(มีคลิป)ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก​ PM 2.5​ เผยอีก 1 – 3 วันข้างหน้าคุณภาพอากาศดี บริหารจัดการเชื้อเพลิงได้

วันที่​ 1 ก.พ.​ 64​ ที่ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก​ PM 2.5​ จ.เชียงใหม่​ ผศ.ดร. ชาคริต​ โชติอมรศักดิ์ คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ช่วง 2 – 3 วันที่ผ่านมาจะมีอากาศเย็นที่เคลื่อนที่เข้ามา ทำให้เกิดความแปรปรวนของสภาพอากาศในหลายๆ พื้นที่ทำให้เกิดฝนตกในหลายจังหวัดในภาคเหนือ รวมทั้งจังหวัดเชียงใหม่ด้วย ส่งผลทำให้คุณภาพอากาศโดยรวม มีคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น แม้ว่าในห้วงที่ผ่านมา จะมีแหล่งกำเนิดไฟในที่ต่างๆ รวมทั้ง มีการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ ก่อนหน้านี้ก็มีการสะสมของฝุ่น สภาพอากาศที่เกิดจากฝนช่วงที่ผ่านมาก็ส่งผลทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้น

 

สำหรับการพยากรณ์อากาศล่วงหน้า 1 – 3 วัน คุณภาพอากาศโดยรวมก็มีคุณภาพอากาศดี บางพื้นที่อาจจะมีคุณภาพอากาศปานกลางบ้าง แนวโน้มช่วงนี้ก็ยังคงดีอยู่ หลังจากนั้นก็มีโอกาสที่ฝุ่นจะสะสมมากขึ้น ซึ่งคงต้องเฝ้าระวังในเรื่องของแหล่งกำเนิดจุด Hotsport ในส่วนของการบริหารจัดการเชื้อเพลิงก็ได้รวบรวมข้อมูลเหล่านี้เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจ ที่จะรับทราบการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

ด้านปัญหาอุปสรรคภายหลังจากการประชุมในวันนี้ ก็พบปัญหาจากตัวระบบซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่บริหารจัดการข้อมูลร่วมกันกับหลายภาคส่วน จึงต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ ตัวระบบก็อยู่ในช่วงของการพัฒนาระบบในการตรวจสอบคำร้องที่เข้ามา เพื่อให้เกิดความถูกต้องมากที่สุดของตัวระบบเอง และจากการประชุมของคณะทำงาน ก็มีข้อเสนอแนะต่างๆ ในการปรับระบบให้ดีขึ้น เราก็พัฒนาระบบให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

ในส่วนของผลการพยากรณ์อากาศที่เราพัฒนาขึ้น ทำให้มีช่องทางในการเข้าถึงการพยากรณ์นี้ได้ในหลายช่องทางด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นช่องทางเว็บไซต์ของศูนย์ฯ ติดตามผ่านทางแอปพลิเคชั่นชื่อ “Thai Air Quality” รวมทั้งข้อมูลในเว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้พัฒนาข้อมูลที่จะรายงานในระดับจังหวัด และยังรายงานผลข้อมูลให้กับเครือข่ายวิจัย เช่น แอปพลิเคชั่น AQIC ที่ได้รับการสนับสนุนจากทาง วช. ก็สามารถไปดาวน์โหลดได้ และในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็มีแอปพลิเคชั่นที่รวบรวมข้อมูลตรวจวัด ที่ทางมหาวิทยาลัยได้รวบรวมไว้ร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ด้วย

ในส่วนของตัวระบบพยากรณ์อากาศ สามารถที่จะดูรายงานคุณภาพอากาศความเข้มข้นของค่า PM 2.5 และอยู่ในรูปของดัชนีย์คุณภาพอากาศ รวมทั้งตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยา ไม่ว่าจะเป็นฝน อุณภูมิ ลม และดัชนีอีกตัวหนึ่งที่สำคัญที่ดูการสะสมของฝุ่น เรียกว่าดัชนีระบายอากาศ ข้อมูลที่ทางระบบรายงานจะอยู่ในระดับตำบล หมายความว่าในจังหวัดเชียงใหม่ทุกตำบลก็สามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลพยากรณ์อากาศล่วงหน้า 3 วัน ได้ทุกตำบล ที่จริงแล้วตัวระบบสามารถครอบคลุมได้ทั่วทั้งประเทศ

ร่วมแสดงความคิดเห็น