(มีคลิป) กรมศิลปากรติดตามความคืบหน้าบูรณะจิตกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ คาดปี 65 ปิดการเข้าชมบูรณะครั้งใหญ่

ที่อุโบสถทรงจัตุรมุขวัดภูมินทร์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นายสถาพร เที่ยงธรรม ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ประธานคณะกรรมการ โครงการบูรณะซ่อมแซมจิตกรรมฝาผนัง วัดภูมินทร์ เดินทางมาติดตามความคืบหน้าการบูรณะซ่อมแซมจิตกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ ที่ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมและทำความสะอาดจนเกือบจะแล้วเสร็จ โดยพระอุโบสถวัดภูมินทร์ ถือว่าเป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาติไทย ที่กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้แล้ว ทางกรมศิลปากรได้ให้ความสำคัญในการที่จะเข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์ให้มีความมั่นคงแข็งแรง ในแผนงานของกรมศิลปากรได้มีการขออนุมัติงบประมาณในปีงบประมาณ 2565 ประมาณ 16 ล้านเศษ แต่คาดการณ์ว่าจะได้รับอนุมัติงบประมาณประมาณ 12 ล้าน โดยจะดำเนินการในส่วนที่สำคัญก่อน เช่นหลังคา และโครงสร้าง ประกอบกับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ จากการสำรวจพบมีการเสื่อมโทรมตามอายุ ประกอบกับหลังคามีรอยรั่ว เพื่อป้องกันปัญหาของน้ำฝน ซึ่งมีผลเสียต่อโบราณสถาน โดยการซ่อมแซมบูรณะเครื่องบนของพระอุโบสถเพื่อป้องกันปัญหาความชื้นและน้ำฝนที่ทำลายภาพจิตกรรมฝาผนังที่อยู่ภายใน รวมทั้งองค์พระประธาน
โดยพระประธานปัจจุบันสามารถสังเกตเห็นได้โดยตาเปล่าว่ามีลักษณะโป่งพองเนื่องจากมีความชื้น ทางกรมศิลปากรจะได้ดำเนินการบูรณะตัดความชื้นที่ฐานชุกชีและปิดทององค์พระประธานใหม่ ที่เป็นโครงการหลักในการปิดบูรณะในปี 2565 ที่จะถึงนี้

 

นอกจากนี้ยังจะได้ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ภายในวัด และบริเวณโดยรอบโบราณสถาน โดยจะได้ขอความอนุเคราะห์จากภูมิสถาปนิก ของกรมศิลปากรส่วนกลาง มาให้คำแนะนำในการออกแบบปรับปรุงอีกครั้งหนึ่งว่ามีส่วนไหนจะดำเนินการปรับปรุงเพิ่มเติมจอะไรบ้าง ทั้งนี้จะได้ปรับปรุงโครงสร้างหลังคาอาคารภายในบริเวณวัดเพื่อให้กลมกลืนกับตัวโบราณสถานมากขึ้น ทางสำนักศิลปากรที่ 7 จะรับไปปรับปรุงออกแบบให้กับทางวัดต่อไป
ด้าน นายสถาพร เที่ยงธรรม ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ กล่าวว่า ในการเข้ามาชมโบราณสถาน และภาพจิตกรรมฝาผนัง โดยภาพจิตกรรมฝาผนังเป็นสิ่งที่ทางกรมศิลปากรได้บูรณะซ่อมแซมโดยรักษาสภาพความดั่งเดิมเอาไว้ ถึงแม้ว่าได้ทำการบูรณะซ่อมแซ่มก็ไม่สามารถทำให้มั่นคงแข็งแรงมากกว่านี้  ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติที่จิตกรรมฝาผนังที่จะต้องเสื่อมสภาพลงไปตามอายุ เพราะฉะนั้นในการเข้าชม สิ่งที่สำคัญอย่างมากคือห้ามสัมผัสกับภาพจิตกรรมเหล่านั้น เพราะการสัมผัสจะทำให้สีนั้นลบเลือนไป เพราะสี่ที่ใช้จะเป็นสีโบราณ สำหรับสีที่นำมาบูรณะจะเป็นสีฝุ่นจึงไม่คงทนถาวร นอกจากนั้นการถ่ายภาพไม่ควรจะใช้แสงแฟลช ด้วยแสงจากแฟลชจะมีผลอย่างมากในการเสื่อมสภาพของสี ภาพจิตกรรมฝาผนังถือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจังหวัดน่านก็ต้องการมาเข้าชมจิตกรรมฝาผนัง จึงขอความร่วมมือในการดูแลรักษาให้คงสภาพต่อไป
ด้าน นางสาวกรอุมา นุตสรินทร์ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มอนุรักษ์จิตกรรมและปฏิมากรรม กองโบราณคดี กรรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการสำรวจเพื่อวางแผนการบูรณะภาพจิตกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์นั้นส่วนมากภาพจะได้รับความเสียหายเป็นกลุ่มภาพที่มีความสูงจากพื้นอุโบสถ 0-3 เมตร มีทั้งชั้นปูนฉาบที่เกิดการเสื่อมสภาพ และชั้นสีชำรุด สาเหตุเกิดจากการเสื่อมสภาพของวัสดุตามการเวลา และความรู้เท่าไม่ถึงการที่ไปจับสัมผัสจนส่งผลเสียหายต่อภาพจิตกรรมโดยตรง โดยขั้นตอนการบูรณะเริ่มต้นจากการทำความสะอาดตามกรรมวิธีและองค์ความรู้ของกรมศิลปากร

 

ในส่วนของภาพจิตกรรมปู่ม่าน-ย่าม่าน หรือภาพจิตกรรมกระซิบรักบรรลือโลกที่เป็นภาพที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวนั้น ทางกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะและอนุรักษ์ในส่วนของใบหน้าทั้งของปู่ม่านและย่าม่าน และช่วงลำตัว และในส่วนของชั้นปูนที่เสื่อมสภาพโดยการเสริมความแข็งแรง ในส่วนของใบหน้าทำการบูรณะในชั้นดินสอพอง และซ่อมสี ให้กลับคืนดังเดิม หลังจากทำการบูรณะภาพจิตกรรมทำให้ภาพดูสวยสดและคมชัดยิ่งกว่าเดิม ปัจจุบันวัดภูมินทร์ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวหรือบุคคลทั่วไปเข้าชมตามมาตรการควบคุมโรคของทางสาธารณสุขจังหวัดน่านอย่างเคร่งครัดก่อนจะปิดทำการบูรณะครั้งใหญ่อีกครั้งในปีงบประมาณ 2565 คาดใช้เวลาในการบูรณะ

ร่วมแสดงความคิดเห็น