ชาวสวนลิ้นจี่เหนือ ดิ้นรนหนีพิษโควิด เปิดขายออนไลน์คึกคัก

ผู้สื่อข่าว ได้รับการเปิดเผยจากกลุ่มเกษตรกร ชาวสวนลิ้นจี่ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ว่าช่วงนี้ลิ้นจี่ทยอยออกมาตามฤดูกาล ซึ่งเป็นช่วงที่มีสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ชาวสวนต้องดิ้นรนหนีผลกระทบจากสถานการณ์นี้ เพราะไม่สามารถนำผลผลิต ไปเปิดท้ายขายตามรายทาง ตามแผงค้าต่างๆ ในแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม หรือแม้แต่การขนส่งไปยังผู้ค้าต่างจังหวัดที่ค่อนข้างยุ่งยาก บางพื้นที่ มีมาตรการควบคุม-ป้องกันโรคนี้เข้มงวด ดังนั้นชาวสวนจึงหันมาค้าขายผลผลิตผ่านสื่อสังคม ผ่านช่องทางกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดี โดย ลิ้นจี่พันธ์ุฮงฮวย

เก็บส่งวันต่อวันราคาส่ง 30 บาท/ กก. ขั้นต่ำ 60 โล เฉพาะเชียงใหม่ ลำพูน ส่งฟรี หากส่งปลีก 45 บาท/กก.ทั่วประเทศ (ไม่รวมค่าส่ง ) บางราย ก็กำหนดส่ง 3 กก. 200 บาท หรือ 5 กก. 300. บาท (รวมค่าส่ง) นอกจากผลผลิต ลิ้นจี่แล้ว ยังมีการเสนอขายพืชผลต่างๆมากมาย เช่น ส้มเขียวหวาน (ขนาด 7-8 ลูก/1 กก. คละเบอร์ 5,6 ถ้าสั่งซื้อ 5 กก. รวมส่ง 255 บาท 10 กก. รวมส่ง 450 บาท ผลไม้เน่าเสียจากการขนส่งรับประกันชดใช้ เป็นต้น กระทั่ง ผลอะโวคาโด้พื้นเมือง ซึ่งราคา 90 บาท/กก. 3 กก.รวมส่ง 320 บาท ,10 กก.900 บาท เป็นต้น
จากการสอบถามกลุ่มพ่อค้าคนกลาง ผลไม้ ย่านกาดเมืองใหม่ กล่าวว่า ผลผลิตตามฤดูกาลในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นลิ้นจี่,ทุเรียน, ส้มเขียวหวาน,มะม่วง

ทั้งนี้ในส่วนของผลผลิตตามฤดูกาลในพื้นที่ลำพูน อาทิ มะม่วงนั้นพบว่า สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำพูน โดยกลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า ,และกลุ่มส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้าและการตลาด ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์การผลิต และการตลาด มะม่วง ปีการผลิต 2563/64 กลุ่มมะม่วงแปลงใหญ่ อ.ลี้ และอ.บ้านโฮ่ง ซึ่งผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาด ช่วงกลางเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม นี้ มีทั้งมะม่วงแฟนซี ประกอบด้วยพันธุ์ อาร์ทูอีทู แดงจักรพรรดิ์ งาช้างแดง มหาชนก

สำหรับมาตรการแก้ไขปัญหาผลผลิตตามฤดูกาลนั้น ที่ผ่านๆมา กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เซลล์แมน จังหวัดโกอินเตอร์ สัมมนารูปแบบออนไลน์ มอบนโยบายให้ทีมเซลส์แมนจังหวัด ส่งเสริมเจรจาจับคู่ซื้อขายระหว่างผู้ส่งออกไทย กับผู้นำเข้าจากต่างประเทศ ขับเคลื่อนโครงการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรหลักที่สำคัญของแต่ละพื้นที่ แต่ละจังหวัด ไม่ว่าจะเป็น ลิ้นจี่,ลำไย,มะม่วง,พืช,ผัก,ผลผลิตอื่นๆ มากกว่าการเข้าไปเยียวยา ประกันราคาหรือแทรกแซงกลไกการตลาดที่ไม่มีความยั่งยืน ” ต้องส่งเสริม การเกษตรแบบใหม่ ให้เกษตรกร สามารถเปิดตลาดอย่างเป็นธรรม แทนที่จะเผชิญกับปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ รอรับความช่วยเหลือ จากภาครัฐฯ ต้องให้มีช่องทางสร้างรายได้ ผ่านกลไกตลาดตามยุคสมัย โดยเฉพาะช่องทางการค้าออนไลน์ การผลิตที่มี ตลาดรองรับ ได้ราคาที่คุ้มทุน ไม่ติดกับดัก วงจรเกษตรแบบเก่าๆที่ทำสวน ทำไร่ยิ่งแบกหนี้ ยากจน ถูกเอารัดเอาเปรียบจากล้ง”

ร่วมแสดงความคิดเห็น