ราชทัณฑ์ ยันผู้ต้องขัง เรือนจำพิเศษกรุงเทพ-ทัณฑสถานหญิงกลาง ติดโควิด เกือบ 3 พันราย

เหตุจากนักโทษเข้าใหม่ ยันรับมือไหวยกตัวอย่างกรณีเรือนจนราธิวาส วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2554 เวลา 15.00 นาฬิกา กรมราชทัณฑ์ ขอชี้แจง กรณีมีสื่อตั้งข้อ สงสัยว่ามีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเรือนจําได้อย่างไร และมีการปกปิดข้อมูลไทม์ไลน์การรักษาผู้ติดเชื้อ หรือไม่

กรมราชทัณฑ์ ขอเรียนว่า ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 มีการกระจายเป็น วงกว้างในทุกจังหวัดทั่วประเทศรวมถึงเรือนจํา และทัณฑสถานที่ต้องรับตัวผู้ต้องขังเข้าใหม่ และนําผู้ต้องขังออก ศาลอยู่เสมอ จึงอาจมีการหลุดรอดของเชื้อเข้าสู่เรือนจําได้ อย่างไรก็ดี กรมราชทัณฑ์ได้ป้องกันอย่างเต็มที่ด้วย มาตรการเชิงรุก คือ แยกกักตัวผู้ต้องขังเข้าใหม่อย่างน้อย 23 วัน พร้อมตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-259 จํานวน 2 ครั้ง ก่อนผู้ต้องขังพ้นระยะแยกกักโรค ซึ่งการตรวจพบการติดเชื้อของผู้ต้องขังที่ผ่านมา ถือว่าเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับ ผู้ติดเชื้อทั่วประเทศ สําหรับผู้ต้องขังที่ตรวจพบเชื้อจะได้รับการรักษาโดยการให้ยา Favitpiravia ทั้งในโรงพยาบาล สนามเรือนจํา และโรงพยาบาลแม่ข่ายตามลักษณะอาการป่วยของแต่ละราย โดยกรมราชทัณฑ์ ขอยืนยันว่า สามารถ ควบคุมสถานการณ์ได้ เรือนจําทัณฑสถานทุกแห่งมีมาตรการอย่างเคร่งครัดเพราะมีการควบคุม บับเบิ้ล แอนด์ซีล เช่น กรณีเรือนจําจังหวัดนราธิวาส ที่มีผู้ต้องขังติดเชื้อก็สามารถดูแลรักษาจนหาย และไม่มียอดผู้ติดเชื้ออยู่ใน เรือนจําอีก

กรมราชทัณฑ์ได้ตรวจเชิงรุก เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขัง 100% ซึ่งได้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของเรือนจํา/ทัณฑสถาน ที่พบการติดเชื้อ ได้แก่ ทัณฑสถานหญิงกลาง มียอดผู้ติดเชื้อรวม 1,040 ราย และเรือนจําพิเศษกรุงเทพมหานคร มียอดผู้ติดเชื้อรวม 1,795 ราย ซึ่งทุกรายอยู่ระหว่างการรักษาตัวที่ โรงพยาบาลสนาม ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ หากในบางรายมีอาการหนักจะได้มีการย้ายออก เพื่อรับ การรักษายังโรงพยาบาลภายนอก เชื่อว่ามาตรฐานการดําเนินการของกรมราชทัณฑ์กับกระทรวงสาธารณสุข จะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้ ไม่ขยายตัวไปสู่วงกว้างได้ เวลานี้ได้มีแดนกักโรค และโรงพยาบาลสนาม โดยมีแพทย์และพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด และการให้ยารักษา และการดูแลทุกอย่างเป็นไปตาม มาตรฐานของสาธารณสุข รวมทั้งมีการวางแผนเพื่อฉีดวัคซีนให้ผู้ต้องขังด้วย อยู่ระหว่างรอการจัดสรรจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง

ทั้งนี้ที่ผ่านมา กรมราชทัณฑ์ได้ดําเนินการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ เชิงรุกในเจ้าหน้าที่และ ผู้ต้องขัง ซึ่งในส่วนของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ได้ตรวจคัดกรองเชื้อไวรัส โควิต-๑๔ ด้วยวิธี RT-PCR ไป แล้วกว่า ๑๗,๐๐๐ ครั้ง ทําให้คัดแยกผู้ติดเชื้อไปรักษาได้รวดเร็ว สามารถแยกผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยงออกมากักตัว เพื่อสังเกตอาการได้เป็นอย่างดี ซึ่งต้องขอขอบคุณกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ที่เข้ามาช่วยดูแล และทํางานร่วมกันเป็นอย่างดี

ร่วมแสดงความคิดเห็น