บุคลากรสำนักหอสมุดคว้า 3 รางวัลใหญ่ การนำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 11

บุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิชาการ ระดับดีเด่น จำนวน 2 รางวัล คือประเภทบรรยาย กลุ่ม 1 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ และประเภทบรรยาย กลุ่ม 2 การบริการสารสนเทศ รวมทั้งได้รับรางวัลระดับดี ประเภทบรรยาย กลุ่ม 1 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ในการประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 11 (The 11th PULINET Online National Conference : PULINET 2021) ภายใต้แนวคิด “New Normal Library: Opportunities & Challenges” จัดโดยข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULINET) ระหว่างวันที่ 6 – 7 มกราคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom และ Facebook Live) ผลงานที่ได้รับรางวัล ดังนี้

1. รางวัลนำเสนอผลงานระดับดีเด่น ประเภทบรรยาย กลุ่ม 1 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ได้แก่ นางชมพูนุช สราวุเดชา ผลงานเรื่อง การศึกษาความต้องการใช้วารสารทางการแพทย์ของอาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. รางวัลนำเสนอผลงานระดับดีเด่น ประเภทบรรยาย กลุ่ม 2 การบริการสารสนเทศ ได้แก่ นายปราชญ์ สงวนศักดิ์ นางสาวอุทุมพร มณีวรรณ์ และนางสาวชัณษา สีแดง ผลงานเรื่อง การพัฒนาระบบเชื่อมโยงโปรโตคอลมาตรฐานการยืม/คืนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแบบอัตโนมัติ

3. รางวัลนำเสนอผลงานระดับดี ประเภทบรรยาย กลุ่ม 1 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ได้แก่ นางกชพร ศรีพรรณ์ และนางสาวดวงฤทัย ณ ทุ่งฝาย ผลงานเรื่อง การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศด้วยระบบประเมินกระบวนการทำงานตามแนวทาง ADLI การนำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมวิชาการ PULINET นั้น สำนักหอสมุดได้รับรางวัลอย่างต่อเนื่อง และในปี 2564 นี้มีผลงานวิชาการที่ได้รับคัดเลือกให้ไปนำเสนอในประเภทบรรยายและโปสเตอร์ รวมจำนวน 11 ผลงาน ประกอบด้วย ผลงานการนำเสนอประเภทบรรยาย การจัดการสารสนเทศ (IM:Information Management)

1) ผลงานเรื่อง การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศด้วยระบบประเมินกระบวนการทำงานตามแนวทาง ADLI โดย นางกชพร ศรีพรรณ์ และนางสาวดวงฤทัย ณ ทุ่งฝาย

2) ผลงานเรื่อง การศึกษาความต้องการใช้วารสารทางการแพทย์ของอาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย นางชมพูนุช สราวุเดชา

3) ผลงานเรื่อง การวิเคราะห์การอ้างถึงวารสารในบทความวิจัยของอาจารย์คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย นางเพียงขอบฟ้า ปัญญาเพ็ชร บริการสารสนเทศ (IS:Information Services) กลุ่ม 1

4) ผลงานเรื่อง บริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Services) : การสร้างโอกาสการเข้าถึงและใช้สารสนเทศในวิกฤต COVID-19 โดย นางทิพวรรณ สุขรวย นางสาวจิตราภรณ์ ชัยมณี และนายณัฐพงษ์ มังกร

5) ผลงานเรื่อง การพัฒนาระบบเชื่อมโยงโปรโตคอลมาตรฐานการยืม/คืนเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการให้บริการแบบอัตโนมัติ โดย นายปราชญ์ สงวนศักดิ์ นางสาวอุทุมพร มณีวรรณ์ และนางสาวชัณษา สีแดง บริการสารสนเทศ (IS:Information Services) กลุ่ม 2

6) ผลงานเรื่อง การนำกลยุทธ์ Kaizen ไปใช้ในการพัฒนาฐานข้อมูล Pharmacy Term Paper ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย นางอรกัญญา เมธา

7) ผลงานเรื่อง การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบเปิดใน CMU MOOC เพื่อส่งเสริมการ เรียนรู้ตลอดชีวิต โดย นางอรพรรณ การคนซื่อ นางสาวธันทิวา ภักดีภัทรากร นางสาวสุรินทรา หล้าสกุล นางสาวชัณษา สีแดง นางสาวจุฑามาศ บัวเงา และนางสาวญากันต์ณัฐ เย็นสถิตย์

8) ผลงานเรื่อง การพัฒนาระบบแจ้งเตือนวันกำหนดส่งคืนหนังสืออัตโนมัติผ่านไลน์ แอปพลิเคชัน โดย นางสาวอุทุมพร มณีวรรณ นางสาวมลฑาทิพย์ ทาษรักษา และนายเอกสิทธิ์ ปัญญามี การบริหารองค์กร (OM:Organizational Management)

9) ผลงานเรื่อง การจัดการครุภัณฑ์เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล สำหรับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม โดย นางสาวขนิษฐา ไชยพันธุ์ นางสาวรุ้งสินี เขียวงาม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มานพ แก้วโมราเจริญ

10) ผลงานเรื่อง การสังเคราะห์สมรรถนะ (Competency) นักวิชาชีพสารสนเทศ เพื่อบริการสนับสนุนการผลิตผลงานวิชาการ โดย นางทิพวรรณ สุขรวย

11) ผลงานเรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการพื้นที่จำหน่ายหนังสืองาน CMU Book Fair ตามแนวคิด Work Process Improvement และSoftware Development Life Cycle โดย นางสาวพัฑรา พนมมิตร นางสาวภิญญาพัชญ์ ญานะคำ และนายปิยะบุตร ปัญญาดี  การประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 11 (The 11th PULINET Online National Conference : PULINET 2021) เป็นเวทีการนำเสนอผลงานวิชาการระดับประเทศด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา มีผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ บุคลากรห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา อาจารย์ในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จากทั่วประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 1,042 คน ซึ่งมีผู้นำเสนอผลงานวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 66 ผลงาน

ร่วมแสดงความคิดเห็น