ร้านค้าหลายพันแห่งในหมู่บ้านห่างไกล ทำหน้าที่เป็นตัวกลางสำคัญในการเชื่อมต่อ และยกระดับชีวิตผู้คนในชุมชน ผ่านบริการโทรคมนาคม

ทุกๆ วัน “ติ๋ว” หรือ วีรยุทธ พุทธวงค์ ในวัย 34 ปี จะตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อเตรียมตัวเปิดร้านค้า ให้ทันกับลูกค้ากลุ่มแรก ซึ่งจะแวะเวียนมาเติมเงินโทรศัพท์มือถือ หรือซักถามข้อสงสัยเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์ในช่วงเช้าก่อนไปทำงาน ร้านของเขานั้นตั้งอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆ ของอำเภอพาน ในจังหวัดเชียงราย โดยวีรยุทธ ผู้ซึ่งใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนรถเข็น นั้นมุ่งมั่นดูแลลูกค้าอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย เป็นเวลา 7 วันต่อสัปดาห์ และไม่ปล่อยให้ความพิการทางกายมาเป็นอุปสรรค ในการเชื่อมต่อลูกค้าของเขากับทุกสิ่งที่สำคัญที่สุด

ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งนำไปสู่การประกาศมาตรการล็อกดาวน์นั้น การใช้งานเครือข่ายพุ่งสูงขึ้นในต่างจังหวัดและย่านอยู่อาศัย โดยการใช้งานดาต้าในพื้นที่ต่างจังหวัดนั้น พุ่งสูงกว่ากรุงเทพฯ อันเนื่องมาจากการอพยพกลับภูมิลำเนาในช่วงโควิด-19 และปัจจุบัน คนจำนวนมากยังคงเลือกอาศัยอยู่ในจังหวัดบ้านเกิด หรือมองหางานทำในจังหวัดใกล้เคียง ส่งผลให้บริการเติมเงินกลายเป็นหัวใจสำคัญยิ่งสำหรับหมู่บ้านเล็กๆ

“หลายคนเดินทางกลับบ้านช่วงโควิด และตัดสินใจมาหางานทำในพื้นที่ใกล้เคียง บางคนก็เปิดร้านขายของ ร้านอาหารตามสั่ง หรือช่วยพ่อแม่ทำนา ทำสวน เลี้ยงไก่ คนที่กลับมาก็จะมาหาซิมอินเทอร์เน็ตที่ร้านผม เพราะเน็ตบ้านนั้นไม่ได้มีกันทุกหลังคาเรือน” วีรยุทธเล่า

หลายปีก่อนหน้า วีรยุทธ ผู้ซึ่งชื่นชอบการเล่นเกมออนไลน์ ตัดสินใจติดต่อไปยังทีมขายของดีแทคในจังหวัดเชียงราย เพื่อสมัครเป็นตัวแทนขาย เนื่องด้วยเขาเล็งเห็นความต้องการที่เพิ่มขึ้น สำหรับบริการโทรคมนาคมในหมู่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไป 30 กิโลเมตร ทุกวันนี้ ร้านของเขาเป็นทั้งร้านจำหน่ายซิมของดีแทค และร้านโชห่วย ซึ่งกินพื้นที่ส่วนหนึ่งของบ้านที่เขาอาศัยอยู่กับครอบครัว นอกจากบริการพื้นฐานอย่างการเติมเงินมือถือ และการสมัครแพ็กเกจเสริมแล้ว วีรยุทธ์ ยังใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวัน ไปกับการสอนลูกค้าใช้งานแอปพลิเคชั่นพื้นฐานต่างๆ อาทิ ไลน์ เฟซบุ๊ก และยูทูป รวมทั้งตอบสารพัดคำถามเกี่ยวกับสมาร์ทโฟน เนื่องจากลูกค้าของเขาส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุในหมู่บ้านหรือละแวกใกล้เคียง ซึ่งต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อติดต่อสื่อสารกับสมาชิกในครอบครัว หรือรับชมความบันเทิงรูปแบบต่างๆ แต่อาจไม่คุ้นเคยกับการใช้งานสมาร์ทโฟนนัก

“ผมรู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยชุมชน ให้สามารถติดต่อกับคนที่เขารัก คนในครอบครัว ลูกค้าของผมหลายคนเป็นคนเฒ่าคนแก่ ผมสอนเขาฟังเพลงผ่าน YouTube เพื่อคลายเหงา และสอนวิธีวิดีโอคอลหาลูกหลานที่อยู่ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ ทุกๆ ครั้งผมจะถามลูกค้าว่า เขาต้องการใช้งานอะไรบ้าง เช่น บางคนดู YouTube เยอะหรืออาจจะแค่ต้องการใช้แอปพลิเคชันส่งข้อความอย่างไลน์ เพื่อจะได้แนะนำแพ็กเกจให้เหมาะสมกับการใช้งาน ทำให้การร้องเรียนเกี่ยวกับความเร็วอินเทอร์เน็ตนั้นลดลงอย่างมาก” เขากล่าว

ร้านค้าของวีรยุทธ ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างหมู่บ้าน ประมาณ 4-5 แห่ง ซึ่งหลายคนนั้นเป็นขาประจำที่ร้านของเขาด้วย วีรยุทธ เป็นตัวแทนขายให้กับดีแทคมานานกว่า 5 ปีแล้ว และมีลูกค้าประจำ จำนวนมาก รวมทั้งผู้ที่ย้ายไปทำงานในตัวเมือง “คนเขาแนะนำร้านผมต่อให้กับลูกหลานและเพื่อนๆ ในชุมชนเล็กๆ แบบนี้ เราไม่ต้องเน้นโฆษณาอะไรเยอะ แค่บริการดี เขาก็จะพูดกันปากต่อปากไปเอง” เขากล่าว

ทุกวันนี้ วีรยุทธทำรายได้เฉลี่ยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน จากการเติมเงินและขายแพ็กเกจเสริม โดยทั่วประเทศนั้นมีร้านค้าซึ่งเป็นตัวแทนขายของดีแทค ในลักษณะใกล้เคียงกับของวีรยุทธ นับตั้งแต่ร้านกาแฟ ร้านโชห่วย ไปจนถึงเพิงขายอาหารในตลาด ซึ่งไม่ใช้ร้านขายโทรศัพท์มือถือ แต่ทำงานใกล้ชิดกับทีมขายของดีแทค โดยทุกๆ สัปดาห์ ทีมงานขายแต่ละคน จะลงพื้นที่เพื่อพบปะและเข้าไปดูแลร้านค้าทั้งหมด ที่อยู่ในเส้นทางวิ่งของตนเอง รวมทั้งเข้าไปติดต่อร้านค้าใหม่ๆ ในชุมชน สอนเกี่ยวกับเทคนิคการขาย ช่วยดูแลเรื่องยอดขาย และสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชน โดยปัจจุบัน ดีแทคมีตัวแทนขายที่ไม่ใช่ร้านโทรศัพท์มือถือมากกว่า 6,000 แห่งในภาคเหนือ และจำนวนร้านค้าในเครือข่ายยังเติบโตต่อเนื่อง

ปกติคนในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล เขาไม่อยากไปซื้อของไกลบ้าน เพราะเส้นทางจากบ้านไปยังร้านค้า โดยเฉพาะร้านโทรศัพท์มือถือที่ใกล้ที่สุดนั้น กินระยะทางอย่างน้อย 5-10 กิโลเมตร แล้วเขาเองก็ไม่รู้จักร้านมือถือเหล่านี้ ต่างจากร้านค้าในหมู่บ้านที่เวลาแนะนำอะไร คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะเชื่อมากกว่า แล้วตอนช่วงที่มีการล็อกดาวน์ หมู่บ้านต่างๆ หลายพันแห่ง มีการประกาศห้ามคนนอกเข้า แต่เพราะเรามีตัวแทนขายในแต่ละชุมชนเหล่านี้อยู่ก่อนแล้ว ตอนช่วงโควิดหลายคนเลยมีโอกาสทดลองใช้ดีแทคเป็นครั้งแรก และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน โดยเป้าหมายของดีแทคคือ ต้องมีอย่างน้อยๆ 1 ร้านค้าต่อหมู่บ้าน

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ลูกค้าดีแทคจำนวนมาก ต้องเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ นอกจากความต้องการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานแล้ว ผู้บริโภคยังมีความต้องการบริการและข้อเสนอต่างๆ ที่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น บริการใจดีช่วยค่ายา ที่มอบคูปองส่วนลดค่ายาตามร้านขายยาที่มีใบอนุญาต หรือบริการใจดีให้ยืม ซึ่งให้ลูกค้ายืมค่าโทรเพื่อใช้งานในยามฉุกเฉิน ส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัด ดีแทคมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกค้า ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ห่างไกลเพียงใด

นอกจาก “ติ๋ว” แล้วยังมีตัวอย่างที่เป็นตัวแทนขายอีกร้าน ซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่ไกล เธอคือเกษตรกรแม่ลูกสองซึ่งปัจจุบันทำรายได้หลักหมื่นต่อเดือน จากการเติมเงินและขายแพ็กเกจเสริม เช่นเดียวกับติ๋วหรือวีรยุทธ เธอได้รับความไว้วางใจจากคนในชุมชน และลูกค้าของเธอ หลายคนนั้นเป็นเพื่อนเกษตรกรของเธอเอง “นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่ช่วยลบล้างความคิดว่าชาวนาไม่สนใจเรื่องเทคโนโลยี เขาทำเป็นและเก่งด้วย

นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “การเชื่อมต่อคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับทุกคน และสร้างสังคมไทยให้แข็งแกร่ง ผ่านการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง นี่คือจุดมุ่งหมายที่ในการดำเนินธุรกิจของดีแทค นอกจากนั้น ดีแทคยังสนับสนุนสิ่งต่างๆ อีกมากจะช่วยเปลี่ยนผ่านผู้ใช้งานสู่ชีวิตดิจิทัล”

ในขณะที่ดีแทคกำลังเดินหน้าพัฒนากลยุทธ์ 5G ผ่านการทดสอบคลื่น mmWave ร่วมกับอุตสาหกรรมไทย เพื่อพัฒนารูปแบบทดสอบการใช้งาน (use case) บริษัทยังทำงานอย่างหนักเพื่อติดตั้ง Massive MIMO และนำคลื่น 700 MHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ต่ำ ที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมพื้นที่มากยิ่งขึ้นมาให้บริการ โดยวันนี้ดีแทคเร่งเปิดให้บริการคลื่น 700 MHz ไปแล้วมากกว่า 3,000 แห่งทั่วไทย และเร่งขยายสู่เป้า 4,400 สถานีฐาน ในไตรมาส 1/2564 เพื่อพัฒนาความครอบคลุมของสัญญาณ และประสิทธิภาพการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สำหรับลูกค้าทุกคน ไม่ว่าพวกเขาจะใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่แบบใด

“ผมรู้สึกดีใจมากที่มีผู้ให้บริการเครือข่ายอย่างดีแทค เข้ามาให้บริการถึงในชุมชน และเหนืออื่นใด ลูกค้าต้องการบริการโทรคมนาคมในราคาที่จับต้องได้ และมีสัญญาณที่ดี ไม่ว่าจะอยู่ในสวนหรือออกไปนอกเมือง ก็ยังสามารถเล่นได้ เพื่อให้ผู้คนไม่ขาดการเชื่อมต่อแม้ในท่ามกลางวิกฤต” วีรยุทธ หรือติ๋ว ทิ้งท้าย

ร่วมแสดงความคิดเห็น