จ.แพร่ เร่งฉีดวัคซีน COVID-19 ชุดที่ 2 แก่บุคลากรทางการแพทย์ ที่มีความเสี่ยงสูงในการรับเชื้อ COVID-19 ส่วนชาวบ้านรอก่อน

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2564 ที่โรงพยาบาลแพร่ บุคลากรทางการแพทย์ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแพร่ 890 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดแพร่ 80 คน สำนักงานสาธารณสุขอำภอเมืองแพร่ 50 คน ที่มีความเสี่ยงต่อการรับได้เชื้อโควิด-19 เข้ารับการฉีดวัคซีน รอบแรก เวลา 09.45 น. และ รอบที่ 2 เวลา 10.45 น. ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 6 โรงพยาบาลแพร่ โดยมีผู้ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว รวม 1220 คน และในวันเสาร์ที่ 24 เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเอกชน 2 แห่ง โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน 80 คน โรงพยาบาลแพร่ราม 120 คน และวิทยาลัยพยาบาลแพร่ 200 คน จะทยอยเข้ารับการฉีดวัคซีน


ซึงจังหวัดแพร่ ได้เริ่มการฉีดวัคซีน ครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2564 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 900 คน และในวันพรุ่งนี้ (23 เม.ย. 64) จะเป็นการฉีดเข็มที่ 2


โดยในครั้งนี้ กรมควบคุมโรค ได้จัดส่งวัคซีนโควิด-19 Sinovac สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุระหว่าง 18 -59 ปี ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ตำรวจและทหารด่านหน้าที่มีโอกาสสัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19 และ กลุ่มประชาชนที่มีโรคประจำตัว ในครั้งนี้ได้รับการจัดสรรวัคซีน จำนวน 4,760 โด๊ส หรือ 2,380 คน แบ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์และผู้มีโอกาสสัมผัสโรค อำเภอเมืองแพร่ จำนวน 1,420 คน อำเภอสูงเม่น 110 คน อำเภอร้องกวาง 120 คน อำเภอลอง 170 คน อำเภอวังชิ้น 110 คน อำเภอหนองม่วงไข่ 120 คน อำเภอเด่นชัย 160 คน และอำเภอสอง 170 คน ซึ่งจะทยอยฉีด ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะครบ
อย่างไรก็ตามการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 รัฐบาลมีนโยบายให้ประชาชนชาวไทย ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 สมัครใจ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นเศรษฐกิจ นักลงทุน นักท่องเที่ยวเกิดความมั่นใจ โดยคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้กําหนดไว้ 3 ระยะ คือ


ระยะที่ 1 ช่วงที่วัคซีนมี ปริมาณจํากัด เพื่อลดการป่วยรุนแรง และเสียชีวิต รักษาระบบสาธารณสุขของประเทศ ฉีดให้บุคลากร ทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้มีโรคประจําตัว ได้แก่ โรคทางเดิน หายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด 19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย
ระยะที่ 2 ช่วงที่มีวัคซีนเพิ่มขึ้น เพื่อรักษาเศรษฐกิจ สังคม และความ มั่นคงของประเทศ ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่นอกเหนือจากด้านหน้า เจ้าหน้าที่ที่ มีโอกาสสัมผัสเชื้อโควิด 19 ผู้ประกอบอาชีพที่มีโอกาสสัมผัสกับคนจํานวนมาก และผู้ที่มีโอกาส สัมผัสผู้เดินทางระหว่างประเทศ
และระยะที่ 3 ช่วงที่วัคซีนมีปริมาณเพียงพอ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ในระดับประชากร และฟื้นฟูให้ประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ฉีดให้กับประชาชนทั่วไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น