จังหวัดที่ให้มีการกักกันตัว ผู้ที่เดินทางมาจากนอกพื้นที่ (ภาคเหนือ) รวม 10 จังหวัด

สรุปจังหวัดที่ให้มีการกักกันตัว ผู้ที่เดินทางมาจากนอกพื้นที่ (ภาคเหนือ) รวม 10 จังหวัด

  1. กำแพงเพชร : ผู้เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือพื้นที่เสี่ยงตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชรประกาศเพิ่มเติม เมื่อเดินทางเข้ามาในพื้นที่ ให้รายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน ในเขตพื้นที่เพื่อปฏิบัติตามมาตรการควบคุมป้องกันโรคของจังหวัดกำแพงเพชร และขอให้กักกันตนเอง และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับบุคคลอื่น และเฝ้าระวังอาการตนเองเป็นระยะเวลา 14 วัน
  2. เชียงใหม่ : ผู้ที่เดินทางมาจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และนครปฐม กักกันตนเอง (Home Quarantine) เป็นระยะเวลา 14 วัน และ/หรือ ตรวจหาสารพันธุกรรม ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ เว้นแต่กรณีที่มีความจำเป็น ให้แสดงเหตุผลความจำเป็นพร้อมหลักฐานต่อเจ้าพนักงานฯ
  3. ตาก : บุคคลที่เดินทางมาจากจังหวัดกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และนครปฐม ต้องกักกันตนเอง (Home Quarantine) ตลอดเวลาที่อยู่ในจังหวัดตาก ไม่เกิน 14 วัน ณ เคหสถานหรือที่พำนักของบุคคลนั้น เว้นแต่มีความ จำเป็นให้แสดงเหตุผลพร้อมหลักฐานต่อสาธารณสุขอำเภอ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อกำหนดวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไป
  4. นครสวรรค์ : บุคคลที่เดินทางมาจากกรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรปราการ สมุทรสงคราม ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม ตาก และราชบุรี ให้ไปรายงานตัวต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธานชุมชน อสม. หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที และให้กักตัวเอง ที่เคหสถานหรือที่พำนักจนกว่าจะเดินทางออกจากจังหวัด หรือจนกว่าจะพ้น 14 วัน
  5. น่าน : บุคคลที่เดินทางมาจากจังหวัดกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม หรือตามประกาศพื้นที่จังหวัดเพิ่มเติมของจังหวัดน่าน จะต้องกักกันตนเองอยู่ภายในบ้านหรือที่พักตนเองหรือโรงแรม/ที่พักเอกชน และแยกจากผู้อื่น ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ และผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นระยะเวลา 14 วัน ยกเว้นผู้ได้รับวัคซีนฯ ครบ 2 เข็ม และแสดงเอกสารรับรอง หรือมีผลตรวจยืนยันว่าไม่ติดเชื้อฯ
  6. พะเยา : ผู้ที่เดินทางมาจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และนครปฐม ให้รายงานตัวต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ในพื้นที่ เพื่อสอบสวนโรคและประเมินความเสี่ยง หากพบว่ามีความเสี่ยงสูง ให้กักกันตัวที่บ้าน 14 วัน นับแต่วันที่เดินทางมาถึงอย่างเคร่งครัด หรือจนกว่าจะออกจากพื้นที่จังหวัดพะเยา ยกเว้น ผู้ที่มีผลการตรวจหาเชื้อ โดยวิธี RT – PCR หรือการตรวจตัวอย่างแบบรวมตัวอย่างน้ำลาย โดยให้แสดงใบรับรองแพทย์ที่มีอายุไม่เกิน 72 ชั่วโมง ก่อนการเดินทางเข้าจังหวัดพะเยา ที่มีข้อความระบุ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบการติดเชื้อ COVID – 19 และไม่ป่วยช่วง 14 วันก่อนเดินทาง หรือ ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ให้แสดงเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนซึ่งออกโดยหน่วยงานของรัฐ
  7. เพชรบูรณ์ : ผู้ที่เดินทางมาจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม และ สมุทรปราการ ให้แจ้งรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนในพื้นที่ทันที ที่เดินทางมาถึงภูมิลำเนาหรือที่พักอาศัย และให้กักตัวไว้สังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน นับแต่วันที่เข้ามาในจังหวัดเพชรบูรณ์ ณ เคหสถาน หรือที่พำนักของบุคคลนั้น กรณี ไม่มีเคหสถานหรือที่พำนัก หรือกรณีมีเคหสถานหรือที่พำนักมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ให้กักตัวในสถานที่ที่หน่วยงานรัฐกำหนดให้เป็น Alternative Local Quarantine ALQ โดยผู้เข้าพักต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเข้าพักเอง
  8. แพร่ : บุคคลที่เดินทางมาจากจังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้รายงานตัวต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน อสม. หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ พร้อมทั้งกักกันตนเองที่บ้านหรือที่พักอาศัย เป็นระยะเวลา 14 วัน และปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยเคร่งครัด พร้อมทั้งให้ลงทะเบียนผ่าน QR Code แพร่ชนะ และดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ด้วย
  9. ลำพูน : บุคคลที่เดินทางมาจากจังหวัดกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และสระแก้ว ให้แจ้งและลงทะเบียนข้อมูลการเดินทางในแพลตฟอร์ม Safe Lamphun และให้กักตัว (Home Quarantine) เป็นเวลา 14 วัน รวมถึงผู้ที่พำนักอยู่ในจังหวัดลำพูน และเดินทางไปพื้นที่จังหวัดข้างต้น และเข้าพำนักหรือพักค้างคืน แล้วเดินทางกลับเข้ามาจังหวัดลำพูน ให้ดำเนินการเช่นเดียวกัน
  10. ลำพูน : บุคคลที่เดินทางเข้าไปในพื้นที่ควบคุมขอให้กักกันตนเอง และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับบุคลอื่น เป็นระยะเวลา 14 วัน โดยให้แจ้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือ อสม. และหากพบว่ามีอาการผิดปกติขอให้แจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ โดยต้องแจ้งข้อมูลที่แท้จริง พร้อมประวัติการเดินทางกับบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล หรือผู้ที่ทำการสอบสวนโรค

ร่วมแสดงความคิดเห็น