(มีคลิป) ผจว.เชียงใหม่ วางเป้าพร้อมมอบนโยบายแนวทางใหม่ แก่ อ.ดอยเต่า ในการบริหารจัดการปัญหาไฟป่าฝุ่นควัน ประจำปีงบประมาณ 2564

ให้ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ทุกแห่ง เป็นเจ้าภาพจัดการไฟป่าฝุ่นควัน เชียงใหม่วางแนวทางใหม่บริหารจัดการในปี 2564 โดยให้ความสำคัญกับ “การบริหารจัดการในเชิงพื้นที่” วางเป้าลดจุดความร้อนลงให้ได้ 25% “อะไรที่จำเป็นต้องบริหารจัดการให้เร่งดำเนินการ ส่วนที่ไม่จำเป็นต้องควบคุมไม่ให้เกิดไฟ”

การมอบนโยบายจังหวัดเชียงใหม่ โดย นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการไฟป่าในพื้นที่อำเภอดอยเต่า ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ ในการบริหารจัดการปัญหาไฟป่าฝุ่นควันของจังหวัดเชียงใหม่ ทั้ง 25 อำเภอ ประจำปีงบประมาณ 2564 ดังนี้

พื้นฐานที่สำคัญวิถีการใช้ชีวิตก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาในเรื่อง PM2.5 พื้นฐานก็มาจากเรื่องของชีวิตประจำวันทั้งนั้น ในเมืองก็มาจากควันรถยนต์ ส่วนนอกเมืองก็เป็นเรื่องของการทำมาหากิน ในขณะเดียวกันสิ่งที่ตามมาก็คือ PM 2.5 นอกจากเรื่องที่เราจะพยายามบริหารจัดการ สิ่งหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ก็คือ เรื่องของ ดิน ฟ้า อากาศ จากที่พูดคุยหรือหารือกันมาก็วางแนวทางในการที่จะแก้ไขปัญหา ในแนวทางใหม่ นั่นก็คือ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการในเชิงพื้นที่

ในขณะเดียวกันสิ่งที่สำคัญก็คือ ต้องพยายามที่จะลดสาเหตุที่สำคัญก็คือ การเกิด Hotspot ทั้งหลาย จุดความร้อน และจุดที่จะต้องเผาทั้งหลาย ในส่วนที่เป็นความจำเป็น เราสามารถเอามาบริหารจัดการได้ อีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่ทำอย่างไร เพื่อจะไม่ให้เกิดขึ้น คือส่วนที่ไม่ใช่เป็นเรื่องของความจำเป็น

สิ่งที่สำคัญก็คือ ในเชิงของการบริหารจัดการในเรื่องของจำนวน Hotspot เราได้กำหนดเป้าหมายว่าทุกพื้นที่จะต้องลดจากปีที่ผ่านมา 25 % โดยพิจารณาจากข้อมูลเดิม ๆ จะเห็นว่าจุดเดิมที่เป็นจุดซ้ำซาก ทุกอำเภอที่เกิดจะมีจุดซ้ำซาก ทำอย่างไรถึงจะให้จุดเหล่านี้ลดลง นั่นก็คือ การพูดคุยในระดับพื้นที่ตำบล หมู่บ้าน การแบ่งพื้นที่ออกเป็นพื้นที่ต่าง ๆ ก็จะเป็นประโยชน์ในเรื่องของการให้รู้ว่า พื้นที่ไหนจะทำอย่างไร พื้นที่ไหนจะต้องทำให้ได้อย่างไร ข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลของปีที่ผ่านมา สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ส่งข้อมูลถึงอำเภอ ระดับพื้นที่หมู่บ้าน และก็ให้มีการปรึกษาหารือในระดับพื้นที่ ตำบล หมู่บ้าน เป็นสำคัญ โดยขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง ไม่ว่าจะเป็น อบต. เทศบาลตำบล ได้เป็นเจ้าภาพในการเชิญทุกภาคส่วนต่าง ๆ

ทำไมถึงต้องเป็น อบต. เทศบาล ก็เพราะว่า ไม่มีส่วนราชการไหนในระดับพื้นที่ ในระดับพื้นที่ไม่มีส่วนราชการไหนที่มีความพร้อมเท่ากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในส่วนนี้ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพ ทรัพยากรทางการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีครบ ทั้งคน เงิน เครื่องมือ อะไรทั้งหลาย

ในขณะเดียวกันสิ่งที่อยู่ในพื้นที่ เป็นเรื่องของการทำมาหากิน ในเขตป่าก็มีที่การทำกิน ขณะเดียวกันจุดที่เกิดไฟในปีที่ผ่านมา ก็มีทั้งที่ทำกินกับพื้นที่ ที่ไม่ใช่พื้นที่ทำกิน ในหลักการพื้นที่ที่เป็นที่ทำกินนั้นพอจะเกิดได้ เพราะความจำเป็นในเรื่องของการต้องเตรียมการของพื้นที่ แต่ในพื้นที่ที่ไม่ใช่ที่ทำกิน ไม่ควรจะเกิด ไม่ควรจะมี

ตรงนี้จะทำอย่างไร ท้ายที่สุดก็กลับมาถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่มีไฟที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จะต้องมีคนจุด แต่จะทำอย่างไรก็ต้องพูดคุยกันในระดับพื้นที่ แน่นอนว่าการที่แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ชั้น ก็คือ พื้นที่ตำบล หมู่บ้าน กับพื้นที่ที่เป็นเขตป่า ป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ หรือพื้นที่ที่อยู่ในนิคม หรือพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ส่วนตัว ต้องเอา 2 ส่วนนี้มาคุยกัน แน่นอนในเชิงของพื้นที่เจ้าของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของป่าทั้ง 2 ป่า หรือทางเกษตรกร หรือทางนิคม ก็ต้องรับเอาเป้าหมายไปบริหารจัดการ และจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่ต้องมีการช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน สิ่งตรงนี้คือ แนวทางการบริหารจัดการใหม่

ในส่วนของการที่จะต้องประกาศห้ามเผาหรือไม่อย่างไร ทางจังหวัดก็จะต้องฟังแนวทางที่เป็นแนวนโยบายอีกครั้ง แต่ในช่วงขณะนี้เวลานี้ เน้นในเรื่องของการบริหารจัดการ นั่นคือ พื้นที่ที่มีความจำเป็น ก็ต้องแจ้งต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือทางนายก ที่อยู่ในระดับพื้นที่ หรือเจ้าของป่าในกรณีที่ทำมาหากินอยู่ในพื้นที่ป่า หลังจากนั้นก็มาดูความจำเป็น ถ้าจำเป็นจริง ๆ ก็ต้องใช้วิธีการบริหารจัดการ ในขณะเดียวกันก็จะมีวิธีการอื่น ๆ หรือไม่ ในการที่จะเอาเศษวัสดุทั้งหลาย ออกมาทำประโยชน์อย่างอื่น เช่น การรับซื้อ เอาไปขาย อันนี้ก็อยู่ในบริบทข้อเท็จจริงของพื้นที่

บางทีพื้นที่นี้ทำอย่างนี้ได้ แต่อีกพื้นที่หนึ่งอาจจะทำไม่ได้ จะต้องอย่างไร นั่นคือ แนวทางของการบริหารจัดการในเรื่องของไฟป่า หมอกควันปีนี้ พื้นที่ต้องปรึกษาหารือกันทุกภาคส่วน คนที่อยู่ในพื้นที่ด้วยกันก็ปรึกษาหารือกัน และก็กำหนดแนวทางออกมา แล้วส่งเป็นข้อมูลไปที่จังหวัด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าจำเป็นจะต้องบริหารจัดการเชื้อเพลิง จะบริหารจัดการอย่างไร เมื่อกำหนดว่าจะบริหารตัวเองแบบนี้แล้ว ก็ให้ทางส่วนอำนวยการ จังหวัดจะได้ประสานงานกับส่วนกลาง เพื่อให้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการร่วมกับพื้นที่อื่นต่อไป อย่างนี้เป็นต้น ทั้งนี้ให้ความสำคัญกับ การที่ควบคุมสิ่งที่เกิด จำนวน hotspot ต้องไม่เกิน 75% เมื่อเทียบจากปีที่ผ่านมา เพื่อให้เรารู้เป้าหมาย รู้ว่าพื้นที่ตรงนี้จะควบคุมอย่างไร การทำแนวกันไฟดีกว่า หรือว่าแม้กระทั่งการควบคุมคนที่จะเข้าไปเก็บหาของป่า

ร่วมแสดงความคิดเห็น