กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยสายพันธุ์ที่ระบาดรุนแรงในไทย ช่วงเดือน เม.ย. – มิ.ย. 64 พบกว่า 4 พันราย!!

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และเครือข่ายเสริมความแข็งแกร่ง เฝ้าระวังการกลายพันธุ์โควิด-19 เผยสายพันธุ์ที่ระบาดรุนแรงในประเทศไทย ในช่วงเดือน เม.ย. – มิ.ย. 2564 พบกว่า 4 พันราย
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยว่า กรมฯ และเครือข่ายห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยต่างๆ เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์เชื้อโควิดในประเทศ จากการสุ่มตรวจเฝ้าระวังสายพันธุ์เชื้อไวรัสซาร์-โค-วี-2 (SARS-CoV-2) ตั้งแต่เดือน เม.ย. – มิ.ย. 2564 รวมจำนวน 4,185 ราย พบว่า
  •  สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) มากที่สุดในประเทศไทย จำนวน 3,703 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.48
  •  รองลงมาคือ สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) จำนวน 348 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.32
  • สายพันธุ์ดั้งเดิม (B.1 (dade G) B.1 (dade GH) B.1.1.1 (dade GR) จำนวน 98 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.34
  • สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.62
  • สายพันธุ์ B.1.524 จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.24 ใช้เพื่อควบคุมเฝ้าระวังในพื้นที่ต่อไป

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ข้อมูลว่า จากข้อมูลรายงานขององค์กรสาธารณสุขประเทศอังกฤษ (Public Health England) และ WHO พบว่า
  •  สายพันธุ์อัลฟา เป็นสายพันธุ์ที่มีการแพร่กระจายง่าย ป่วยและเสียชีวิตได้มากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม วัคซีนที่ใช้ในประเทศยังสามารถใช้ได้กับสายพันธุ์นี้
  •  สายพันธุ์เดลตา แพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟา (วัคซีนที่มีคุ้มอยู่)
  •  สายพันธุ์เบตา แพร่กระจายได้ช้ากว่าสายพันธุ์อื่น แต่ทำให้เกิดการป่วยและเสียชีวิตได้มากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม
 ข้อมูลล่าสุด (วันที่ 9 มิ.ย. 2564) มีการรายงาน พบสายพันธุ์เดลตา ในจังหวัดต่าง ๆ จำนวน 348 ราย อาทิ กทม. 318 ราย อุดรธานี สระบุรี และนนทบุรี

ร่วมแสดงความคิดเห็น