(มีคลิป) 1 ธันวาคม 2563 วันเอดส์โลก (World AIDS Day) ร่วมกิจกรรมรณรงค์ HIV ในจังหวัดเชียงใหม่

 

วันที่ 1 ธันวาคม 2563 วันเอดส์โลก (World AIDS Day) จากสถานะการณ์เชียงใหม่ปัจจุบัน ถือว่ายังต้องเฝ้าระวัง
ทางเชียงใหม่นิวส์ จึงขอนำบทสัมภาษณ์ นายแพทย์กิตติพันธ์ ฉลอม ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณะสุขเชียงใหม่ด้านระบาดวิทยา ที่ให้โอกาสทีมงานให้ความรู้ถึง การติดเชื้อHIV ในจังหวัดเชียงใหม่ไว้

บทสัมภาษณ์ นพ.กิตติพันธ์ :
“HIV นี้มันก็เป็นโรคที่เราก็ถือว่าเป็นโรคที่เคยเป็นโรคอุบัติใหม่ ถ้าเทียบกับสถานการณ์กับ COVID 19 ตอนนี้นะครับ มันก็เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นตั้งแต่ปี 1981 จากฝั่งแอฟริกา มีการระบาด มีการพบผู้ติดเชื้อ เพราะฉะนั้นเนี่ยความตระหนักความตระหนกในประชาชนเนี่ย มันก็จะลักษณะคล้ายๆกันนะครับ แต่จริงๆ แล้วเนี่ย จะเห็นว่าอย่าง COVID ตอนนี้ เราพอจะทราบแล้ว ว่าเราจะป้องกันยังไง เราก็ลดความตื่นตัว ลดความตระหนกไปได้พอสมควร แต่กับ HIV เนี่ย จริงๆ เราทราบมาติดต่อทางไหน ทราบวิธีป้องกัน มียารักษามาหลาย 10 ปีแล้ว แต่ก็ยังขาดประเด็นในเรื่องของความตระหนักในหลายๆ เรื่อง แล้วก็อาจจะหลายๆ เรื่อง พอเวลาผ่านไปอาจจะทำให้เลือนรางหรืออะไรไปได้บ้าง งี้อะนะครับ เพราะฉะนั้นก็จะเห็นว่าจริงๆ มันยังอยู่กับเรา แล้วมันก็อยู่มานาน แล้วมันก็ยังเป็นปัญหาใหญ่ สำหรับสถานการณ์ตัว HIV เนี่ย ถ้าในประเทศเราจริงๆ ต้องเรียนว่า จำนวนผู้ติดเชื้อที่มีการประมาณการณ์จากหลายๆ ฐานข้อมูลเนี่ย พบว่าประมาณครึ่งล้าน เกือบๆ ครึ่งล้าน แล้วก็ทานยาอยู่ ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเนี่ยอยู่ 300,000 กว่าคน ในเชียงใหม่เรา เอ่อ.. จำนวนผู้ป่วยเนี่ยเป็นหลักหมื่นนะครับ ทีนี้ที่น่ากังวลอยู่นะครับ ก็คือผู้ป่วยรายใหม่เรายังพบต่อเนื่องนะครับ แล้วก็มีผู้เสียชีวิต ถ้าเทียบกับ COVID เนี่ย COVID ทั้งปีที่ผ่านมาเนี่ย เสียชีวิตไป 1 ราย ของเชียงใหม่เราอะนะครับ แต่ว่า HIV ในปีที่ผ่านมาเสียชีวิตไปเกือบ 900 ราย ก็จะเห็นว่ามันยังเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบกับประชาชน ส่งผลกระทบกับสังคมอยู่ แล้วก็อาจจะ ช่วงๆ COVID อาจจะไปกังวลกับ COVID กันเยอะ จนบางทีอาจจะลืมวิธีการป้องกันตัวของ HIV เงี้ยครับ ก็ยังคงอยู่กับเราและยังเป็นปัญหาที่ใหญ่อยู่ครับ “

“ส่วนสถานการณ์กลุ่มวัยรุ่ยกับ HIV เนี่ย มีภาพที่สูงขึ้นตั้งแต่ในระดับประเทศนะครับ จะเห็นว่าในกลุ่มอายุ 15- 24 ปี กลุ่มนี้เนี่ย มีแนวโน้วที่จะพบผู้ติดเชื้อ HIV เยอะมากขึ้นนะครับ ของเชียงใหม่เราอาจจะยังไม่พบแนวโน้มที่สูงขึ้นขนาดนั้น แต่สิ่งที่น่ากังวลก็คือโรคติดเชื้อในเพศสัมพันธ์ครับผม โดยเชื้อในเพศสัมพันธ์อันนี้ ยกตัวอย่าง เช่น ซิฟิลิสต์ ซิฟิลิสต์มีจำนวนเพิ่มขึ้นในกลุ่มวัย 15-24 ปีเนี่ย ค่อนข้างสูง ครับ ประกอบกับข้อมูลในการสำรวจในระดับประเทศ เราจะเห็นว่าความน่ากังวลก็คือ ในกลุ่มเนี่ย ในกลุ่มวัยรุ่น มีการใช้ถุงยางอนามัยลดลง มีการให้ความตระหนักในการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยลดลง บางคนมี จากข้อมูลที่สำรวจมีการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่แฟน ไม่ใช่พาสเนอร์ตัวเอง เพิ่มมากขึ้น แล้วก็ใช้ถุงยางอนามัยลดลง อันนี้เป็นสิ่งที่น่ากังวล เชียงใหม่เราอาจะยังไม่ได้เจอกลุ่มผู้ติดเชื้อในกลุ่มวัยรุ่นเยอะขึ้น แต่ถ้าเมื่อไหร่ เรายังไม่ป้องกัน เรายังขาดความตระหนักตรงนี้แล้ว เกิดเจอผู้ติดเชื้อในกลุ่มนี้เยอะขึ้นแล้วไปมีอะไรกัน มันก็มีโอกาสที่จะระบาด แล้วแนวโน้มในกลุ่มนี้ก็จะสูงขึ้นได้ อันนี้ก็ยังเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วงสำหรับในกลุ่มวัยรุ่นครับผม”


โดยวันที่ 1 ธันวาคม 2563 นี้ ยังได้ร่วมกับมูลนิธี Mplus Thailand ที่ แกรนฮอล์ ชั้น1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต สสจ.เชียงใหม่ในการทำกิจกรรมรณรงค์วันเอสด์โลกเพื่อให้คนเชียงใหม่ เยาวชนและประชนชน ทั่วไปเพื่อให้ตระหนักถึงโรคเอสด์และการป้องกันเพื่อยุติการแพรเชื้อ โดยเฉพาะคนยังไม่ทราบว่า สามารถเข้าถึงบริการได้ฟรี ซึ่งที่ มูลนิธี Mplus ก็ให้บริการฟรีด้วย

ทั้งนี้ คุณพงศธร จันทร์เลื่อน ผู้อำนวยการมูลนิธิเอ็มพลัส ประเทศไทยยังได้แนะนำ การให้บริการที่ถั่วถึง ว่ามูลนิธิเอ็มพลัสให้บริการตรวจ HIV และโรคติดต่อสัมพันธ์ต่างๆ ได้ฟรี และยังมีโครงการ “Stand up teeen ” เพื่อให้เยาวชนและคนเชียงใหม่เข้าถึง เข้าใจ เพื่อรู้ไว รักษาได้ไว การทานยา Prep เพื่อป้องกัน ทั้งนี้สามารถปรึกษาฟรี สนใจสอบถามได้ที่ http://www.mplusthailand.com/ เพจ https://www.facebook.com/mplusthailand และเบอร์ 0869194840 บริการทุกวัน

ร่วมแสดงความคิดเห็น