนด นส.4,นส.3,นส.3 ก.นส.3 ข. ,ตราจอง,นส.5 กว่า 71,292 ไร่ ส่วนที่,สปก.4-01,นค., สทก., กสน, มีกว่าหมื่นไร่ ที่เหลือจะเป็น นส.2, สค.1 , ภบท. และ อ.3 ซึ่งปัจจุบันมีการดำเนินการ

แก้ปัญหาด้านที่ดิน ในรูปแบบโฉนดชุมชนและโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ตามนโยบายรัฐบาล ( คทช.)
เครือข่ายจัดการที่ดิน จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า เนื่องจาก ศักยภาพของพื้นที่หลายๆอำเภอ มีความโดดเด่นด้านการท่องเที่ยว, การลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะ แม่ริม, หางดง, สะเมิง, เชียงดาว จึงเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้ อปท.
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านที่ดิน เร่งแก้ไขปัญหาการบุกรุก การเช่าช่วงที่ดิน ที่ผิดกฎหมายพร้อมยึดมาตรการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด มีการบังคับใช้กฎหมายแล้ว กลายเป็นข้อพิพาทในชุมชน เช่น ม่อนแจ่ม, เชียงดาว และอีกหลาย ๆ พื้นที่

ร่วมแสดงความคิดเห็น