นักเรียนโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ได้รับรางวัลการแข่งขันพัฒนา โปรแกรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 National Software Contest 2021 (NSC 2021)

ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนโปรแกรม Gifted Computer PLUS โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย สามารถคว้ารางวัล ในการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 National Software Contest 2021 (NSC 2021 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 ดังนี้ (การแข่งขันระดับนักเรียนมีทั้งหมด 3 ประเภท)
รางวัลที่ 1 ประเภทประยุกต์ใช้งาน ระดับนักเรียน ทีม Bi-Dex
รางวัลที่ 1 ประเภทส่งเสริมการเรียนรู้ ระดับนักเรียน ทีม จิ๋ว แจ๋ว เจาะไวรัส
รางวัลที่ 3 ประเภทประยุกต์ใช้งาน ระดับนักเรียน ทีม BackBox
รางวัลชมเชย ประเภทเพื่อความบันเทิง ระดับนักเรียน ทีม นกน้อยต้องรอด
ทีม Bi-Dex ได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทประยุกต์ใช้งาน
ได้รับเงินรางวัล 60,000 บาท โล่รางวัล เกียรติบัตร และถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากการสร้างเครื่องมือช่วยวินิจฉัยการเป็นมะเร็งท่อน้ำดี จากการหาไข่พยาธิใบไม้ในตับ เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการส่องหาไข่ผ่านกล้องจุลทรรศน์ ที่ต้องใช้เวลานาน และลดปัญหาความผิดผลาดจากการเมื่อยล้าสายตา หรือ Human error ได้ความถูกต้องถึง 89 % นับเป็นนวัตกรรมแรกที่นักเรียนได้นำ AI เข้ามาช่วยแก้ปัญหาด้านนี้ โดยได้รับการสนับสนุน ช่วยเหลือทั้งความรู้ ข้อมูล จากคณาจารย์ แพทย์ และผู้เชี่ยวชาญ จากสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงพยาบาลนครพิงค์

ผู้พัฒนาคือ
1. น.ส.นภัสสร หลิดชิววงศ์ GC PLUS Gen.10 ชั้น ม.4
2. นายกฤต ฐิติจำเริญพร GC PLUS Gen.10 ชั้น ม.4
3. นายวัฒนพงษ์ อุทธโยธา GC PLUS Gen.10 ชั้น ม.4
4. นายสิทธิพล คำดา GC PLUS Gen.9 ชั้น ม.5
5. นายฉัตรวัฒน์ ริยอง GC PLUS Gen.8 ชั้น ม.6
อาจารย์ที่ปรึกษา อ.รุ่งกานต์ วังบุญ

ทีม จิ๋ว แจ๋ว เจาะไวรัส ได้รับรางวัลที่ 1
ประเภทส่งเสริมการเรียนรู้ ได้รับเงินรางวัล 60,000 บาท โล่รางวัล เกียรติบัตร และถ้วยพระราชาทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากการสร้างสื่อการเรียนรู้เรื่องไวรัส ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในโลกเสมือนจริง (Virtual Reality) ในรูปแบบ GAME 3D Animation มีคลังความรู้ไวรัสที่จำเป็น (Virus Wiki) มี Shrink Trip ให้ผู้เรียนได้เสมือนอยู่ในระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ และมีการทดสอบที่มี interactive ได้ทุกข้อคำถาม

ผู้พัฒนาคือ
1. นายรวิภาส ทิพย์รัตน์ GC PLUS Gen.9 ชั้น ม.5
2. นายชาญธิษณ์ พัวศิริ GC PLUS Gen.9 ชั้น ม.5
3. นายบัญญาพนต์ ไชยองค์การ GC PLUS Gen.10 ชั้น ม.4
อาจารย์ที่ปรึกษา อ.รุ่งกานต์ วังบุญ

ทีม BackBox ได้รับรางวัลที่ 3 ประเภทประยุกต์ใช้งาน (ไม่มีรางวัลที่ 2)
ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร

จากการสร้างเครื่องพยุงหลังเพื่อช่วยแก้ปัญหาการปวดหลังที่สาเหตุ ด้วยการสร้างเครื่อง BackBox ที่มีต้นทุนต่ำ และสามารถปรับใช้ได้กับเสื้อผ้าหลากหลาย ช่วยให้มีสุขภาพหลังที่ดีในการทำงาน และชีวิตประจำวัน ด้วยการคำนวณจาก AI
ผู้พัฒนาคือ
1. นายอัมรินทร์ น้อยเผ่า GC PLUS Gen.10 ชั้น ม.4
2. นายธันวาพล ผู้อยู่สุข GC PLUS Gen.10 ชั้น ม.4
3. น.ส.ชวัลนุช อนุกูล GC PLUS Gen.10 ชั้น ม.4
อาจารย์ที่ปรึกษา อ.กัมพล กันทะแก้ว

ทีม นกน้อยต้องรอด ได้รับรางวัลชมเชยประเภทเพื่อความบันเทิง ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร โดยการพัฒนาเกมใน Battle โดยดึงความน่ารักของสัตว์ปีกให้เป็นตัวละคร ผ่านการควบคุมออนไลน์ ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา เพียงมีอินเตอร์เน็ต ก็สามารถเข้ามาเล่นร่วมกัน อย่างสนุกสนาน ในรูปแบบ 3D Animation ที่สวยงามมาก
ผู้พัฒนาคือ
1. นายสิรภพ รินชมภู GC PLUS Gen.9 ชั้น ม.5
2. น.ส.อมลลดา หมื่นรังษี GC PLUS Gen.9 ชั้น ม.5
3. นายณัฏฐภัทร แสงด้วง GC PLUS Gen.10 ชั้น ม.4
อาจารย์ที่ปรึกษา อ.พุฒิพงศ์ ตันทะรัตน์

ร่วมแสดงความคิดเห็น