จังหวัดเชียงราย รับ -มอบ เครื่องกระตุกไฟฟ้าอัตโนมัติ( AED) จากสภากาชาดไทยเพื่อช่วยผู้ป่วยโรคหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในภาวะฉุกเฉิน จำนวน 25 เครื่อง

เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 64 นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผวจ.เชียงราย มอบหมายให้ นายวุฒิชัย เสาวโกมุท รองผวจ.เชียงราย เป็นประธาน รับ-มอบ เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติหรือเครื่อง AED จากสภากาชาดไทย ณ ห้องธรรมลังกา ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ถนนแม่ฟ้าหลวง ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย โดยมีนางดวงจิตต์ ปรัชญ์สกุล นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงราย พร้อมกับนายแพทย์วัชรพงษ์ คำหล้า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ร่วมส่งมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติให้กับตัวแทนในพื้นที่อำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงราย

 

ในการนี้ มีแผนปฏิบัติการ โดยจะนำไปติดตั้งไว้ยังจุดที่กำหนดไว้ ได้แก่ อำเภอเมือง จำนวน 6 เครื่อง อำเภอเชียงของ จำนวน 2 เครื่อง อำเภอแม่ลาว จำนวน 2 เครื่อง อำเภอเวียงชัย จำนวน 1 เครื่อง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จำนวน 1 เครื่อง อำเภอเวียงแก่น จำนวน 1 เครื่อง อำเภอขุนตาล จำนวน 1 เครื่อง อำเภอพญาเม็งราย จำนวน 1 เครื่อง อำเภอเทิง จำนวน 1 เครื่อง อำเภอพาน จำนวน 1 เครื่อง อำเภอป่าแดด จำนวน 1 เครื่อง อำเภอแม่สรวย จำนวน 1 เครื่อง อำเภอเวียงป่าเป้า จำนวน 1 เครื่อง อำเภอแม่จัน จำนวน 1 เครื่อง อำเภอเแม่ฟ้าหลวง จำนวน 1 เครื่อง อำเภอแม่สาย จำนวน 1 เครื่อง อำเภอเชียงแสน จำนวน 1 เครื่อง และอำเภอดอยหลวง จำนวน 1 เครื่อง โดยมีผู้แทนกระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการและสมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงรายรวมทั้ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในพิธีรับมอบเครื่องกระตุกไฟฟ้าอัตโนมัติ( เครื่อง AED) ก่อนนำไปติดตั้งให้บริการในจุดบริการของอำเภอต่าง ๆ ในครั้งนี้ตามลำดับ

 

 

ปัจจุบันโรคหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ถือเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งอัตราการเสียชีวิตของประชาชนด้วยโรคหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมีจำนวนมากพอพอกับผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ซึ่งจากข้อมูลในแต่ละปี ประเทศไทยมีประชาชนเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันกว่า 54,000 คน หรือทุกทุก 1 ชั่วโมง จะมีคนเสียชีวิตจากโรคหัวใจมากถึง 6 คน และหากผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและทันท่วงที ถูกวิธีตามหลักการโดยการฟื้นคืนชีพเบื้องต้น ประกอบกับการใช้เครื่อง AED ภายในระยะเวลา 4 นาที หลังจากหัวใจหยุดเต้น ก็จะเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของประชาชนที่หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกสถานพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ซึ่งจากสถิติพบว่า อัตราการรอดชีวิตของประชาชนเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 45 เมื่อได้ใช้เครื่องดังกล่าว และปัจจุบันมีการติดตั้งเครื่อง AED ในที่สาธารณะ ที่มีความเสี่ยง เช่น สถานีรถโดยสาร สนามบิน บนเครื่องบิน บนรถไฟ สนามกีฬาที่มีคนจำนวนมาก สนามกอล์ฟ ห้างสรรพสินค้า สถานที่สำคัญสถานที่ท่องเที่ยว หน่วยบริการของราชการ ในสถานที่เหล่านี้ จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรที่สามารถใช้เครื่อง AED ได้ และต้องมีความพร้อมใช้งาน ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ ดังนั้น สภากาชาดไทยได้จัดทำโครงการบริจาคเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ จำนวน 1,100 เครื่อง ซึ่งได้รับบริจาคจากการจัดกิจกรรมวิ่งกระตุกหัวใจ 125 ปี ของสภากาชาดไทย

สภากาชาดไทย จึงส่งต่อให้ทุกจังหวัดติดตั้ง ดูแลบำรุงรักษา ในส่วนภูมิภาคทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศได้ใช้ในยามฉุกเฉิน และได้ส่งมอบไปแล้ว 11 จังหวัด จำนวน 236 เครื่อง โดยจังหวัดเชียงรายอยู่ระหว่างดำเนินการรับส่งมอบในวันนี้ ซึ่งการดำเนินงานจะมีการลงนามในบันทึกความร่วมมือ MOU ระหว่าง 3 หน่วยงาน คือ เหล่ากาชาดจังหวัดเชียงราย ปลัดจังหวัดเชียงราย และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ไปพร้อมกันด้วย

ในลำดับต่อไป จะมีแผนการดำเนินงานร่วมกัน คือติดตั้งกล่องสำหรับแขวนพร้อมบรรจุเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติตามสถานที่กำหนด การบันทึกข้อมูล และร่วมบริหารจัดการใช้เครื่อง Application บนโทรศัพท์มือถือกับสภากาชาดไทย ที่ได้จัดทำขึ้น การดูแลบำรุงรักษา และประสานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า อัตโนมัติมีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ พร้อมจัดหาบุคลากรที่เหมาะสมเป็นครูผู้สอนในเรื่องการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและใช้เครื่อง AED สำหรับประชาชนทั่วไป พร้อมกับอบรมครูผู้สอนเรื่องการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและใช้เครื่อง AED สำหรับประชาชนทั่วไปด้วย พร้อมกันนี้ได้เผยแพร่องค์ความรู้ในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ ซึ่งในวันนี้ทางสภากาชาดไทยจะได้ส่งมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติให้กัยจังหวัดเชียงรายจำนวน 25 เครื่อง และผู้แทนแต่ละอำเภอรับมอบไปดำเนินการติดตั้งในพื้นที่ สถานที่ที่ได้กำหนดไว้ตามแผนปฏิบัติงานต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น