ครอบครัวเครียด ลูกหลานเรียนออนไลน์ลำบาก

กลุ่มผู้ปกครองย่านบ้านท่าเกวียน ,บ้านแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในเดือน ก.ค.นี้ อีกระลอกและมีแนวโน้มผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อเพิ่ม จนส่งผลให้ทางคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.เชียง ใหม่ ออกคำสั่งเรื่อง มาตรการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ช่วง 6-31 ก.ค. 2564

” โดยแต่ละโรงเรียนเลือกที่จะให้เด็กๆเรียนออนไลน์ เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อนั้น เป็นเรื่องที่ดี ผู้ปกครองส่วนใหญ่ขานรับแต่ปัญหาที่ตามมาคือ ผู้ปกครองส่วนหนึ่ง ที่มีอาชีพค้าขาย อยู่ในพื้นที่ควบคุม บางส่วน กาดนัดถูกขอความร่วมมือปิดชั่วคราว ร้านค้า กิจการค้าขายไม่ดี ไม่มีลูกค้า ขาดกำลังซื้อ มิหนำซ้ำมาตรการแนวทางช่วยเหลือ ด้านการเรียน ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าเทอม การช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกิดขึ้น จากการเรียนออนไลน์ ต้องเติมค่าเน็ตให้ลูก จัดหาคอมพิวเตอร์ ,แทปเลต, อุปกรณ์การเรียนออนไลน์ บางช่วงครูผู้สอน อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ต้องกักตัว

เด็กๆก็ปรับเปลี่ยน รูปแบบการเรียนไปตามที่สถานศึกษาบริหารจัดการ ครอบครัวเครียด กังวลกับภาระค่าครองชีพ ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถและค่าใช้จ่ายอื่นๆ และช่วงนี้ยังต้องมาเผชิญปัญหาลูกๆหลานๆ เรียนออนไลน์ยากลำบากอีก”

ทั้งนี้เครือข่ายนักวิชาการศึกษา สำนักการศึกษาขั้นพื้นฐาน จ.เชียงใหม่ ระบุว่า มีคณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครองจำนวนหนึ่ง เสนอแนะว่า การสนับสนุนค่าอินเตอร์เน็ต สัญญาณไวไฟฟรี เพื่อการศึกษา ในท้องถิ่นในชุมชน เป็นสิ่งจำเป็นกับรูปแบบการเรียนออนไลน์ ไม่ใช่การผลักภาระให้ผู้ปกครอง” ต้องมีแพลตฟอร์มการศึกษา การสื่อสารออนไลน์สำหรับเรียนที่บ้าน หลักสูตรการศึกษาให้เด็กเรียนตามความถนัด ส่งเสริมการมีงานทำ ยึดหยุ่นตามบริบทของโรงเรียนและท้องถิ่น นวัตกรรมสารสนเทศ เทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องเข้าถึงได้สะดวก เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา จริงๆแล้ว ทางกระทรวงศึกษา( ศธ.) ในยุคที่มีคุณตรีนุช ตรีทอง ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ศธ.นั้น แนวนโยบาย ลดเวลาเรียนทุกรูปแบบ – ให้เรียนเรื่องที่ต้องรู้ – หั่นการบ้าน – งดกิจกรรมรวมกลุ่ม – ลดการทดสอบทั้งระดับโรงเรียนและระดับชาติ เป็นแนวทางที่ชัดเจน

ถูกต้องกับสถานการณ์ แต่ทว่า สถานศึกษา มีชุดความคิด เรื่อง ระดับคะแนน เป็นตัวชี้วัดคุณภาพ การเรียน การสอน ถ้าเด็กมีผลคะแนนไม่สวย ก็อาจจะส่งผลต่อการประเมิน มาตรฐานครูบุคลากรทางการศึกษษ ในโรงเรียนนั้น ซึ่งผลลัพท์ที่จะตามมาตามระบบ สายงานบ้านเรา ทุกหน่วยงานก็รับรู้กันอยู่ “ผู้ปกครอง ในพื้นที่เมืองแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ หลายราย เสนอว่า การที่เชียงใหม่ ออกคำสั่งด่วนให้ 7 อำเภอ ซึ่งสันทรายก็เป็นหนึ่งในนั้น งดเรียนแบบ ออนไซด์ ในระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษาการจัดการศึกษาในระดับที่สูงกว่า ให้อยู่ในดุลยพินิจผู็บริหารสถานศึกษาจนถึงสิ้นเดือนก.ค.นี้

” การปิดโรงเรียนไปเรื่อยๆหนีโควิด ไม่ใช่การแก้ปัญหา เป็นแค่การหลบเลี่ยงหนีปัญหา ยกตัวอย่าง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯอยู่ในกลุ่มเสี่ยง มีคนติด ก็ปิด จัดการตามขั้นตอนไป ที่ไหนควบคุม แก้ไขแล้วก็เปิด ที่มีคนติดก็ปิดไป อย่าปิดแบบเหมารวม ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับโควิด และที่สำคัญการฉีดวัคซีน การสร้างภูมิต้านทานหมู่ต้องเร่งมือ ให้ทันสถานการณ์กว่านี้ หากจะยึดโยงมาตรการ ควบคุม ป้องกัน ด้วยการบังคับใช้กฏหมาย พุ่งเป้า ผลลัพท์คือ ป้องกัน ควบคุม โดยไม่มีแผนอื่นคู่ขนาน การจัดการเรียนการสอนปีนี้ แย่ยิ่งกว่าปีที่แล้ว เพราะช่วง ก.ค.2563 ยังเปิดเรียนแบบสลับวันเรียน แต่ปีนี้ต้องหันมาเรียนออนไลน์ตลอด เด็กๆ ก็เครียด ครูผู้สอนก็กังวล สารพัดคำสั่งรายวัน ในขณะที่ผู้ปกครองก็ง่วนกับการจัดการชี้วิตครอบครัว จะหารายได้ จะมีช่องทางอื่นมาเติมช่วงที่ตกงาน ขาดรายได้ ค้าขายไม่ดี ในช่วงนี้อย่างไรผ่าน ก.ค.นี้ไป

ก็ยังไม่อาจคาดหวังได้ว่า หากจะต้องล๊อกดาวน์แบบ อู่ฮั่นจะถูกนำมาใช้ เพื่อสกัดกั้น ควบคุมโรคนี้ ที่ พุ่งทยาน ป่วยวันละหมื่นกว่า เพิ่มสูงต่อเนื่องหรือไม่ บ้านเมืองมาถึงจุดที่ไม่มีความชัดเจนอะไร ไล่ตามปัญหาแบบนี้ ชาวบ้านเดือดร้อน ทุกข์ระทมกันถ้วนหน้า “

ร่วมแสดงความคิดเห็น