ตายแล้ว ม.112 จำลองหุ่นตั้งหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ กลางเมืองเชียงใหม่ กิจกรรมยืนหยุดขัง ศาสตราจารย์ ดร. อรรถจักร์ เชื่อมีการเปลี่ยนแปลง

เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 20 เม.ย.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานที่ลายเอนกประสงค์อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ได้จัดกิจกรรมยืนหยุดขังต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 โดยกลุ่ม we the people กลุ่มพรรควิฬาร์ และกลุ่มฅนเมือง movement และนักวิชาการ นิสิต นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ รวมทั้งประชาชนชาวเชียงใหม่ ร่วมยืนหยุดขังวันนี้กว่า 40 คน เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นต่อผู้ถูกคุมขังที่เห็นต่างทางการเมือง แล้วถูกจับกุม ถูกคุมตัวฝากขังในเรือนจำต่างๆในตอนนี้ จึงทำให้กลุ่มดังกล่าวจัดกิจกรรมยืนหยุดขังดังกล่าว

กิจกรรม ยืนหยุดขัง มีการเว้นระยะห่าง สวมใส่ผ้าปิดจมูก ตามมาตราการสาธารณะสุขอย่างเคร่งครัด ได้เริ่มตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ซึ่งวันที่ 20 เม.ย. นี้จะยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที ซึ่งผู้มาร่วมกิจกรรมยังยืนยันให้รัฐบาลยกเลิก ม.112 นำข้อความเขียนติดกระดาษไม่เอา ม.112 เขียนข้อความหยุดขัง หยุดฆ่า และวันนี้มีการนำหุ่น ม.112 ที่ตายไปแล้ว นำมาตั้งหน้าลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ และทุกคนที่มายืนหยุดขัง ถือป้ายรูปภาพนักศึกษาและแกนนำทางการเมืองที่ถูกจับกุมมาถือไว้ และยึดหยุดนิ่ง ซึ่งจะจัดแบบนี้ทุกวัน จนกว่ารัฐบาลจะปล่อยผู้ถูกจับขังที่ถูกกล่าวผิดใน ม.112 และกรณีเห็นต่างทางการเมือง

วันนี้มี ศาสตราจารย์ ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมแสดงออกยืนหยุดขัง และเปิดเผยว่า การยืนหยุดขังที่เกิดขึ้นทั่วประเทศหวังว่า จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนได้เห็นว่าที่เราออกมาแสดงออกกันแล้ว ขอให้ออกมากันให้มากขึ้น นัดกันยืนในจุดต่างๆจุดละ 50 คน ให้กระจายกันตามจุดต่างๆ ภายใน 1 เดือนหวังให้มากถึงสามหมื่นหรือสี่หมื่นคนขึ้นไป


“อ.นิธิ ได้พูดถึงเรื่อง กบฏภายในระบบ ซึ่งผมคิดว่า ในระยะยาวต้องมีการการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น ก็ขอเตือนและขอบอกชนชั้นนำว่า คุณต้องคิดแล้ว คุณไม่ใช้ต่อสู้เพื่อยังอำนาจคุณวันนี้ เพราะมันเป็นไปไม่ได้ แต่การที่คุณทำแบบนี้ รวมทั้งไม่ให้ประกันตัวด้วย มันกำลังจะทำลายสังคมที่บรรพบุรุษเราร่วมสร้างกันมา อันนี้มันคือสิ่งที่น่าตกใจ แน่นอนว่า คุณอาจจะมีเงินมีทอง คุณอาจจะบินหนีไปอยู่เมืองนอกได้ แต่อย่าลืมนะครับว่า นี่คือแผ่นดินไทย คือสมบัติของบรรพบุรุษคุณ และบรรพบุรุษผม คุณจะทำลายไปในช่วงชีวิตของคุณหรือ” ศาสตราจารย์ ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าว

ร่วมแสดงความคิดเห็น