อึ้ง! คนเหนือดื่มหนัก ยอดขายเหล้าเบียร์ ย่านบันเทิงคึกคัก ไม่สนโควิด-19

เครือข่ายรณรงค์ลดการดื่มภาคเหนือตอนบน รายงานว่า จากข้อมูลสถิติที่มีการเปิดเผยผลวิจัยพฤติกรรมการดื่มของคนไทยล่าสุดว่า มีอัตราการดื่มเบียร์เฉลี่ย 142 ขวด/คน/ปี มูลค่าที่ใช้จ่ายไปกับการดื่ม เฉลี่ยปีละกว่า 21,093 บาท ต่อปี และที่น่าสนใจคือ จังหวัดที่มีการดื่มสุรา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สูงสุดใน 5 อันดับนั้น ภาคเหนือติดอันดับ 4 จังหวัดประกอบด้วย เชียงราย (45.3 % ) ลำพูน ( 44.1 % ) พะเยา ( 44 % ) และน่าน 42.4 % โดยมี สุรินทร์ เป็นอันดับ 5 เฉลี่ย 40.6 %

โดยข้อเท็จจริงแล้วสรรพสามิต ในพื้นที่ภาคเหนือ ระบุว่า คงจะนำข้อมูลมาอ้างอิง เทียบเคียงกับสถิติการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตไม่ได้ เพราะในรายงานประจำปีของสรรพสามิต เฉพาะลำพูนนั้น รายได้จากภาษีสุราและเบียร์น้อยมาก “ถ้าพิจารณารายละเอียด ผลการจัดเก็บรายได้สรรพสามิต (รายสินค้า) หมวดหลักๆ 17 รายการ ไม่ว่าจะเป็น สุรา, เบียร์ ,ยาสูบ,รถยนต์,เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งเสียภาษีสรรพสามิตนั้น ในเขตภาค 5 เฉลี่ยราวๆ 3 พันกว่าล้านบาทภาษีเบียร์จะน้อยกว่ากลุ่มสุราที่สูงถึง 2 พันกว่าล้านบาท หากเจาะลึกในรายจังหวัดแล้ว จะพบว่า ตัวเลขปี 62 นั้น เชียงใหม่ จัดเก็บภาษีสรรพสามิต ประมาณ 1,774 ล้านบาท เชียงรายราวๆ 81 ล้านบาท พะเยากว่า 22 ล้านบาท และลำพูนประมาณ 39 ล้านบาทเท่านั้น ”

ในรายงานการจดทะเบียนสรรพสามิตในประเทศ และนำเข้า ทั้งสุรา ,เครื่องดื่ม ตลอดจนรายการที่ ต้องเสียภาษีสรรพสามิตแล้ว เชียงใหม่ติดอันดับต้นๆของประเทศ อย่างไรก็ตาม รายงานผลการดำเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอ ฮอล์ ที่สำนักงานคณะกรรมการควบ คุมเครื่องดื่มแอลกฮอล์ เปิดเผยนั้น ระบุว่า ประเทศไทยมีเป้าหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ อย่างเข้มข้น โดยตั้งเป้าว่า ปี 2568 ต้องลดการดื่มของคนไทยลงให้ได้ ร้อยละ 10 สอดคล้องกับรายงานสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ระบุพฤติกรรมการดื่มของคนไทยช่วง ปี 2544-2560 นั้น ประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มการดื่มคงที่ และปัจจุบันการดื่มมีแนวโน้มลดลง

ทั้งจากผลการรณรงค์ของหน่วยงานรัฐ อย่างจริงจัง ที่ชี้ถึงภัยของการดื่มในด้านต่างๆ ทั้งสุขภาพ และผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจด้วย เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากร ระหว่างภูมิภาค พบว่า ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสัดส่วนนักดื่มปัจจุบันสูงสุดคือ ร้อยละ 35.4 และร้อยละ 32.8 ตามลำดับ ภาคเหนือมีนักดื่มประจำในสัดส่วนสูงที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 16 นอกจากนี้ พบว่าภาคกลางและภาคเหนือ มีสัดส่วนนักดื่มหนักประจำสูงสุด คือ ร้อยละ 3.8 และร้อยละ 3.7 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอในรอบปีที่แล้ว ในประชากรทั่วไป (15 ปีขึ้นไป) พบว่า จังหวัดที่มีอัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอมากกว่า ร้อยละ 40 มีจำนวนทั้งสิ้น 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย (ร้อยละ 45.3) ลำพูน (ร้อยละ 44.1) พะเยา (ร้อยละ 44.0) น่าน (ร้อยละ 42.4) และ สุรินทร์ ร้อยละ 40.6 สำหรับข้อมูลผลวิจัยพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ประจำปี 2021 พบว่าตำแหน่งขี้เมา ประจำเอเชียตกเป็นของประเทศไทย โดยผลวิจัยเผยว่า คนไทยดื่มเบียร์ คนละ 142 ขวด/คน/ปี ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 130 ขวด/คน/ปี และ จีน 127 ขวด/คน/ปี

ปัจจุบันการดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ภายใต้ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ และใช้ พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และพ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 เป็นเครื่องมือสามารถควบคุมปริมาณผู้ดื่มไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากมูลค่าการตลาดปีละ 6-7 แสนล้านได้ในระดับหนึ่ง ในปีที่ผ่านมาและปี 2564 นี้ มีปัจจัยภายนอกทั้งสภาพเศรษฐกิจ ปัญหาโรคระบาดโควิด – 19 มีการประกาศพระราชกำหนดฉุกเฉิน ห้ามการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใบางช่วงเวลา เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค จึงมีผลต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่จากสถานการณ์ในขณะนั้น พบว่าปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะกลับมาสูงอีกครั้ง จาก
ปัจจัยประกอบหลายด้านทั้งความเครียด ความกังวล หันไปดื่มเพราะมีทัศนคติว่า ไม่ต้องคิดอะไรมากทำให้มีความจำเป็นต้องดำเนินการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง จริงจัง เช่น การควบคุมการเข้าถึงด้วยการเพิ่มภาษีจนส่งผลกระทบกับราคาเครื่องสูงขึ้นมากพอต่อการลดกำลังซื้อ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดจริงจัง การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ปรับทัศนคติ ดึงภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะชุมชน เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหา รวมถึงการจัดบริการสุขภาพ

ทั้งนี้จากการสอบถามผู้ประกอบการสถานบันเทิง หลายแห่งใน จ.เชียงใหม่ ระบุว่า ยอดจำหน่ายเครื่องดื่ม ในช่วงนี้กระเตื้องขึ้น น่าจะเป็นผลพวงจากมาตรการผ่อนคลาย และพฤติกรรมกลุ่มลูกค้า ที่นิยม พบปะ สังสรรค์กันด้วย
รวมถึงกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น จากหลายช่องทางในขณะนี้”ปัจจุบันยอดการตลาดเครื่องดื่ม (เหล้า เบียร์ ) สูงกว่า 6-7 แสนล้านบาท เฉพาะยอดจัดเก็บภาษีในเขตภาคเหนือตอนบนนั้น เชียงใหม่ ติดอันดับสูงสุด ”

ร่วมแสดงความคิดเห็น