ตัวแทนชาวบ้านผาบ่อง หมู่ที่ 1 ยื่นหนังสือต่อศูนย์ดำรงธรรม อ.เมืองแม่ฮ่องสอน ขอความเป็นธรรมและความกระจ่าง ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2564 นายกระแส นิยมรัตน์ เป็นตัวแทนชาวบ้าน บ้านผาบ่อง หมู่ที่ 1 ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรม และความกระจ่างในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ณ ศูนย์ดำรงธรรม อ.เมืองแม่ฮ่องสอน โดยมี นายบดินทร์ วิริยภาพบวร ปลัดอำเภอ เป็นผู้รับมอบหนังสือดังกล่าว

นายกระแส นิยมรัตน์ ตัวแทนชาวบ้านผาบ่อง กล่าวว่า การมายื่นหนังสือต่อศูนย์ดำรงธรรมในครั้งนี้ เป็นการประชาคมเมื่อเดือนธันวาคม 2563 ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่บ้านผาบ่อง ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน นั้น การประชาคมดังกล่าว ประชุมประชาคมแค่คนในชุมชนผาบ่องเหนือ ทั้งคนไทยและคนต่างไม่มีสัญชาติ ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบรอบบริเวณการก่อสร้างโรงไฟฟ้านั้น เป็นพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านผาบ่อง หมู่ที่ 1 ซึ่งไม่ได้เข้าร่วมรับการประชุมชี้แจง และประชาคม ตามที่กล่าวอ้างว่าเป็นการประชาคมที่ถูกต้อง ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์

ทางชุมชนบ้านผาบ่อง หมู่ที่ 1 ได้ร้องเรียนกำนันให้สอบถามข้อเท็จจริงจาก นอภ.เมืองแม่ฮ่องสอน นายพงษ์พีระ ชูชื่น เพื่อความกระจ่างและเข้าใจในการประชาคม ทางอำเภอได้ตอบหนังสือไม่ตรงประเด็นกับที่ชาวบ้านสอบถาม และชาวบ้านขอเอกสารการประชาคม ที่ว่าผ่านกระบวนการทุกขั้นตอน ให้ชาวบ้านได้รับทราบข้อเท็จจริง และเดิมการประชาคมจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ตามที่ กฟผ.และชุมชนได้ตกลงในครั้งแรกนั้น ต้องประชาคมทั้ง 2 หมู่บ้าน ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ แต่การประชาคมครั้งนี้ มีแค่หมู่บ้านเดียว โดยครั้งก่อน ๆ นอภ.ได้เข้าร่วมประชุมกับชาวบ้าน ที่วัดผาบ่องเหนือ และที่ทำการกำนัน นอภ.รับรู้ว่าชาวบ้านไม่ผ่านประชาคมให้ โดยชาวบ้านให้คณะทำงานของ กฟผ.ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจให้กับชาวบ้านเกี่ยวกับผลกระทบและแนวทางการแก้ไข แต่ทาง กฟผ.ไม่ได้ลงพื้นที่หมู่ 1 แต่ไปลงพื้นที่อื่น โดยมีการสร้างความแตกแยกของชาวบ้านใน ต.ผาบ่อง

ชาวบ้านผาบ่อง หมู่ที่ 1 จึงของร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรมแม่ฮ่องสอน เพื่อขอให้ชะลอในการดำเนินงานก่อสร้าง และมาลงพื้นที่สร้างความเข้าใจให้กับชาวบ้าน แล้วประชาคมทั้งสองหมู่ และขอร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรม อ.เมืองแม่ฮ่องสอน เป็นตัวกลางในการสอบถามข้อเท็จจริง จาก นอภ.เมืองแม่ฮ่องสอน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นข้อ ๆ ดังนี้

1.การประชาคมเมื่อเดือนธันวาคมถูกต้องหรือไม่
2.จากเดิมการประชาคม 2 หมู่บ้านมาโดยตลอด แล้วทำไมครั้งนี้ ประชาคมหมู่บ้านเดียว กฟผ.ทำถูกต้องหรือไม่
3.คณะทำงานขับเคลื่อนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เคยลงพื้นที่สอบถามความคิดเห็นชุมชนหรือไม่
4.ชาวบ้านของให้ชะลอในการก่อสร้าง และให้ กฟผ.ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับการก่อสร้างว่ามีผลดีอย่างไร และถ้าเกิดผลเสียมีวิธีการแก้ไขอย่างไร เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและไม่เกิดความขัดแย้งภายหลัง
5.ให้เจ้าหน้าที่ กฟผ.ในพื้นที่ ( สมาร์ทริด ) หยุดสร้างความแตกแยกใน ต.ผาบ่อง และห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองท้องถิ่น
6.ให้ศูนย์ดำรงธรรม อ.เมืองแม่ฮ่องสอน สรุปข้อสอบถามของชาวบ้านในสิ้นเดือนนี้
ทั้งนี้ ท้ายหนังสือ ได้มีการชี้แจงถึงสาเหตุที่ชาวบ้านผาบ่องทำหนังสือถึงศูนย์ดำรงธรรม อ.เมืองล่าช้า เพราะว่าชาวบ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านผาบ่อง รอคำตอบจากคุณปรีชา เครื่องเนียม ที่ทางส่วนกลางของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ส่งลงมาในพื้นที่ เพื่อรับทราบปัญหาและข้อเท็จจริง และนำปัญหาของชาวบ้านไปให้ส่วนกลางของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยทราบ และดำเนินการตามชาวบ้านร้องขอ โดยชาวบ้านไม่ได้รับคำตอบจากส่วนกลาง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และคุณปรีชา เครื่องเนียม เลยทำให้ล่าช้าโดยชุมชนบ้านผาบ่อง หมู่ที่หวังว่า จะได้รับความเป็นธรรมจากศูนย์ดำรงธรรม อ.เมืองแม่ฮ่องสอน หากไม่ได้รับคำตอบ ทางชุมชนจะได้ร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ฯ ต่อไป

โรงไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ จ.แม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดเดียวของประเทศไทย ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยังไม่สามารถสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูงขนาด 115 kV. ผ่านเข้าไปได้ด้วยเหตุผลทางด้านการอนุรักษ์ป่าไม้ กฟผ. จึงต้องจ่ายไฟฟ้าผ่านสายส่งไฟฟ้าขนาด 22 kV. ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร ประกอบกับ โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 4.7 MW และโรงไฟฟ้าดีเซลแม่ฮ่องสอน ขนาด 5.4 MW ที่มีอยู่นั้น เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กไม่อาจขยายกำลังผลิตเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนซึ่งเพิ่มขึ้นทุกปี กฟผ. ได้พิจารณาทางเลือกการผลิตไฟฟ้าในอนาคตแล้ว พบว่า การก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้ าขนาด 115 kV. ผ่านเขต จ.แม่ฮ่องสอน เป็นระยะทางกว่า 200 กิโลเมตรนั้น ยังไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากมติ ครม. เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ไม่อนุมัติให้หน่วยงานใดใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 A ใน จ.แม่ฮ่องสอน จึงเหลือทางเลือกเพื่อเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าที่สามารถดำเนินการได้รวดเร็ว และมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยพลังงานไฟฟ้าใกล้เคียงกัน คือ โดยใช้เครื่องยนต์ดีเซล หรือโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์

ด้วยเหตุนี้ กฟผ. จึงได้จัดทำโครงการโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ขึ้น เพื่อผลิตไฟฟ้าเสริมเข้าระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมให้กับ จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งทางเลือกนี้ได้ให้ผลดีมากกว่าในด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่น้อยลง ด้านความปลอดภัยในการขนส่งเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น และเพิ่มโอกาสการศึกษาวิจัย เพื่อขยายผลในอนาคตขึ้นอีกด้วย

โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์บ้านผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ได้เริ่มก่อสร้าง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 แล้วเสร็จ 9 เมษายน พ.ศ. 2547 ทั้งนี้ได้เริ่มทดลองจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบส่ง 22 kV. ของ กฟภ. ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2547 และได้นำโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เข้าใช้งานโดยสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2547 ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ประกอบด้วย แผงเซลล์แสงอาทิตย์ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า ระบบควบคุมและเก็บข้อมูล แบตเตอรี่ และระบบจำหน่ายไฟฟ้า

ร่วมแสดงความคิดเห็น