ทส. เปิดศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขไฟป่า(ส่วนหน้า) ส่ง “ฮ” เข้าประจำการ 3 ลำ พร้อมปฏิบัติงาน 24 ชั่วโมง เชียงใหม่เผยค่าฝุ่นสูงมาจากการเผา ทั้งใน-รอบจังหวัด

วันที่ 12 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมศูนย์สั่งการและติดตามสถานการณ์ไฟป่า 9 จังหวัดภาคเหนือ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นายพงศ์บุณย์ ปานทอง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่วิกฤต 4 จังหวัดภาคเหนือ (แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก ลำพูน) และเปิดศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน(ส่วนหน้า) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่วิกฤต 4 จังหวัดภาคเหนือ โดยมี นายเกรียงศักดิ์ ถนอมพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 นายกมล นวลใย ผู้อำนวยการ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 1 (เชียงใหม่) นายปิยะพงษ์ ประพันธ์วัฒนะ ผู้อำนวยการ ส่วนทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ นายสุเจตน์ มงคลไชยาสิทธิ์ ผู้อำนวยการ ส่วนปฏิบัติการและควบคุมไฟป่า และผู้บริหารในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก เชียงใหม่ และลำพูน ร่วมประชุมผ่านระบบวิดีโอทางไกล

ในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ นายปิยะพงษ์ ประพันธ์วัฒนะ ผู้อำนวยการ ส่วนทรัพยากรธรรมชาติ สนง.ทสจ.เชียงใหม่ รายงานในที่ประชุม ว่า สถาณการณ์ฝุ่นละอองในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จากการติดตามจุดความร้อน (Hot Spot) โดยรอบพื้นที่มีจำนวนลดลง ทำให้ค่าคุณภาพอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ มีแนวโน้มดีขึ้น ผลการวิเคราะห์อัตราการระบายอากาศในช่วงเวลากลางคืน อากาศปิด ไม่สามรถระบายอากาศได้ แต่ในช่วงวันที่ 14-15 มีนาคม 2564 มีอัตราการระบายอากาศที่ดีขึ้น โดยทิศทางของลมจะพัดมาจากตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพอที่จะพัดพาฝุ่นที่สะสมออกจากเชียงใหม่ได้

“จากสถาณการณ์ที่เกิดขึ้น ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งจากการรายงานข้อมูลผู้ป่วย COPD (โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง) ของสาธารณะสุขจังหวัดเชียงใหม่นั้น ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากประชาชนมีการสวมหน้ากากอนามัย และพบว่ามีผู้ป่วยมาพบแพทย์ในระยะที่ห่างขึ้น” นายปิยะพงษ์ฯ แจง ผอ.ส่วนทรัพยากรธรรมชาติ กล่าวต่อว่า สำหรับสาเหตุหลักของปัญหาฝุ่นที่เกิดขึ้นในจังหวัดชียงใหม่ จากการวิเคราะห์ด้วยระบบพยากรณ์ ของ ผศ.ดร.ชาคริต โชตอมรศักดิ์ หัวหน้าคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า สาเหตุการเกิดฝุ่นสะสมขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ ชวงสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดจากหมอกควันข้ามแดนพื้นที่โดยรอบจังหวัดเชียงใหม่กว่าร้อยละ 50 และเกิดจากแหล่งกำเนิดที่เกิดขึ้นในแอ่งเชียงใหม่เองอีกราวร้อยละ 50 ประกอบกับจังหวัดเชียงใหม่มีสภาพอากาศปิด จึงไม่สามารถระบายอากาศออกไปได้

นายปิยะพงษ์ฯ กล่าวอีกว่า มาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาในช่วงสัปดาห์นี้ จังหวัดเชียงใหม่งดการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ทั้งหมด สั่งการให้ทุกพื้นที่เพิ่มจุดตรวจจุดสกัดโดยเน้นหนักในพื้นที่ที่ติดป่า เพื่อให้เฝ้าระวังและตรวจตราผู้ที่จะเข้าออกป่า รวมถึงสั่งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างความชุ่มชื้นโดยการฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อกำจัดฝุ่นระดับพื้นผิวโดยให้ดำเนินการใน 2 ช่วงเวลา คือ 10.00 น. และ 15.00 น. พร้อมกันนี้ได้ขอความร่วมมือให้ติดตั้งจุดพ่นละอองน้ำในพื้นที่ตึกสูงในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ด้วย นอกจากนี้ยังให้ทุก อปท. จัดให้มีเซฟตี้โซน ซึ่งขณะนี้ทั่วทั้งจังหวัดเชียงใหม่มีเซฟตี้โซนกว่า 1,629 จุด

“ประเมินว่าจังหวัดเชียงใหม่จะสามารถบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นได้ หากมีกระแสลมพัดแรงขึ้นในทิศตะวันตกเฉียงใต้ และจากสถาณการณ์จุด Hot Spot ที่ลดลงค่า คุณภาพอากาศจังหวัดเชียงใหม่จะดีขึ้นได้ โดยเฉพาะในวันที่ 14-15 มีนาคมที่จะถึงนี้ ทั้งนี้อยากฝากถึงประชาชนในช่วงนี้ ให้สวมหน้ากากชนิด N95 ก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง และงดออกกำลังกายกลางแจ้ง ในเวลากลางคืนให้ปิดประตูหน้าต่างให้สนิทและเปิดเครื่องกรองอากาศ พร้อมกันนี้ขอประชาชนร่วมมือช่วยกันโดยงดการเผาทุกชนิด ถ้าหากมีอาการไม่สบายให้รีบไปพบแพทย์ โดยทางสาธารณะสุขได้เปิกห้อง EOC (ห้องฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่น) ทุกโรงพยาบาลแล้ว” นายปิยะพงษ์ ประพันธ์วัฒนะ ผอ.ส่วนทรัพยากรธรรมชาติ แจง

ด้าน นายพงศ์บุณย์ ปานทอง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า แนวทางการการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งภายใต้การสนับสนุนของ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน(ส่วนหน้า) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) วางแนวทางการดำเนินการไว้ด้วยกัน 3 แนวทาง ได้แก่ 1. การเฝ้าระวังพื้นที่ที่ยังไม่เกิด HOTSPOT ให้มีการสนธิกาลังของ ทส. ภายในและระหว่างจังหวัดในการปฏิบัติ ปรับรูปแบบการทำงาน พร้อมกำหนดพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษของแต่ละจังหวัด เช่น ดอยสุเทพ ดอยอินทนนท์ และดอยหลวงเชียงดาว จ.เชียงใหม่ และดอยจระเข้ จ.เชียงราย เป็นต้น จัดให้มีลาดตระเวนร่วมกับทหาร ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชุมชน เฝ้าระวัง มิให้เกิด HOTSPOT ตลอด 24ชั่วโมง หากตรวจพบไฟ ให้ชุดดับไฟป่า เข้าดับไฟทันที ก่อนเป็น HOTSPOT พร้อมกันนี้ให้ทำการปิดทุกป่า และประกาศรางวัลนำจับเผาป่าหากพบมีผู้บุกรุก ให้จับกุมดำเนินคดีทันที โดยมิให้ละเว้น

“สำหรับแนวทางที่ 2 เป็นเรื่องการดับไฟป่า ให้มีการสนธิกาลังหน่วยงาน ทส. (กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) และหน่วยงานอื่น นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ที่สำคัญคือการปฏิบัติต้องดับไฟให้สนิท มิให้ลุกลามจนเกิด HOTSPOT ในพื้นที่ใกล้เคียง เป็นต้น ส่วนแนวทางที่ 3 เป็นการดาเนินการในพื้นที่ที่ไฟไหม้แล้ว ให้มีแจ้งความดำเนินคดีในทุกพื้นที่ที่มี HOTSPOT โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ติดต่อหรือใกล้เคียงกับแปลงที่ดินของราษฎร กรณีเกิดไฟไหม้บนแปลงที่ดิน ในเขตสำรวจการครอบครองที่ดินในป่าอนุรักษ์ และป่าสงวนสงวนแห่งชาติ จะพิจารณาทบทวนการอนุญาตให้อยู่อาศัยหรือทำกินในที่ดินแปลงนั้น” รองปลัดกระทรวง ทส. กล่าว

“ในส่วนศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน(ส่วนหน้า)ฯ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้สนับสนุนอากาศยาน คือ เฮลิคอปเตอร์มาประชุมการที่ศูนย์ฯ รวม 3 ลำ พร้อมน้ำมันเต็มที่ และกำลังเจ้าหน้าที่ประจำชุดบิน พร้อมที่จะออกปฏิบัติได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังได้สั่งการให้เพิ่มกำลังชุดดับไฟเข้ามาประจำในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสามารถส่งไปสนับสนุนยังจังหวัดเป้าหมาทั้ง 4 จังหวัดได้ตามที่มีการร้องขอเช่นกัน ในห้วงสัปดาห์หน้าเป็นต้นไปได้สั่งการให้ชุดอากาศยานจัดตารางการบินเพื่อบินลาดตระเวนในพื้นที่สำคัญและเสี่ยงที่จะเกิดไฟ โดยให้ประสานการติดต่อกับชุดภาพพื้นดินในทุกพื้นที่ที่มีการบินลาดตระเวน” นายพงศ์บุณย์ ปานทอง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าว

ร่วมแสดงความคิดเห็น