กดราคารับซื้อข้าว ชาวนาเหนือจุก ขาดทุน หวั่นซ้ำรอยดอกคำใต้

เครือข่ายชาวนาภาคเหนือ ( เชียงใหม่-ลำพูน )กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกษตรกรชาวนานำข้าวเปลือกไปขาย แล้วเกิด
เรื่องถึงขั้นยิง เจ้าหน้าที่ตรวจข้าว เพื่อแจ้งราคารับซื้อเสียชีวิตคาลานตากข้าว ท่าข้าวดัง ในพื้นที่หมู่ 3 ต.ดอกคำใต้ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา เมื่อ 25 พ.ย.ที่ผ่านมานั้น

กรณีดังกล่าว ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบความทุกข์ ที่ซ้ำเติมกลุ่มชาวนาจากราคารับซื้อ ของบางกลุ่มโรง
สี,ท่าข้าว ที่แม้จะเป็นแปลงปลูกเดียวกัน นำไปขายช่วงเช้าได้อีกราคา พอไปช่วงบ่ายไม่รับหรือ กดราคาก็มี ส่งผลให้แบกรักต้นทุนสูงราคา 8-9 บาท/กก.ลำบาก ปีก่อน ๆ 12-13 ยังพอไหว ปีนี้ถือว่าแย่ราคาข้าวตกต่ำสุดๆ จุกกันถ้วนหน้า ไม่อยากให้เกิดเหตุร้ายซ้ำรอยดอกคำใต้ต้องหามาตรการรับมือ ” แม้จะมีมาตรการจากกระทรวงพาณิชย์ ที่สั่งการให้ค้าภายใน,พาณิชย์ ทุกพื้นที่ ตรวจสอบการรับซื้อข้าวเปลือกตามฤดูกาลที่กำลังออกสู่ตลาด ตรวจสอบการรับซื้อข้าวเปลือกของท่าข้าวในพื้นที่ก็ยังพบเห็นเป็นระยะ ๆ ทั้งกรณีกระทำผิดทั้งไม่มีหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าว ใช้สำเนาหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าวของที่อื่นมาแสดง และไม่วัดความชื้นในการรับซื้อข้าวเปลือก แต่ระบุเปอร์เซ็นต์ความชื้นในใบชั่งให้เกษตรกรในภายหลัง รวมทั้งไม่ใช้เครื่องวัดความชื้นในการรับซื้อข้าวเปลือก ตามที่เป็นข่าวในหลาย ๆ จังหวัด

อย่างไรก็ตามคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิง โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
แจ้งว่าราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงและการชดเชยส่วนต่างราคาตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2563/64 งวดที่ 3 มีมติจ่ายเงินส่วนต่างให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 ที่ระบุวันที่เก็บเกี่ยว 16 – 22 พ.ย.2563 จำนวน 5 ชนิด ผลการพิจารณาราคาข้าวเปลือกหอมมะลิอยู่ที่ตันละ 11,940.67 บาท มีส่วนต่างที่ต้องจ่ายตันละ 3,059.33 บาท , ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,718.59 บาท มีส่วนต่างตันละ 2,281.41 บาท , ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 8,963.80 บาท มีส่วนต่างตันละ 1,036.20 บาท , ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 9,944.39 บาท มีส่วนต่างตันละ 1,055.61 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 11,003.42 บาท มีส่วนต่างตันละ 996.58 บาท ทั้งนี้ชาวนาที่ลงทะเบียน และ มีสิทธิ์ได้รับเงินส่วนต่างงวดที่ 2 มีกว่า 6 แสนคน และงวดที่ 3 อีก 1.5 ล้านคน ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบสำหรับโครงการประกันรายได้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเปลือก 5 ชนิด เพียง 18,000 ล้านบาท จากเดิมที่กระทรวงพาณิชย์ขอไว้ 23,000 ล้านบาท โดยจ่ายให้ชาวนาได้เพียงงวดที่ 1 และ 2 ประมาณ 1.4 ล้านราย จากที่ขึ้นทะเบียนไว้ 4.5 ล้านราย” การจ่ายชดเชยงวดที่ 3 ให้ผู้ปลูกข้าวเปลือกที่ลงทะเบียนและระบุวันที่ ครม. อนุมัติก็จะโอนเงินให้เกษตรกรได้ทันที ซึ่งกลุ่มเกษตรกรชาวนาส่วนใหญ่ แสดงความคิดเห็นว่างวด 2 ยังไม่ได้ งวด 3 ก็ยังต้องรออนุมัติ มิหนำซ้ำราคาข้าวที่ประกาศออกมา โดยงวด 3 ที่ต้องจ่ายชดเชยให้เกษตรกร มี อาทิ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,940 บาท มีส่วนต่างที่ต้องจ่ายตันละ 3,059 บาท,
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,718 บาท มีส่วนต่างตันละ 2,281 บาท, ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 8,963 บาท มีส่วนต่าง ตันละ 1,036 บาท, ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 9,944 บาท มีส่วนต่างตันละ 1,055 บาท”
ด้านสำนักงานพาณิชย์ จ.เชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการเพิ่มช่องทางตลาดข้าวเปลือกเหนียว ปีการผลิต 2563/64
เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดข้าวเปลือกเหนียวให้แก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่านสหกรณ์ เป็นการกระตุ้นกลไกตลาดในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ให้เกิดการแข่งขันการรับซื้อผลผลิตข้าวเปลือก ตลอดจนการให้ความเป็นธรรมทางด้านราคา การชั่งน้ำหนัก และการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า

” โดยราคารับซื้อข้าวเปลือกเหนียวเกี่ยวสด ความชื้น 25 – 28% ณ ขณะนี้ ราคา ตันละ 7,300 -7,500 บาท
ซึ่งมีเกษตรกรนำข้าวเปลือกเหนียวมาเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก ทำให้ผู้ประกอบการรายอื่นในพื้นที่มีปรับราคารับซื้อเพิ่มขึ้น คาดว่าจะช่วยคลายความกังวลด้านราคาข้าวของชาวนาได้ในระดับหนึ่ง”
กลุ่มเกษตรกรปลูกข้าว อ.ป่าซาง จ.ลำพูน กล่าวว่า “การทำนาไม่คุ้มค่าลงทุน เพราะมีปัจจัยแปรผันราคามาก ซึ่งที่
ปลูกส่วนใหญ่จะปลูกไว้รับประทานในครัวเรือน ที่ทำนากันจริงๆจังๆนั้นมีน้อย จะเป็นกลุ่มในพื้นที่ชลประทานแถวๆสันป่าตอง เชียงใหม่ที่ปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ หรือแถวพร้าว, สันทราย,แม่ริม เชียงใหม่ ที่มีรูปแบบสหกรณ์เกษตรเข้มแข็ง ผลิตข้าวเฉพาะตลาด เช่น ข้าวอินทรีย์ ,ข้าวคุณภาพ แปรรูปเป็นข้าวถุงจำหน่าย ถึงจะคุ้มทุน”

ร่วมแสดงความคิดเห็น