ลิ้นจี่-ลำไย ปีนี้ผลผลิตเพียบ ชาวสวนกังวลกลไกตลาดช่วงโควิด ทุบราคาร่วง

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานว่าภาคการผลิตลำไยปีที่ผ่านมา ผลผลิตภาพรวมทั้งประเทศ จากพื้นที่ปลูกกว่า 1.5 ล้านไร่ ปลูกลำไยเนื้อที่ยืนต้นกว่า 1.7 ล้านไร่ ผลผลิตร่วมๆ 1.1 ล้านตัน โดยภาคเหนือมีพื้นที่ปลูกสูงสุดราวๆ 1.1 ล้านไร่ ปลูกมากสุดในเชียงใหม่ 451,723 ไร่ ผลผลิต 342,543 ตัน ส่วนลำพูน ปลูกราวๆ 348,570 ไร่ให้ผลผลิตประมาณ 289,657 ตัน ซึ่งในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ทั้งเชียงราย, พะเยา, น่าน, ตาก จะเป็นพื้นที่ปลูกเป็นจำนวนมาก

ในขณะที่ข้อมูลจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการเกษตรล่าสุด แจ้งว่า ปี 2563 นั้นมีเนื้อที่ให้ผลผลิตกว่า 1.5 ล้านไร่ ผลผลิตกว่า 1.1 ล้านตัน ผลผลิตเฉลี่ย 747 กก.ต่อไร่ แต่ปีนี้ มีเนื้อที่ให้ผลสูงถึง 1.6 ล้าน ผลผลิตประมาณ 1.4
ล้านตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 859 กก. ซึ่งมีพื้นที่ปลูกลำไยเพิ่มถึง 68,954 ไร่ ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นกว่า 237,077 ตันหรือร้อยละ 20.05

เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย สภาพอากาศหนาวเย็นในช่วงปลายปี 2563 ต้นที่ไม่ได้บังคับราดสารก็ออกดอกเนื่องจากความหนาวเย็นเพียงพอ ส่งผลให้ลำไยออกดอกดี เกษตรกรมีการกักเก็บน้ำไว้ดูแลสวนมากขึ้น มีปริมาณน้ำ
เพียงพอ ในช่วงออกดอก และช่วงติดผลอ่อน สำหรับการทำลำไยนอกฤดูลดลง เนื่องจากความแห้งแล้งในช่วง
ต้นปีถึงกลางปี 2563 ทำให้ต้นลำไยไม่พร้อมสำหรับการราดสารบังคับให้ออกผลในช่วงต้นปี 2564 ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตนอกฤดูลดลง (ช่วงมกราคม ถึง พฤษภาคมนี้ เป็นชุดแรก และช่วงตุลาคม ถึงธันวาคม)

สำหรับราคาที่เกษตรกรขายได้ (เกรด เอ) สูงสุดช่วงปี 2559 ที่ราคา 33.24 กก. จากนั้น ลดลง และปีที่ผ่านมา ราคาอยู่ที่ 22.28 บาท เครือข่ายเกษตรกรชาวสวนลำไย ภาคเหนือตอนบน กล่าวว่า กังวลกับสถานการณ์ราคาเพราะต้นทุนผลิตลำไยเฉลี่ยที่ 18 บาท/กก. ปีที่ผ่านมา แม้จะขายได้ราวๆ 22.23 บาท/กก. แต่เกรด เอ เกรดจัมโบ้มีน้อยมาก และเป็นช่วงโรคโควิด-19 แพร่ระบาด เป็นอีกรอบปีที่เกษตรกรชาวสวนลำไยได้รับผลกระทบถ้วนหน้า
” สถานการณ์ที่เกิดขึ้นก็ยังถือว่าโชคดีที่ภาครัฐมีมาตรการเยียวยา ช่วยชาวสวนเข้ามา ไร่ละ 2 พันบาทไม่เกิน 25 ไร่ มีเกษตรกรชาวสวนลำไยที่เข้าข่ายได้รับการเยียวยา 202,013 ครัวเรือน พื้นที่รวม 1,429,013 ไร่ ” สถานการณ์ปีนี้ น่ากังวล กับผลผลิตที่จะล้นตลาดทั้งลิ้นจี่ ที่คาดว่าน่าจะมีกว่า 30,716 ตัน เพิ่มร้อยละ 4.3 และลำไยรวมๆ 692, 396 ตัน เพิ่มขึ้น 23.67 % เป็นรอบปีที่ได้ผลผลิตดี

อาจจะสืบเนื่องจากช่วงโควิด-19 เป็นปัจจัยทำให้ชาวสวน มีเวลาดูแลสวนใกล้ชิด และกลไกราคาช่วงสถานการณ์แบบนี้ อาจทำให้ราคาผลผลิตร่วงหนักอีกปี เพราะผลผลิตล้นตลาด เท่าที่ทราบทุเรียนปีนี้ ก็เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15 แต่เงาะลดไป 6.27 % มังคุดราวๆ 25 % และลองกองอีก 12.75 % ภาคส่วนที่ดูแลรับผิดชอบผลไม้ แจงแผน 16 มาตรการดูแลผลไม้ ปี 2564 ว่าจะเร่งรัดตรวจรับรอง จีเอพี คุณภาพ การผลิต, ให้ย้ายแรงงานข้ามจังหวัด , เปิดพื้นที่ขายโดยตรง,สนับสนุนรถเร่ขาย, ผลักดันการส่งออก, ไปรษณีย์ลดค่าส่ง กระทั่งชูอมก๋อยโมเดล ที่ มีภาคเอกชนเข้ามาร่วมวางแผนตลาด กระจายผลผลิต อย่างตรงเป้าหมาย เป็นต้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น