ค้านจ้างรายชั่วโมง ช่วงโควิด 19 หวั่นนายจ้างเอาเปรียบ เมื่อชั่งน้ำหนักข้อดี-ข้อเสียแล้ว ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าไม่ควรทำ

กลุ่มรับเหมา จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวทางที่มีการเสนอให้นายจ้าง สามารถเลือกจ้างรายชั่วโมงได้โดย
คิดอัตราค่าแรงขั้นต่ำแต่ละจังหวัด แล้วหารเฉลี่ยด้วย 8 ชั่วโมง นำมาเป็นฐานอัตราการจ้างรายชั่วโมง เนื่องจากในช่วงระบาดรอบใหม่ของโควิด 19 นั้น เริ่มมีการยกเลิกหรือชลอการจ้างงานเป็นระยะๆ ” ปกติกลุ่มรับเหมาจะมีทีมงานที่เหมาค่าจ้างรายวัน ตามลักษณะงานทั้งงานไม้,งานเหล็ก,งานฉาบ, งานก่อ ,งานปูน และแรงงานทั่วไป ไม่ได้รับผลกระทบเหมือนงานโรงงาน หรือกิจการอื่นๆ ที่จ้างแรงงานรายวัน ถ้าจะจ้างเหมาอาจแบกรับต้นทุนมากเกินไป ”

อย่างไรก็ตาม นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ได้กล่าวถึงประเด็นข้อเสนอที่กลุ่มนายจ้าง ภาคธุรกิจ ขอให้คณะกรรม
การค่าจ้างมีมติเห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงได้ เนื่องจากจำเป็นต้องปรับตัว และลดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นข้อเสนอที่กลุ่มนายจ้างเสนอผ่านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย และสมาคมผู้ค้าปลีกไทย
” แนวทางการจ้างพนักงานพาร์ทไทม์ แบบยืดหยุ่นรายชั่วโมง มีหลายๆฝ่ายร่วมพิจารณาและทุกส่วนที่เกี่ยวข้องไม่
เห็นด้วย เพราะอาจจะไปกระทบตลาดแรงงานที่มีการจ้างรายเดือน และรูปแบบจ้างงานอื่น ๆ อีกทั้งการจ้างลักษณะนี้จะมีผลทำให้ลูกจ้างมีความเสี่ยง อาจถูกลดชั่วโมงทำงาน ถูกเลิกจ้าง ไม่ได้รับสิทธิค่าชดเชยที่เป็นธรรม ”
ในทางปฏิบัติ หากนายจ้าง-ลูกจ้างสามารถตกลงกันแบบจ่ายค่าจ้างรายชั่วโมงก็สามารถทำได้ แต่การออกกฎกำหนด
การจ้างงานรายชั่วโมงจะไม่เกิดขึ้นในสมัยที่ตนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแน่นอน เมื่อชั่งน้ำหนักข้อดี-ข้อเสียแล้ว ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าไม่ควรทำ ”

 

ด้านนายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวถึงการพิจารณาให้สามารถจ้างงาน
แบบพาร์ทไทม์ มีอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงนั้น เรื่องค้างอยู่ที่คณะกรรมการค่าจ้าง ในขณะที่ภาคเอกชน ใน เชียงใหม่ มองว่า ปัจจุบันภาคธุรกิจ หลายธุรกิจประสบปัญหาเรื่องสภาพคล่อง เช่น การท่องเที่ยวและการโรงแรม การรวมกลุ่มเสนอแนวทาง การจ้างแรงงานรายชั่วโมง อาจจะจ้าง 4-8 ชั่วโมงต่อวัน จากเดิมที่ไม่กำหนดช่วงเวลาการจ้าง เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ข้อดีคือลดภาระค่าใช้จ่ายค่าแรงงาน สอดรับกับวิถีการทำงานยุคใหม่ “ถ้าข้อเสนอนี้ไม่ได้รับการพิจารณา จะผลักดันไปยังองค์ฏรอื่นๆ อาทิ หอการค้า,กรรมาธิการการแรงงาน (กมธ.)วุฒิสภาต่อไป ”

 

อดีตประธานหอการค้า จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า เรื่องนี้ภาคเอกชนโดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีกรายใหญ่,อุตสาหกรรมอื่นๆ
ที่มีความจำเป็นต้องใช้แรงงานทั่วๆไป และ ไม่สามารถลงทุนด้านจักรกล เทคโนโลยี่ได้ ร่วมผลักดันมาตลอด แต่กระบวนการเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อลูกจ้างถูกนายจ้างเอาเปรียบ เลยชลอเรื่องไว้ แล้วมาโผล่อีกในช่วงโควิด 19 ระลอกใหม่นี้ ก็น่าเห็นใจทุกฝ่าย ถ้าผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ อยู่ไม่ได้ กลุ่มแรงงานก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นควรหาทางออก มีมาตรการแก้ไขปัญหาการแบกรับต้นทุนด้านค่าจ้าง ที่ยังใช้ในแบบปกติ ทั้งๆที่ช่วงนี้ไม่ปกติด้วย”

ร่วมแสดงความคิดเห็น